TNN online 'เชื้อราดำ' โรคที่ท้าทายกว่าโควิด หากรักษาไม่ทันเสี่ยงเสียชีวิตสูงถึง94%

TNN ONLINE

World

'เชื้อราดำ' โรคที่ท้าทายกว่าโควิด หากรักษาไม่ทันเสี่ยงเสียชีวิตสูงถึง94%

'เชื้อราดำ' โรคที่ท้าทายกว่าโควิด หากรักษาไม่ทันเสี่ยงเสียชีวิตสูงถึง94%

อินเดียผวา 'เชื้อราดำ' ระบาด โรคที่ท้าทายกว่าโควิด-19 หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อัตราการเสียชีวิตอาจสูงถึง 94%

วันนี้ (24พ.ค.64) แพทย์หลายคนในอินเดียกล่าวกับ BBC ว่า ผู้ติดเชื้อราดำ ส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายแล้วประมาณ 12-18 วัน จากผู้ป่วยเชื้อราดำกว่า 8,800 คน กว่าครึ่งพบในรัฐคุชราตและมหาราษฎระ ส่วนอีกอย่างน้อย 15 รัฐทั่วประเทศ มีรายงานผู้ติดเชื้อ 8 - 900 ราย 

แผนกที่เปิดสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อราดำโดยเฉพาะ กำลังเต็มอย่างรวดเร็ว จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยกตัวเอย่าง แผนดังกล่าวในโรงพยาบาลเมืองอินดอร์ จำนวนผู้ติดเชื้อราดำเพิ่มจากเพียง 8 คนเมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นถึง 185 คนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

หัวหน้าแผนเวชศาสตร์ของทางโรงพยาบาลยังระบุว่า ผู้ป่วยกว่า 80% จำเป็นต้องรับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน

“การติดเชื้อราดำ เป็นโรคที่ท้าทายกว่าโควิด-19 หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และอัตราการเสียชีวิตอาจสูงถึง 94% ไม่เพียงเท่านั้น ค่ารักษาพยาบาลยังสูง ยารักษาก็ขาดแคลน”

แพทย์อินเดียพบ “เชื้อราดำ” ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่หายากมาก ในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่กำลังรักษาตัว หรือหายป่วยจากโควิดแล้วหลายราย

การติดเชื้อรา หรือ Mucormycosis เป็นลักษณะการติดเชื้อที่หายากมาก ปกติแล้ว จะเจอในคนที่ไปสัมผัสกับ ‘รา’ ที่พบตามดิน พืช มูลสัตว์ และผลไม้และผักที่กำลังเน่าเสีย 

การติดเชื้อรา เกิดขึ้นได้ในไซนัส หรือโพรงอากาศที่อยู่รอบโพรงจมูกซ้ายขวาของมนุษย์ รวมถึงติดได้ในสมองและปอด เมื่อติดเชื้อแล้ว จะมีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และผู้ป่วยที่ภูมิคุ้นกันต่ำ อย่างผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์

เมื่อติดเชื้อราแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก เลือดออกในจมูก อาการตาบวมและเจ็บตา เปลือกตาหย่อน เริ่มมองอะไรไม่เห็น จนท้ายสุดสูญเสียการมองเห็นของตาข้างนั้นไป ไม่เพียงเท่านั้น ยังสังเกตได้จากผิวหนังบริเวณจมูกเริ่มคล้ำดำ

ผู้ป่วยโควิดที่ติดเชื้อรา มักจะสูญเสียการมองเห็นไปแล้ว จึงค่อยเดินทางมาพบแพทย์ ซึ่งสายเกินไป แพทย์ทำได้คือผ่าตาออก เพื่อยับยั้งการติดเชื้อไม่ให้ลุกลามเข้าไปถึงสมอง

การรักษานั้น ก็ไม่ถูกเลย เพราะ ‘แอมโฟเทอริซิน บี’ สำหรับต้านการติดเชื้อรามีราคาโดสละเกือบ 1,500 บาท และต้องฉีดทุกวัน นานถึง 8 สัปดาห์ หรือคอร์สรักษาหนึ่ง แค่ค่ายาฉีดก็สูงถึง 84,000 บาทแล้ว 

มาวันนี้ บริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่ ๆ ในอินเดีย ยอมรับกับ BBC ว่า ตัวยา ‘แอมโฟเทอริซิน บี’ ที่เคยหาซื้อได้ทั่วไป กลายเป็นของขาดตลาด หลังความต้องการซื้อเพิ่มสูงต่อเนื่อง นับแต่ 3 สัปดาห์ก่อน 



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง