TNN online NIA ดึงสตาร์ทอัพเชื่อม อีอีซี มั่นใจปั้น 100 ดีพเทคใน 3 ปี

TNN ONLINE

Wealth

NIA ดึงสตาร์ทอัพเชื่อม อีอีซี มั่นใจปั้น 100 ดีพเทคใน 3 ปี

 NIA ดึงสตาร์ทอัพเชื่อม อีอีซี มั่นใจปั้น 100 ดีพเทคใน 3 ปี

เอ็นไอเอ อัพสปีดกลุ่มธุรกิจอารีเทค เดินหน้าดึงสตาร์ทอัพเชื่อมกลุ่มทุนลงทุน อีอีซี มั่นใจปั้น 100 ดีพเทคใน 3 ปี ดันไทยเป็นฐานดีพเทคของโลก

วันนี้( 1 ก.ย.64)  ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) กล่าวว่า NIA ยังคงเดินหน้าผลักดันสตาร์ทอัพกลุ่ม “อารีเทค (ARI Tech) ได้แก่ A – Artificial Intelligence (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์) R-Robotics (เทคโนโลยีหุ่นยนต์) และ I- Immersive (เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง) ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้จัดกิจกรรม “Business Matching” ภายใต้การดำเนินโครงการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพในอีอีซี หรือ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC ซึ่งเป็นการเฟ้นหาสตาร์ทอัพด้าน ARI Tech ที่จะมีโอกาสทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ในพื้นที่อีอีซี 


ทั้งนี้ ได้คัดเลือกสตาร์ทอัพ จำนวน 10 ราย จับคู่กับบริษัทที่ดำเนินงานในพื้นที่อีอีซีจำนวนกว่า 20 ธุรกิจ โดยมีเป้าหมายให้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่เกิดการเรียนรู้การทำงานแบบสตาร์ทอัพ พร้อมดึงศักยภาพด้านต่าง ๆ มาช่วยแก้ไขปัญหา โดยสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกประกอบด้วย


1. Zeen: ระบบ AI บริหารจัดการการขายสินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับร้านค้าปลีกอย่างถูกต้องและแม่นยำ 

2. Crest Kernel: ระบบตรวจสอบความปลอดภัยและวิเคราะห์ข้อมูลการบริโภคจากข้อมูลภาพกล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ 

3. Verily Vision: ระบบกล้อง AI เก็บข้อมูลทะเบียนรถขนส่ง และหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์สินค้าอัตโนมัติสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์

4. AltoTech: AIoT แพลตฟอร์ม วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงานภายในโรงแรม 

5. MOVEMAX: แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน 

6. AUTOPAIR: แพลตฟอร์มบริหารจัดการชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อและบริหารค่าใช้จ่าย 

7. GENSURV: รถฟอร์คลิฟท์ไร้คนขับ นำทางด้วยเลเซอร์ สำหรับการขนย้ายพาเลตในคลังและสายการผลิต 

8. BlueOcean XRSIM+: ระบบจำลองการฝึกอบรมเสมือนจริง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการฝึกซ้อมด้านไอโอที 

9. ENRES: IoT และ AI platform สำหรับการบริการจัดการพลังงานเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย และ 

10. IFRA-Machine: แพลตฟอร์มไอโอทีจัดเก็บข้อมูลจากเครื่องจักร และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อลดการหยุดทำงานของเครื่องจักร

 

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวว่า NIA ยังคงตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนสตาร์ทอัพในด้านดีพเทค ให้เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 100 ราย ภายในปี 2566 เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับจุลภาค เช่น การเข้าไปแก้ไขปัญหาเกษตรกร การจัดการธุรกิจขนาดกลาง – เล็ก ต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจในระดับมหภาคด้วยการช่วยปฏิวัติอุตสาหกรรมหรือธุรกิจแบบดั้งเดิมให้ไปสู่ความทันสมัยและแข่งขันได้ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง