TNN online ซิตี้แบงก์ แนะลงทุนในกองทุน SSF และ RMF วางแผนลดหย่อนภาษีปลายปี

TNN ONLINE

Wealth

ซิตี้แบงก์ แนะลงทุนในกองทุน SSF และ RMF วางแผนลดหย่อนภาษีปลายปี

ซิตี้แบงก์ แนะลงทุนในกองทุน SSF และ RMF วางแผนลดหย่อนภาษีปลายปี

ธนาคารซิตี้แบงก์ แนะวางแผนการลงทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีผ่านกองทุนกลุ่ม SSF และ RMF ตอบโจทย์อนาคตระยะยาว

วันนี้( 11 พ.ย.64) นายดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงปลายปีหลายคนเตรียมวางแผนการลงทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติม โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำนวนมากที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น การซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ตลอดจนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) รวมทั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) ซิตี้แบงก์ในฐานะสถาบันทางการเงินระดับโลกที่มีบริการด้านการบริหารความมั่งคั่ง หรือ ซิตี้โกลด์ (Citigold) พร้อมนำเสนอกองทุน SSF และ RMF ที่ลงทุนทั้งในหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ จากธนาคารซิตี้แบงก์และพันธมิตรในเครือที่จะมาช่วยตอบโจทย์สำหรับนักลงทุนให้สามารถรับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2564 ประกอบด้วย

ซิตี้แบงก์ แนะลงทุนในกองทุน SSF และ RMF วางแผนลดหย่อนภาษีปลายปี

ภาพประกอบ : เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์  JC&CO COMMUNICATIONS  สื่อสารองค์กร ซิตี้แบงก์


กองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว (Super Savings Fund: SSF) อาทิ ABRDN Thai Equity SSF- Super Savings เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Krungsri Cash SSF เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐเป็นหลัก Krungsri Dividend Stock SSF เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มจ่ายเงินปันผลดี SCB Short Term Fixed Income Plus SSF ที่เน้นการลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นทั้งในและต่างประเทศ หรือ SCB Low Volatility Equity SSF เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ Low Volatility Equity Portfolio เป็นต้น


กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) มีกองทุนที่น่าสนใจ อาทิ ABRDN Asia Pacific Equity RMF ที่เน้นกระจายการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ของเอเชียแปซิฟิกเอคคิวตี้ แต่ไม่ครอบคลุมตราสารทุนของญี่ปุ่น Krungsri Gold RMF ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ SPDR Gold Trust www ซึ่งมีนโยบายที่มุ่งเน้นลงทุนในทองคำแท่ง KTAM World Property RMF เน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทหรือกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือเทียบเท่า SCB US EQUITY RMF เน้นการลงทุนตราสารทุนในสหรัฐฯ ในบริษัทขนาดใหญ่ของโลก เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนตามดัชนี S&P500 ตลอดจน UOB Smart Value RMF กองทุนรวมที่มุ่งเน้นในตราสารหนี้ เงินฝากระยะสั้น หรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก เป็นต้น


อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนควรพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัยประกอบ เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนและรักษาผลประโยชน์ในระยะยาว  เนื่องจากภาพรวมการลงทุนโลกยังคงเผชิญความท้าทาย  โดยนักวิเคราะห์ซิตี้แนะนำให้กระจายความเสี่ยงไปยังกลุ่มการลงทุนที่มีแนวโน้มแข็งแกร่งในระยะยาวมากขึ้น และมีแนวโน้มการจ่ายเงินปันผลในอนาคตที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม เทคโนโลยี-การดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีดิจิทัลไลเซชัน และอสังหาริมทรัพย์ 

ซิตี้แบงก์ แนะลงทุนในกองทุน SSF และ RMF วางแผนลดหย่อนภาษีปลายปี

ภาพประกอบ : เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์  JC&CO COMMUNICATIONS  สื่อสารองค์กร ซิตี้แบงก์


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยงและไม่ขายให้บุคคลอเมริกัน


ข้อมูล : ธนาคารซิตี้แบงก์ 

ภาพประกอบ : เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์  JC&CO COMMUNICATIONS  สื่อสารองค์กร ซิตี้แบงก์ 


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง