TNN online ไขข้อสงสัย สภาพอากาศไทย มีโอกาสเจอ ‘คลื่นความร้อน’ เหมือนยุโรปหรือไม่?

TNN ONLINE

Earth

ไขข้อสงสัย สภาพอากาศไทย มีโอกาสเจอ ‘คลื่นความร้อน’ เหมือนยุโรปหรือไม่?

ไขข้อสงสัย สภาพอากาศไทย มีโอกาสเจอ ‘คลื่นความร้อน’ เหมือนยุโรปหรือไม่?

นักวิชาการธรณีวิทยาไขข้อสงสัย สภาพอากาศประเทศไทย มีโอกาสเจอ ‘คลื่นความร้อน’ ที่เกิดขึ้นในยุโรปจนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,700 คน หรือไม่?

วันนี้ ( 21 ก.ค. 65 ) ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญสมาคมธรณีวิทยา อธิบายถึงการเกิดขึ้นของคลื่นความร้อนที่เกิดในยุโรปในขณะนี้ ว่ากรณี สภาพอากาศ ดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการเกิด คลื่นความร้อน หรือ heat wave ซึ่งเป็นเพียงสภาพอากาศที่ความร้อนสูงผิดปกติ จนทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายขึ้นที่สูงได้ โดยในกรณีคลื่นความร้อน จะกินเวลาช่วงสั้นๆ ซึ่งถือว่าสามารถอันตรายถึงชีวิตได้ แต่การเกิดภัยพิบัติ สภาพอากาศ ดังกล่าว จะเกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่เหนือเส้นศูนย์สูตร หรือเส้นลมกรด  จึงทำให้ประเทศไทย มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวได้น้อย

นอกจากนี้ ศ. ดร. สันติ ยังเปิดเผยอีกว่า กรณีของประเทศไทย ก็เคยเกิดสภาพอากาศที่ความร้อนสูงถึง 41 องศาเซลเซียสเช่นกัน แต่เนื่องจากสภาพอากาศของประเทศไทยในช่วงปกติอยู่ที่ราว 37 - 38 องศาเซลเซียสอยู่แล้ว จึงถือว่าอุณหภูมิที่ขึ้นสูงไปที่ 41 องศาเซลเซียส จึงเป็นอุณหภูมิที่สูงไม่มากเท่าไรนัก ซึ่งก็ถือเป็นฮีตเวฟเช่นกัน แต่ไม่ได้กินพื้นที่กว้างอย่างเช่นในทวีปอเมริกา หรือเหตุการณ์ที่เกิดในยุโรปในปัจจุบัน

ส่วนกรณีฝนที่ตกในประเทศไทยในช่วงสัปดาห์นี้ ถือว่าอยู่ในช่วงของลานิญญ่าเช่นกัน แต่ก็ยังเป็นเพียงแค่ร่องมรสุม ที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนเพียงเท่านั้น ยังไม่ใช่ลักษณะของพายุแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ที่จะเกิดฝนตกหนักหรือตกนานในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้

ข้อมูลจาก  : ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาพจาก  :  AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง