TNN online ฤทธิ์ถึงตาย! หมออินเดียพบ "เชื้อราดำ" ในผู้ป่วยและผู้ที่หายจากโควิด

TNN ONLINE

World

ฤทธิ์ถึงตาย! หมออินเดียพบ "เชื้อราดำ" ในผู้ป่วยและผู้ที่หายจากโควิด

ฤทธิ์ถึงตาย! หมออินเดียพบ เชื้อราดำ ในผู้ป่วยและผู้ที่หายจากโควิด

แพทย์อินเดียพบ "เชื้อราดำ" ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่กำลังรักษา หรือหายจากโควิดแล้ว เมื่อเป็นแล้วอาจต้องสูญเสียดวงตา หรือ ร้ายแรงคือเสียชีวิต หากรักษาไม่ทันท่วงที

วันนี้( 9 พ.ค.64) แพทย์อินเดียพบ “เชื้อราดำ” ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่หายากมากในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่กำลังรักษาตัว หรือหายป่วยจากโควิดแล้วหลายราย การติดเชื้อรา หรือ Mucormycosis เป็นลักษณะการติดเชื้อที่หายากมาก ปกติแล้วจะเจอในคนที่ไปสัมผัสกับ ‘รา’ ที่พบตามดิน พืช มูลสัตว์ และผลไม้และผักที่กำลังเน่าเสีย 

การติดเชื้อรา เกิดขึ้นได้ในไซนัส หรือ โพรงอากาศที่อยู่รอบโพรงจมูกซ้ายขวาของมนุษย์ รวมถึงติดได้ในสมองและปอด เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและผู้ป่วยที่ภูมิคุ้นกันต่ำ อย่างผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์

แพทย์เชื่อว่า การติดเชื้อรา ในผู้ป่วยโควิด อาจเป็นผลจากการใช้สเตียรอยด์ วิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรืออาการร้ายแรง โดย การติดเชื้อรา มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 50% 

เมื่อติดเชื้อราแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก เลือดออกในจมูก อาการตาบวมและเจ็บตา เปลือกตาหย่อน เริ่มมองอะไรไม่เห็น จนท้ายสุดสูญเสียการมองเห็นของตาข้างนั้นไป ไม่เพียงเท่านั้น ยังสังเกตได้จากผิวหนังบริเวณจมูกเริ่มคล้ำดำ

ผู้ป่วยโควิดที่ติดเชื้อรา มักจะสูญเสียการมองเห็นไปแล้วจึงค่อยเดินทางมาพบแพทย์ ซึ่งสายเกินไป แพทย์ทำได้คือผ่าตาออกเพื่อยับยั้งการติดเชื้อไม่ให้ลุกลามเข้าไปถึงสมอง

การรักษานั้นก็ไม่ถูกเลย เพราะยาฉีดสำหรับต้านการติดเชื้อรามีราคาโดสละเกือบ 1,500 บาท และต้องฉีดทุกวัน นานถึง 8 สัปดาห์ หรือคอร์สรักษาหนึ่ง แค่ค่ายาฉีดก็สูงถึง 84,000 บาทแล้ว 

การใช้สเตียรอยด์ช่วยลดอาการอักเสบในปอด และยับยั้งบาดแผลที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างที่ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายกำลังต้านทานโควิด-19 แต่ในขณะเดียวกัน สเตียรอยด์ก็ลดภูมิคุ้มกันลง และเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งกับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน จึงเป็นไปได้ว่าเมื่อภูมิคุ้มกันลดลงจึงเปิดช่องให้เกิดการติดเชื้อราได้

“เบาหวาน ลดภูมิคุ้มกันร่างกาย เมื่อติดโควิดแล้วยิ่งรุนแรงขึ้น พอใช้สเตียรอยด์เพื่อต่อสู้กับโควิด-19 จึงเหมือนราดน้ำมันในกองเพลิง

ดอกเตอร์ นาอีย์ ทำงานในโรงพยาบาล 3 แห่งของนครมุมไบ หนึ่งในเมืองที่กระทบหนักสุดจากการระบาดรอบ 2 ระบุว่า พบผู้ป่วยราว 40 คนที่เกิดอาการติดเชื้อราเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลายคนเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว และกำลังรักษาโควิดอยู่ที่บ้าน ในจำนวนนี้ เขาต้องผ่าตัดเอาตาที่ติดเชื้อราออก

ไม่เพียงแต่ดอกเตอร์ นาอีย์ แต่ช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ถึงกุมภาพันธ์ ศัลยแพทย์ตาอีก 6 คน ที่ทำงานใน 5 เมืองคือ มุมไบ บังกาลอร์ ไฮเดราบัด กรุงนิวเดลี และปูเน่ รายงานตัวเลขผู้ป่วยโควิดที่ติดเชื้อราทั้งหมด 58 ราย ส่วนใหญ่ติดเชื้อราในช่วง 12-15 วันหลังหายจากโควิด

ดอกเตอร์ เรนุกา บราดู ผู้อำนวยการแผนกหู จมูก และลำคอ ของโรงพยาบาลซิออนในนครมุมไบ รายงานการพบการติดเชื้อราอีก 24 รายใสช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ในจำนวนนี้ 11 คนสูญเสียตา และ 6 คนเสียชีวิต ผู้ป่วยของดอกเตอร์บราดู เป็นโรคเบาหวานมาก่อนและอยู่ในช่วงวัยกลางคน

ดอกเตอร์ ราหุล บาซิ นักเบาหวานวิทยาในนครมุมไบ เสนอว่า วิธีหนึ่งที่จะยับยั้งการติดเชื้อในผู้ป่วยโควิดได้ คือ การรักษาและการดูแลหลังการรักษา ต้องควบคุมปริมาณโดส และระยะเวลาการใช้สเตียรอยด์ให้ดี





ข่าวแนะนำ