TNN online เปิดผลทดสอบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ก่อโรครุนแรงขึ้นหรือไม่?

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

เปิดผลทดสอบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ก่อโรครุนแรงขึ้นหรือไม่?

เปิดผลทดสอบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ก่อโรครุนแรงขึ้นหรือไม่?

ทีมวิจัยเบลเยี่ยม เร่งไขคำตอบ ไวรัส SARS-CoV-2 ชนิดกลายพันธุ์ ทั้งแบบสายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์ UK หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ จะสามารถก่อโรครุนแรงได้หรือไม่ เบื้องต้นผลทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่า การติดเชื้อในปอดไม่ต่างกัน ทำให้คลายความกังวลในด้านการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19

ไวรัส SARS-CoV-2 ที่พบในประเทศต่างๆทั่วโลกตอนนี้ แตกต่างจากสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น โดยได้กลายพันธุ์เพื่อทำให้ไวรัสปรับตัวอยู่ในโฮสต์ได้ดีขึ้น หนีการจับกับแอนติบอดีในร่างกายได้ ทำให้โอกาสเข้าสู่เซลล์ได้ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันที่พบหลักๆคือ สายพันธุ์ดั้งเดิมที่ระบาดในช่วงปีที่แล้ว (B.1) , สายพันธุ์อังกฤษที่ระบาดหนักในยุโรปตอนนี้ (B.1.1.7) และ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่หลายๆคนกังวล (B.1.351) ซึ่งไวรัสกลายพันธุ์ล้วนแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าเดิม แต่ยังไม่ชัดถึงการก่อโรคที่รุนแรงหรือไม่

เปิดผลทดสอบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ก่อโรครุนแรงขึ้นหรือไม่?

ทีมวิจัยที่เบลเยี่ยมได้พยายามหาคำตอบนี้โดยการนำไวรัสสายพันธุ์ต่างๆเหล่านี้ที่แยกได้จากผู้ป่วย   นำมากเลี้ยงในห้องแล็ปเพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงในคนจริงๆใน3สายพันธุ์หลักๆ

การทดลองที่ทีมวิจัยศึกษาคือ นำไวรัสเหล่านี้หยดใส่จมูกหนูแฮมสเตอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ทดลองที่ติดไวรัส SARS-CoV-2 และ มีการติดเชื้อที่ปอดได้ หลังจากให้ไวรัสแต่ละชนิดเป็นเวลา 4 วัน

เปิดผลทดสอบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ก่อโรครุนแรงขึ้นหรือไม่?

ผลการทดลองแสดงออกมาค่อนข้างชัด ไม่ว่าไวรัส SARS-CoV-2 จะเป็นสายพันธุ์ไหน ความสามารถในการติดเชื้อในแฮมสเตอร์ไม่มีความแตกต่างกัน ปริมาณไวรัสที่ตรวจวัดได้ในปอดใกล้เคียงกันมาก รวมถึงรอยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในปอดก็ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลที่ดูเหมือนจะแตกต่างคือ การเปลี่ยนแปลงของไซโตไคน์ เช่น IL-6 (ไอแอล6)และ IL-10 (ไอแอล10)ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิด Cytokine storm (ไซโตไคน์สตรอม) ดูเหมือนจะถูกกระตุ้นด้วยสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) ได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

เปิดผลทดสอบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ก่อโรครุนแรงขึ้นหรือไม่?

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ดูความแตกต่างของไวรัสแต่ละสายพันธุ์เกี่ยวกับความรุนแรงของโรคด้วยวิธีมาตรฐาน เช่น น้ำหนักตัวที่ลดลง การดูปริมาณไวรัสในปอด รอยโรคในปอด ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของไซโตไคน์ที่เชื่อว่าเกี่ยวกับการเกิดโรคโควิด-19 รุนแรง ซึ่งพบว่าหนูทุกตัวมีอาการเหมือนกัน เว้นแต่หนู ป่วยสายพันธุ์อังกฤษ มีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่า

ข้อมูลจากรายงาน ทำให้ทีมวิจัยเชื่อว่า การเปลียนแปลงของไวรัสตอนนี้ไม่น่าจะมีผลโดยตรงต่อความรุนแรงของเชื้อ และในอนาคตเชื่อว่างานวิจัยลักษณะนี้จะมีอีก และคงมีสัตว์ทดลองชนิดอื่น เช่น Ferret หรือ ลิง มาพิสูจน์ด้วย ว่า หลักการที่ว่าไวรัสไม่กลายพันธุ์จนดุขึ้น เป็นแบบนั้นจริงๆ

เปิดผลทดสอบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ก่อโรครุนแรงขึ้นหรือไม่?

ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยโควิด19 จากการติดเชื้อกลายพันธุ์ ยังคงไม่น่ากังวล เพราะความรุนแรงของการก่อโรคโควิด19 ไม่ได้รุนแรงขึ้น ซึ่งล่าสุดมีข่าวดี ของประเทศไทย หลังทีมนักวิจัยจากไบโอเทค สวทช.สามารถสังเคราะห์สารตั้งต้นยา “Favipiravir” (ฟาวิพิราเวียร์) ทดแทนวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ใช้เป็นยาต้านโรค COVID-19 ซึ่งยาฟาวิพิราเวียร์ต้านไวรัสโควิด19 เป็นหนึ่งในยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด19 ทำให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) สามารถผลิต“ยาฟาวิพิราเวียร์” รักษาโควิดได้เอง มีเพียงพอไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ คาดผลิตวัตถุดิบเองได้ปี 64

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง