TNN online สมาพันธ์เอสเอ็มอีผนึก 24 องค์กร ชง 6 มาตรการต่อลมหายใจธุรกิจ

TNN ONLINE

Wealth

สมาพันธ์เอสเอ็มอีผนึก 24 องค์กร ชง 6 มาตรการต่อลมหายใจธุรกิจ

สมาพันธ์เอสเอ็มอีผนึก 24 องค์กร  ชง 6 มาตรการต่อลมหายใจธุรกิจ

สมาพันธ์เอสเอ็มอีจับมือ 24 องค์กรชง 6 มาตรการให้รัฐบาลต่อลมหายใจภาคธุรกิจฝ่าวิกฤติโควิด เร่งผลักดันตั้ง 2 กองทุนเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และภาคีพันธมิตรเครือข่ายทั้ง 24 องค์กร มีมติให้เสนอมาตร การเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาล 6 มาตรการ ได้แก่ 1. มาตรการพักต้น พักดอก ตลอดระยะเวลา 6 เดือน และไม่คิดดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาการพักต้น


สําหรับกลุ่มลูกหนี้ mSMEs (ผู้ประกอบการรายย่อย) เดิม ทั้งที่ได้รับผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ให้เป็นหนี้เสีย หรือ NPLs เพราะการแพร่ระบาดยังคงมีอย่างต่อเนื่องและไม่มีแนวโน้มที่จะยุติ ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยให้ต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการ mSMEs ให้ดําเนินกิจการต่อไปได้ 


2. มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แบ่งเป็นกลุ่ม mSMEs ที่มีสินเชื่ออยู่ในระบบสถาบันการเงิน เป็นลูกหนี้เดิมมีการผ่อนชําระดีไม่เป็น NPLs มีอัตราดอก เบี้ยเงินกู้ต่อปีสูงกว่าร้อยละ 5 ให้ลดลงมาคงที่ในอัตราร้อยละ 4 เป็นระยะเวลา 2 ปี 


โดยรัฐบาลช่วย อุดหนุนอัตราดอกเบี้ยส่วนที่ลดให้กับลูกหนี้เดิมแก่สถาบันการเงินร้อยละ 1 และกลุ่ม mSMEs ที่มีสินเชื่ออยู่กับแหล่งเงินกู้ที่ไม่ใช่สถา บันการเงิน ( Non Bank ) เป็นลูกหนี้เดิมมี การผ่อนชําระดีไม่เป็น NPLs มีอัตราดอกเบี้ยและค่าบริการที่สูงมาก จึงขอเสนอให้ลดอัตรา ดอกเบี้ยและค่าบริการลดลงมากึ่งหนึ่ง จนครบอายุสัญญา 


3. มาตรการสินเชื่อ Soft Loan สําหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท พิจารณากําหนดวงเงินให้กู้จากกระแสเงินสดสุทธิจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ไม่นํางบการเงิน มาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์การให้สินเชื่อเป็นระยะเวลา 2 ปี 


ทั้งนี้เนื่องจากงบการเงินของผู้ประกอบการ mSMEsอยู่ในระหว่างการ ปรับตัวเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว จึงไม่สามารถนํามาวิเคราะห์ในเรื่องความสามารถในการชําระหนี้ได้ อย่างสะท้อนความเป็นจริง ผู้ประกอบการ mSMEs มักจะใช้การหมุนเวียนเงินจากเงินสดในมือและ เงินฝากธนาคารเป็นหลักในการดําเนินกิจการ การวิเคราะห์การให้สินเชื่อจึงควรวิเคราะห์จากกระแสเงินสด


4. มาตรการยกเว้นตรวจสอบข้อมูลเครดิตหรือเครดิตบูโร เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ย่อมมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อข้อมูลเครดิตของผู้ประกอบการ mSME อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ประกอบการ ดังนั้น จึงขอเสนอให้สถาบันการเงินไม่นําข้อมูลเครดิตหรือเครดิตบูโร ในช่วงการแพร่ระบาดมา พิจารณาการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการ mSMEs เป็นระยะเวลา 2 ปี


5. มาตรการกองทุนพัฒนาวิสาหกิจ ในปัจจุบันได้มีการยกร่าง พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาวิสาหกิจ พ.ศ. .... เนื่องจากที่ผ่านมา mSMEsจํานวนมากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้ ทําให้เกิดหนี้นอกระบบเติบโตขึ้นอย่างมากมาย 


ซึ่งกองทุนนี้จะเป็นเรือธงทําให้เกิดการบริหารสินเชื่อในกองทุนได้คล่องตัว และมีเกณฑ์ที่ผ่อนปรนไม่ใช้เกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงขอให้ผลักดันกองทุนนี้ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และขอเสนอให้มีคณะกรรมการบริหารที่ต้องให้สัดส่วน ของภาคเอกชน เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน สื่อมวล ชนที่สามารถมีส่วนร่วมได้ในทุกระดับ โดยให้มืออาชีพเข้ามาบริหารกองทุน รวมทั้งต้องจัดระบบผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาธุรกิจ mSMEs เพื่อเป็นพี่เลี้ยง และให้คําแนะนําในการดําเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มีวินัยทางการเงิน บัญชี และเพิ่มขีด ความสามารถอย่างต่อเนื่อง 


6. กองทุนฟื้นฟู NPLs เพื่อการพัฒนา mSMEs ไทย กองทุนนี้จะช่วยให้ mSMEs ที่เป็น NPLs จากผลกระทบโควิด 19 และก่อนหน้านี้ ได้รับการดูแล แก้ไข ปรับปรุงหนี้อย่างเป็นระบบ และสามารถบ่มเพาะให้ mSMEs เหล่านี้กลับสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ และอยู่ในระบบฐานภาษีของรัฐ จึงขอให้ทางรัฐบาลเร่งดําเนินการยกร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูNPLs เพื่อการพัฒนา mSMEs ไทย เป็นการด่วนเพื่อให้ทันต่อสภาวการณ์ปัจจุบัน 


โดยสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และภาคีพันธมิตรเครือข่ายผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า มาตรการดังกล่าวข้างต้น จะได้รับการตอบสนองและพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ทุกภาคส่วนผ่านพ้นสถานการณ์อันยากลําบากนี้ไปด้วยกัน

ข่าวแนะนำ