TNN online สถานการณ์โควิด-19 ยังรุนแรง ทำ"คนรวย"ออมเงินมากขึ้น-คนรายได้น้อยใช้จ่ายติดขัด

TNN ONLINE

Wealth

สถานการณ์โควิด-19 ยังรุนแรง ทำ"คนรวย"ออมเงินมากขึ้น-คนรายได้น้อยใช้จ่ายติดขัด

สถานการณ์โควิด-19 ยังรุนแรง ทำคนรวยออมเงินมากขึ้น-คนรายได้น้อยใช้จ่ายติดขัด

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยปริมาณเงินฝากในประเทศพุ่งไปอยู่ที่ 15.94 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะช่วงโควิดเพิ่มขึ้นมาแล้ว 1.78 ล้านล้านบาท สวนทางผู้มีรายได้น้อยมีสัญญาณชะลอลงเพราะพิษสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ

วันนี้( 23 ก.ค.64) ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ EIC เปิดเผยว่า ภาพรวมเงินฝากทั้งระบบของไทยปรับเร่งตัวขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยเงินฝากทั้งหมด 15.94 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะหลังจากการระบาดระลอกที่ 3 ในเดือนเมษายน ซึ่งเงินฝากทั้งระบบของไทยนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ถึงเดือนพฤษภาคม 2021 ปรับเพิ่มขึ้น 1.78 ล้านล้านบาท และหากเทียบในเดือนพฤษภาคมกับเดือนเมษายน 2021 ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยพบว่าเงินฝากที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง ที่มีการออมเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคตเพิ่มขึ้น สำหรับในระยะต่อไปคาดว่า อัตราการออมมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอีกได้ตามสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อการบริโภคของประชาชนในระยะต่อไป


อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของเงินฝากกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำเริ่มเห็นสัญญาณชะลอลง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจสะท้อนได้ถึงปัญหาสภาพคล่องของประชาชนกลุ่มนี้ เศรษฐกิจที่ปรับแย่ลงจะทำให้เกิด 3 แผลเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น ประกอบไปด้วย พลวัตธุรกิจที่อ่อนแอ ตลาดแรงงานที่เปราะบาง และภาวะหนี้สูงของครัวเรือน 


 EIC ระบุด้วยว่า มาตรการล่าสุดของภาครัฐที่ออกมาหลังการระบาดระลอก 3 ไม่เพียงพอ 3 มิติ คือ ไม่พอด้านระยะเวลา – โดยมาตรการที่ชดเชยความเสียหายจากการล็อกดาวน์โดยตรง ได้แก่ การชดเชยรายได้ของผู้ประกอบการและลูกจ้างที่มีระยะเวลาแค่ 1 เดือนเท่านั้น ขณะที่ผลกระทบลากยาว 


2. ไม่พอด้านพื้นที่ – ปัจจุบัน ภาครัฐ เลือกช่วยเฉพาะจังหวัดล็อกดาวน์ จะเห็นได้จากดัชนี Facebook Movement พบว่า นอกจังหวัดที่ถูกล็อกดาวน์ ก็ได้รับผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปด้วย


และสุดท้าย  3. ไม่พอด้านเม็ดเงิน – ภาครัฐมีมาตรการหลังการระบาดรอบ 3 รวมเพียง 2.6 แสนล้านบาท ซึ่งไม่พอต่อความเสียหายที่ EIC ประเมินไว้กว่า 7.7 แสนล้านบาท



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง