TNN ชาวบางบาลทิ้งบ้านไปสร้างบ้านใหม่ หนีน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี

TNN

ภูมิภาค

ชาวบางบาลทิ้งบ้านไปสร้างบ้านใหม่ หนีน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี

ชาวบางบาลทิ้งบ้านไปสร้างบ้านใหม่ หนีน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี

ชาวบ้านใน อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ปล่อยทิ้งบ้านร้าง บ้างรื้อบ้าน ไปหาที่อยู่ใหม่หนี้น้ำท่วมซ้ำซาก บางคนต้องทนชินก้มหน้ายาเรือใช้ชีวิตช่วงน้ำท่วม

สถานการณ์น้ำท่วม ใน จ.พระนครศรีอยุธยาวันนี้ (6 กันยายน 2567) พบว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำน้อย ซึ่งรับน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเพิ่มสูงขึ้น เริ่มส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้านหลายครอบครัวถูกน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น และท่วมในชุมชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำต้องใช้เรือสัญจรในการเดินทางเข้าออกภายในชุมชน ต้องเตรียมยาเรือไว้ใช้น้ำท่วมที่สูงขึ้นทุกวัน


ชาวบางบาลทิ้งบ้านไปสร้างบ้านใหม่ หนีน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี


นายสนธยา ไม้อบเชย ชาวบ้าน หมู่ที่ 1 ต.วัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา มีบ้านพักและชุมชนอยู่ติดกับแม่น้ำน้อย ที่ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมใต้ถุนบ้านยกพื้นสูง ต้องเร่งยาเรือไม้ และ เรือขุดโบราณอายุกว่า 80 ปี ที่ใช้สืบทอดติดกันมาชั่วอายุคน เพื่อเตรียมไว้ใช้สัญจรเข้าออกจากบ้านเมื่อมาถึงหน้าน้ำท่วมสูง



นายสนธยา บอกว่า จะถูกน้ำท่วมมากน้อยทุกปีต่างกันไป สาหัสมากเป็นปี 2554 ท่วมจนไม่สามารถอยู่ภายในบ้านได้ เวลาน้ำท่วมการใช้ชีวิตจะลำบาก ต้องขนของเก็บของขึ้นบ้านหนีน้ำ พายเรือเข้าออกจากบ้านฝ่ากระแสน้ำที่ไหลแรงเพื่อไปทำงาน ถ้าท่วมหนักมากๆ ต้องเช่าหอพักอยู่เพราะกว่าจะพายเรือกว่าจะเดินทางไปถึงมันลำบาก บ้านได้รับความเสียหาย ทุกปีต้องมาซ่อมแซมกัน มีเรือเก่าก็ต้องมายาเตรียมไว้ใช้เมื่อน้ำสูงขึ้น ถนนก็จะถูกน้ำท่วมไม่สามารถใช้ได้ ต้องใช้เรือพายออกจากบ้าน


ชาวบางบาลทิ้งบ้านไปสร้างบ้านใหม่ หนีน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี




ชาวบางบาลทิ้งบ้านไปสร้างบ้านใหม่ หนีน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี




นายสนธยา เล่าให้ฟังอีกว่า ในหมู่บ้านมีอยู่ 4 หลังคาเรือน ที่พอมีเงิน ยอมทิ้งบ้าน รื้อบ้านไปหาซื้อที่ดินปลูกบ้านที่ใหม่ ที่ไม่ถูกน้ำท่วม เพราะรับสภาพกันไม่ไหว บางบ้านก็มีผู้สูงอายุ    ส่วนครอบครัวของตนเองอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่ ไม่มีเงิน ไม่ที่ดิน ไม่ย้ายไปไหน น้ำท่วมรอบหนึ่ง เอาเรืออกมาใช้ออกมายาเรือ ซ่อมแซมเรือ ใช้แทนรถในช่วงนี้


ขณะเดียวกัน สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะชุมชนริมคลอง ริมแม่น้ำ สายต่างๆ ถนนในชุมชนริมแม่น้ำเริ่มถูกตัดขาด ได้รับผลกระทบน้ำล้นตลิ่ง จำนวน 7 อำเภอ 71 ตำบล 339 หมู่บ้าน 10,028 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอผักไห่ อำเภอบางไทร อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน และ อำเภอบางปะหัน สถานที่ราชการ 3 แห่ง วัด 6 แห่ง มัสยิด 1 แห่ง โรงเรียน 5 แห่ง 



ภาพข่าว ผู้สื่อข่าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง