TNN online ESA เผยภาพบรรยากาศพื้นผิวของดวงอาทิตย์ถ่ายโดยดาวเทียม Solar Orbiter

TNN ONLINE

Tech

ESA เผยภาพบรรยากาศพื้นผิวของดวงอาทิตย์ถ่ายโดยดาวเทียม Solar Orbiter

ESA เผยภาพบรรยากาศพื้นผิวของดวงอาทิตย์ถ่ายโดยดาวเทียม Solar Orbiter

การถ่ายภาพใช้การนำภาพ 25 ภาพมาเรียงต่อกัน ใช้เวลาถ่ายภาพประมาณ 4 ชั่วโมง เมื่อประมวลผลรวมทุกภาพมีความละเอียด 83 ล้านพิกเซล

องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA เผยภาพบรรยากาศพื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่มีความละเอียดมากที่สุดภาพหนึ่งเท่าที่เคยมีการบันทึกได้ ถ่ายโดยดาวเทียม Solar Orbiter เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2022 โดยใช้กล้องความละเอียดสูง The Extreme Ultraviolet Imager (EUI) 


การถ่ายภาพใช้การนำภาพ 25 ภาพมาเรียงต่อกัน ใช้เวลาถ่ายภาพประมาณ 4 ชั่วโมง เมื่อประมวลผลรวมทุกภาพมีความละเอียด 83 ล้านพิกเซล หรือ 9,148 x 9,112 พิกเซล รองรับการแสดงผลแบบ 4K ความคมชัดสูง 


ภาพทั้งหมดถูกถ่ายขณะดาวเทียม Solar Orbiter อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 75 ล้านกิโลเมตร ประมาณครึ่งทางของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์  ภาพดวงอาทิตย์มีความยาวคลื่น 17 นาโนเมตร แสดงให้เห็นความสุดขั้วของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับอุณหภูมิบริเวณชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า โคโรนา นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าจะมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 1 ล้านองศาเซลเซียส


นอกจากนี้องค์การอวกาศยุโรปยังใช้เครื่องมือ SPICE ในการบันทึกข้อมูลชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ตั้งแต่ชั้นที่เรียกว่าโคโรนาไปจนถึงชั้นโครโมสเฟียร์ซึ่งเป็นบริเวณที่ใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์ โดยเก็บข้อมูลรังสีอันตราไวโอเลตจากอะตอมที่ตรวจพบ


ภาพจากเครื่องมือ SPICE แบ่งแยกออกเป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีม่วงแสดงถึงไฮโดรเจนที่อุณหภูมิ 10,000 องศาเซลเซียส สีน้ำเงินแสดงถึงคาร์บอนที่อุณหภูมิ 32,000 องศาเซลเซียส สีเขียวแสดงถึงออกซิเจนที่อุณหภูมิ 320,000 องศาเซลเซียส และสีเหลืองแสดงถึงนีออนที่อุณหภูมิ 630,000 องศาเซลเซียส


ดวงอาทิตย์นอกจากมีความสำคัญกับโลกยังเต็มไปด้วยปริศนาท้าทายนักวิทยาศาสตร์ เช่น โดยปกติอุณหภูมิจะลดลงเมื่อมีระยะห่างออกไปมากขึ้นแต่สำหรับโคโรนาบนชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิมากกว่า 1 ล้านองศาเซลเซียส กลับมีอุณหภูมิใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์เพียง 5,000 องศาเซลเซียสเท่านั้น


ESA เผยภาพบรรยากาศพื้นผิวของดวงอาทิตย์ถ่ายโดยดาวเทียม Solar Orbiter


ESA เผยภาพบรรยากาศพื้นผิวของดวงอาทิตย์ถ่ายโดยดาวเทียม Solar Orbiter



ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ esa.int

 

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง