TNN online "โควิด"สู่โรคประจำฤดูกาล ติดเชื้อซ้ำได้ ครั้ง 2-3 รุนแรงลดลง ยกเว้นกลุ่มนี้?

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

"โควิด"สู่โรคประจำฤดูกาล ติดเชื้อซ้ำได้ ครั้ง 2-3 รุนแรงลดลง ยกเว้นกลุ่มนี้?

โควิดสู่โรคประจำฤดูกาล ติดเชื้อซ้ำได้ ครั้ง 2-3 รุนแรงลดลง ยกเว้นกลุ่มนี้?

"หมอยง" เผย "โควิด 19" ปรับเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ RSV - ไข้หวัด rhinovirus ชี้จะสร้างปัญหาได้โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

"หมอยง" เผย "โควิด 19" ปรับเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ RSV - ไข้หวัด rhinovirus ชี้จะสร้างปัญหาได้โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความในหัวข้อ " โควิด 19 โรคประจำฤดูกาล ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา 3 พฤษภาคม 2566"


โดยระบุข้อความว่า โรคโควิด 19 ได้ปรับเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ RSV ไข้หวัด rhinovirus

โรคประจำฤดูกาลดังกล่าวจะสร้างปัญหาได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง อายุมาก มีโรคประจำตัวและเด็กเล็ก เห็นได้ชัดจากไข้หวัดใหญ่ RSV เมื่อติดเชื้อแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก เช่นเป็นปีนี้แล้วปีต่อไปหรืออีก 2 ปีต่อไปก็เป็นได้อีก แต่ถ้าร่างกายแข็งแรงความรุนแรงก็น้อย

ไข้หวัดใหญ่ถึงแม้จะมีวัคซีน ก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดี จึงยังคงมีการระบาดทุกปีและมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไปตลอดเช่นเดียวกับโควิด 19 เมื่อเป็นแล้วก็ยังเป็นซ้ำได้อีก โดยทั่วไปการเป็นครั้งที่ 2 และ 3 ความรุนแรงจะลดลง ยกเว้นในกลุ่มเปราะบาง RSV ความรุนแรงจะพบได้ในการเป็นครั้งแรกในเด็กขวบปีแรก หรือเด็กเล็กและปีต่อๆไป ความรุนแรงก็จะลดลง และจะไปพบความรุนแรงอีกครั้งหนึ่งในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว

ฤดูกาลที่เป็น ประเทศที่มีฤดูหนาวเช่นซีกนอกเหนือและซีกโลกใต้ก็จะพบมากในฤดูหนาว ประเทศไทยไม่มีฤดูหนาวที่ชัดเจน มีร้อนมากกับร้อนน้อย จึงพบโรคได้เกือบตลอดทั้งปี แต่จะพบสูงสุดในฤดูฝนตั้งแต่ปลายพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน

โรคทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ RSV โควิด 19 ไวรัสก็มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไปตลอดเช่นเดียวกัน เพื่อหลบหลีกภูมิต้านทานเดิม และทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำใหม่ได้ แต่ถ้าร่างกายแข็งแรงดีความรุนแรงก็จะน้อยหรือไม่มีอาการ

การดูแลร่างกาย ให้แข็งแรง สุขอนามัย ป้องกันการติดเชื้อและลดการระบาดของโรค รวมทั้งการให้วัคซีนป้องกันในกลุ่มเสี่ยงและเปราะบางจึงเป็นวิธีการที่จะลดความสูญเสียของโรคดังกล่าว แต่ขณะเดียวกัน RSV ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันถึงแม้จะมีการได้พยายามพัฒนากันมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้วก็ตาม







ภาพจาก รอยเตอร์/TNN Online

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง