TNN online บริษัทต่างชาติตกที่นั่งลำบาก เมื่อแผน 5 ปี คุมเข้มเศรษฐกิจมากขึ้น จีนหันมาพึ่งพาตัวเอง ไม่แคร์ต่างชาติ

TNN ONLINE

World

บริษัทต่างชาติตกที่นั่งลำบาก เมื่อแผน 5 ปี คุมเข้มเศรษฐกิจมากขึ้น จีนหันมาพึ่งพาตัวเอง ไม่แคร์ต่างชาติ

บริษัทต่างชาติตกที่นั่งลำบาก เมื่อแผน 5 ปี คุมเข้มเศรษฐกิจมากขึ้น จีนหันมาพึ่งพาตัวเอง ไม่แคร์ต่างชาติ

กลุ่มธุรกิจสหภาพยุโรป เตือนว่า กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจในประเทศจีน ทำให้บริษัทสัญชาติยุโรปเผชิญความท้าทายมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของจีนเองด้วย

จากปฏิรูปเศรษฐกิจ 1978 สู่แผน 5 ปี ของสี จิ้นผิง


เป้าหมายการพึ่งพาตนเองของจีน และความเป็นชาตินิยมที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการมุ่งเน้นความมั่นคงของชาติ ทำให้บริษัทต่างชาติ “ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก” ในแง่ของการดำเนินงานในจีน


รายงานประจำปีของหอการค้าสหภาพยุโรป เรียกร้องให้รัฐบาลจีน รื้อฟื้นการปฏิรูปเศรษฐกิจ อย่างเมื่อปี 1978 รวมถึงใช้การทูตที่ประนีประนอมมากขึ้น 


จีนพยายามแยกตัวจากประเทศอื่น ให้ไกลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” ประธานหอการค้า กล่าว 


คำถามคือพวกเขายินดีจ่ายมากแค่ไหน?” 


ไม่ได้ขับไล่ต่างชาติ แค่เน้นความเป็นชาติจีน 


แม้แนวโน้มของบริษัทยุโรปที่ทำธุรกิจในจีน จะเป็นไปในทางบวก แต่ในรายงานระบุว่า มีสัญญาณน่าหนักใจที่ว่า จีนอาจไม่ต้อนรับนานาชาติ ดังที่เห็นในแผน 5 ปี ซึ่งเป็นแผนควบคุมระบบเศรษฐกิจที่เข้มงวดอย่างมาก


แนวโน้มดังกล่าว ยังก่อให้เกิดประเด็นคำถามเกี่ยวกับวิถีการเติบโตของจีนในอนาคต


ขณะที่ประธานหอการค้าฯ เรียกร้องให้รัฐบาลจีนโอบรับความเป็นไปของโลก “หวังว่าความมั่นคงของชาติ และการพึ่งพาตนเองของจีน จะไม่ส่งผลกระทบต่อนวัตกรรมในประเทศ


รัฐบาลเมืองจีนคุมเข้มทุกตารางนิ้ว


หอการค้ายุโรปตั้งข้อสังเกตว่า การพยายามพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี เป็น “ความเสี่ยงที่ยอมรับได้” ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดความหลากหลายภายในประเทศ


นอกจากนี้ ยังเตือนว่า ศักยภาพในการเติบโต อาจสูญเสียไปกับการควบคุมทางการเมืองที่เข้มงวดมากขึ้น


เนื้อหาในรายงาน ระบุว่า “บริษัทเอกชนโดนบีบบังคับมากขึ้นเรื่อย  ให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางการเมืองของจีน ซึ่งจำกัดทั้งนวัตกรรมและการเติบโต” 


ไม่เพียงเท่านั้น ยังกล่าวถึงการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยระบุว่า "กลายเป็นสมรภูมิสำคัญ ในการต่อสู้เพื่ออำนาจสูงสุดในเทคโนโลยียุคใหม่ และจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก"


อย่างไรก็ตาม จีนคาดว่าจะเปิดตัวแผนงานในปลายปีนี้ ซึ่งเป็นแผนกำหนดมาตรฐานระดับโลกสำหรับเทคโนโลยีใหม่  เช่น 5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการผลิตอัจฉริยะ เป็นต้น


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก


ขณะเดียวกัน หอการค้ายุโรปกล่าวว่า การลดลงของจำนวนผู้เชี่ยวชาญต่างชาติที่ทำงานในจีน อาจส่งผลกระทบต่อความทะเยอทะยาน ในการเป็นมหาอำนาจด้านนวัตกรรมของจีน โดยสังเกตว่าในปี 2020 ชาวต่างชาติในประเทศเล็ก  อย่างลักเซมเบิร์ก มีมากกว่าในเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งรวมกันเสียอีก


กลุ่มธุรกิจยุโรปยังเรียกร้องให้นักการทูตจีน ลดความแน่วแน่ที่ออกไปทางก้าวร้าว เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความแตกแยกกับประเทศอื่น  


เรื่องนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์อันตึงเครียด ระหว่างจีนและเบลเยียม รวมถึงการกล่าวหาว่า จีนละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงอุยกูร์ ซึ่งเป็นปัญหาที่นำไปสู่มาตรการคว่ำบาตรและระงับข้อตกลงการลงทุนทวิภาคี


ความตึงเครียดทางการฑูตที่เพิ่มขึ้น ระหว่างจีนกับนานาประเทศ ส่งผลเสียต่อบริษัทต่างชาติ” รายงานระบุ โดยชี้ว่า การลงทุนของบริษัทอินเทอร์เน็ตสัญชาติจีนในอินเดีย ลดลงเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องพรมแดน


พึ่งพาตัวเอง ชาตินิยม นี่คือ "จีน"


ประธานหอการค้ายุโรป ระบุว่า ความท้าทายอีกประการหนึ่ง คือ การเพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยมในจีน บริษัทตกอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ โดยอ้างถึงการคว่ำบาตรของผู้บริโภคชาวจีน ที่มีต่อ H&M และบรรดาแบรนด์ต่างประเทศ จากประเด็นการใช้แรงงานในซินเจียงอุยกูร์


บริษัทยุโรปอาจไม่สนใจการเมืองในจีน แต่ก็ต้องตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่กลายเป็นเรื่องทางการเมืองมากขึ้น” เขากล่าว


ดูเหมือนว่าจีนจะกังวลว่า ตนเองอาจสูญเสียความน่าเชื่อถือ หากลดระดับวาทกรรมก้าวร้าวลง” 


พร้อมเสริมว่า “สิ่งที่ตรงข้ามกับเป็นความจริง คือ การเปิดพื้นที่สำหรับการอภิปรายเชิงสร้างสรรค์ นักการทูตจีนจะสามารถแสดงจุดยืนที่แน่วแน่ ในประเด็นปัญหาระดับชาติได้อย่างแท้จริง

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง