TNN online เทศกาลกินเจเงินสะพัด 3,600 ล้านหดตัว 8.2% คนกรุงระวังการใช้จ่าย

TNN ONLINE

Wealth

เทศกาลกินเจเงินสะพัด 3,600 ล้านหดตัว 8.2% คนกรุงระวังการใช้จ่าย

เทศกาลกินเจเงินสะพัด 3,600 ล้านหดตัว 8.2% คนกรุงระวังการใช้จ่าย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดเทศกาลกินเจเงินสะพัด 3,600 คน หดตัว 8.2% หลังคนกรุงระมัดระวังการใช้จ่ายช่วงโควิด คาดร้านอาหารตักขาย-นั่งทานในร้านยอดขายวูบ ยกเว้นช่องทางร้านสะดวกซื้อ-เดลิเวอรี่บูม เหตุมีสินค้าให้เลือกหลากหลายประเภท

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เทศกาลกินเจเริ่มตั้งแต่วันที่ 6-14 ต.ค.นี้ คาดว่าคนกรุงเทพฯ จะมีเม็ดเงินค่าใช้จ่ายตลอดช่วงเทศกาลอยู่ที่ 3,600 ล้านบาท หดตัว 8.2% เมื่อเทียบกับเทศกาลกินเจปีก่อน แม้สถานการณ์โควิดและการเข้าถึงวัคซีนจะเริ่มมีสัญญาณบวก แต่สถานการณ์น้ำท่วมและราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น เป็นปัจจัยเฉพาะหน้าเพิ่มเติมที่เข้ามากระทบความเชื่อมั่นฉุดกำลังซื้อ และอาจสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคในช่วงเวลานี้ที่เทศกาลกินเจ 

  • นอกจากนี้คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่น่าจะยังคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง และยังมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยในการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน แม้ว่าผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า คนกรุงเทพฯ 55% ยังคงสนใจเข้าร่วมเทศกาลกินเจ แต่มีการปรับลดจำนวนวันในการกินเจลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

  •  โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความไม่สะดวกในการบริโภค เนื่องจากเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปสู่การ Work From Home และลดการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการเข้าถึงแหล่งจับจ่ายที่คุ้นเคยในปีก่อนๆ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจร้านอาหารข้างทางบริเวณสถานที่ทำงาน ทั้งแบบตักขายและนั่งทานในร้านอาจได้รับผลกระทบจากความกังวลของผู้บริ โภคในเรื่องของความปลอดภัยและไม่สะดวกในการออกไปจับจ่าย

  • ขณะที่ช่องทางร้านสะดวกซื้อและเดลิเวอรี่/ออนไลน์มีแนวโน้มที่คนจะหันมาใช้บริการมากขึ้น เพราะตอบโจทย์ในเรื่องของความหลากหลายของสินค้า และบริการจัดส่งที่สะดวกขึ้น

  • สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มอื่นๆ ก็อาจจะต้องวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพตลาด เพื่อให้ธุรกิจยังคงมียอดขายอาหารเจเข้ามาบ้างในช่วงเทศกาล เช่น เน้นความคุ้มค่าคุ้มราคา ชูจุดขายเมนูสุขภาพ หรือเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคทั้งในเรื่องของการสร้างสรรค์เมนู การเลือกวัตถุดิบ ช่องทางการสั่งซื้อ ตลอดจนบริการส่งสินค้าตามวันเวลาที่ลูกค้าสะดวก เป็นต้น 

  • อย่างไรก็ตามในระยะข้างหน้า ตลาดอาหารวีแกนน่าจะเติบโตขึ้นไม่เฉพาะแต่ในช่วงเทศกาลกินเจเท่านั้น แต่จากพฤติกรรมของคนไทยที่หันมาเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อม 

ปัจจุบันมีจำนวนผู้บริโภควีแกนไทย (รวมถึงมังสวิรัติและเจ) ราว 9 ล้านคน  จากข้อมูลปี 60 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  และน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเทรนด์บริโภคอาหารวีแกนโลกที่มีอยู่ 750 ล้านคน สะท้อนได้จากแนวโน้มสัดส่วนของประชากรไทยที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์น่าจะขยับขึ้นจาก 12.0% ในปี 2560 เป็น 15% ได้ภายในปี 2564    


ดังนั้น การจะเพิ่มอัตราการบริโภคและยอดขายได้มากหรือน้อยนั้นคงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ผู้บริโภคจะให้น้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นราคา รสชาติ ความหลากหลายของสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น 


ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ภาพประกอบ : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย,พิกซาเบย์

ข่าวแนะนำ