TNN online นักวิทย์ไทยค้นพบ สัตว์ 4 ชนิดใหม่ของโลกที่โคราช

TNN ONLINE

สังคม

นักวิทย์ไทยค้นพบ สัตว์ 4 ชนิดใหม่ของโลกที่โคราช

นักวิทย์ไทยค้นพบ สัตว์ 4 ชนิดใหม่ของโลกที่โคราช

นักวิทยาศาตร์ไทยค้นพบ 4 สัตว์ชนิดใหม่ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา

วันนี้ ( 29 พ.ย. 65 )สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมแถลงข่าวการค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา 4 ชนิด ได้แก่ มดชุติมา แตนเบียนวียะวัฒนะ แตนเบียนสะแกราช และโคพีพอด 

โดย มดชุติมา ลักษณะเด่น มีสีเหลืองทองตลอดทั้งตัว ถูกค้นพบบริเวณยอดไม้สูงประมาณ 25-30 เมตร ในป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการค้นพบมดชนิดใหม่ของโลก เป็นดัชนีบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าดิบแล้งสะแกราชได้อีกทางหนึ่ง 

นักวิทย์ไทยค้นพบ สัตว์ 4 ชนิดใหม่ของโลกที่โคราช

ส่วนการค้นพบแตนเบียน 2 ชนิดใหม่ของโลก ถูกพบบริเวณป่าดิบแล้ง ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากแตนเบียนชนิดอื่น คือ หนามคู่ที่ส่วนท้องของลำตัวมีสีดำ โดยแตนเบียนเป็นแมลงในอันดับไฮมีนอพเทรา เช่นเดียวกับ ผึ้ง ต่อ และแตนชนิดอื่นๆ ในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ธรรมชาติ แตนเบียนนับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อสมดุลของประชากรแมลงในระบบนิเวศ

นักวิทย์ไทยค้นพบ สัตว์ 4 ชนิดใหม่ของโลกที่โคราช

การค้นพบโคพีพอดชนิดใหม่ของโลก ถูกพบบริเวณถ้ำงูจงอาง เป็นพื้นลำธารที่เป็นลานหิน มีแอ่งน้ำนิ่งสลับกับน้ำไหล มีลักษณะเด่น ปลายของขาว่ายน้ำคู่ที่ 4 มีกระดูสันหลัง 1 อัน ด้านข้างของคอร์ดัลรามัส (caudal ramus) มีหนาม และปล้องสืบพันธุ์มีร่องตามขวางทางด้านหลัง โดยโคพีพอด เป็นหนึ่งในแพลงก์ตอนสัตว์ ที่มีความสำคัญในระบบนิเวศแหล่งน้ำ มีความหลากหลายของสายพันธุ์สูง คล้ายคลึงและอยู่ในตระกูลเดียวกับ กุ้ง ไรน้ำ สามารถพบโคพีพอดในแหล่งน้ำทั่วไปของประเทศไทย ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม พบได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โคพีพอดถูกนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปลาทะเล กุ้งสวยงาม นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร โดยเป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน ทั้งลูกกุ้ง ลูกปลา

ทั้งนี้ การค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลกจำนวน 3 ชนิด คือ มด แตนเบียนและโคพีพอด ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช เป็นข้อบ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีนักวิจัย และอาสาสมัครวิจัยจากภายในประเทศและต่างประเทศเข้ามาวิจัยในพื้นที่ฯ ไม่น้อยกว่า 980 ราย จาก 37 ประเทศ ก่อให้เกิดผลงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมทุกๆ ด้าน มีผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 832 เรื่อง 

ข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ภาพจาก  :  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง