TNN online ‘ลิซ ทรัสส์’ นั่งนายกฯ อังกฤษ อาจทำสัมพันธ์กับจีนย่ำแย่ลงอีก

TNN ONLINE

World

‘ลิซ ทรัสส์’ นั่งนายกฯ อังกฤษ อาจทำสัมพันธ์กับจีนย่ำแย่ลงอีก

‘ลิซ ทรัสส์’ นั่งนายกฯ อังกฤษ อาจทำสัมพันธ์กับจีนย่ำแย่ลงอีก

‘ลิซ ทรัสส์’ นายกฯ คนใหม่สหราชอาณาจักร อาจทำสัมพันธ์กับจีนแย่ลงอีก


หลังจากที่ ‘ลิซ ทรัสส์’ ขึ้นแท่นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสหราชอาณาจักร ก็อาจทำให้ความสัมพันธ์กับจีนแย่ลงอีก เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่จีนถกเถียงกันอย่างหนัก เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรกับจีน ย่ำแย่ลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา 


---สหราชอาณาจักรกังวล หากให้จีนลงทุน---


รัฐบาลสหราชอาณาจักรกังวลว่า หากเปิดประตูเศรษฐกิจให้จีนเข้ามาลงทุน จะทำให้เกิดความเสี่ยงในประเทศ โดยจีนอาจนำทัพและความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ เข้ามามีบทบาทในการค้าเสรีหลังเบร็กซิต


ลิซ ทรัสส์’ เองก็มองจีนว่า เป็นภัยคุกคามระหว่างประเทศ ที่มีบทบาทเรื่องเศรษฐกิจและการทูต และเธอเองก็อาจสร้างกำแพงขึ้นมาเพื่อต่อต้านด้วย โดยเธอระบุว่า “ทุกประเทศต้องทำตามกฎ รวมถึงจีนด้วย” และ “จีนสร้างความแข็งแกร่งทางทหารอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะคืบคลานเข้ามาสู่ผลประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ของยุโรป” 


ทรัสส์’ เตือนจีนว่า หากจีนไม่ทำตามกฎ เธอจะตอบโต้อย่างมหาอำนาจ ซึ่งจีนก็ควรเรียนรู้จากบทเรียนที่ยุโรปตอบโต้มาตรการทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียที่ปฏิบัติการทางทหารต่อยูเครนด้วย


---จีนหวังความสัมพันธ์สองชาติดีขึ้น---


ขณะที่ ‘เหมา หนิง’ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุว่า เธอหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหราชอาณาจักรจะเป็นไปในทางที่ถูกต้อง จีนมุ่งมั่นที่จะสร้างผลประโยชน์ร่วมกับสหราชอาณาจักร หวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่จะดำเนินไปในทางเดียวกัน ซึ่งจะทำให้พัฒนาความสัมพันธ์ได้ดีขึ้น ส่วนการแสดงความยินดีกับทรัสส์จะเกิดขึ้นทางการปฏิบัติทางการทูตต่อไป


ส่วนประธานาธิบดี ‘ไช่ อิง-เหวิน’ ของไต้หวัน ก็ได้แสดงความยินดีกับทรัสส์ที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 


‘ลิซ ทรัสส์’ นั่งนายกฯ อังกฤษ อาจทำสัมพันธ์กับจีนย่ำแย่ลงอีก


---การเปลี่ยนจากมิตรเป็นคู่แข่งเกิดขึ้นได้อย่างไร---


ในช่วงสมัยของนายกรัฐมนตรี ‘เดวิด คาเมรอน’ เป็นยุคทองของสหราชอาณาจักรกับจีน ในปี 2015 ‘คาเมรอน’ เรียกจีนว่าเป็นเพื่อนสนิท


แต่เมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไป 3 คน ก็ทำให้ความสัมพันธ์สั่นคลอน มีการวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมทางการค้าของจีน และสถานการณ์ในฮ่องกงและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ก็ทำให้สหราชอาณาจักรเปลี่ยนจากมิตรแท้ที่พร้อมสนับสนุนจีนเป็นผู้วิจารณ์ที่ดุร้ายที่สุด 


เมื่อปี 2021 ทรัสส์ได้โน้มน้าวให้รัฐมนตรีต่างประเทศในกลุ่ม G7 เขียนคำแถลงการณ์ที่รวมเรื่องการประณามนโยบายทางเศรษฐกิจของจีนด้วย 


นอกจากนี้ ในช่วงที่ทรัสส์เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ สหราชอาณาจักรได้ร่วมลงนามในข้อตกลง ‘ออคัส’ ซึ่งเป็นข้อตกลงไตรภาคีด้านความมั่นคงระหว่าง ออสเตรเลีย สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ซึ่งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรก็ให้คำมั่นกับออสเตรเลียว่า จะช่วยออสเตรเลียผลิตเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ด้วย 


ต้องติดตามดูกันต่อไปว่า หาก ‘ลิซ ทรัสส์’ เริ่มดำเนินการเรื่องนโยบายต่างประเทศที่มีต่อจีนแล้ว จะเป็นอย่างไรต่อไป 

—————

แปล-เรียบเรียงพิชญาภา สูตะบุตร

ภาพ: Reuters

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง