TNN online โควิดระบาดหนักอุตฯอาหาร สูญรายได้ส่งออกกว่า 2 หมื่นล้าน

TNN ONLINE

Wealth

โควิดระบาดหนักอุตฯอาหาร สูญรายได้ส่งออกกว่า 2 หมื่นล้าน

โควิดระบาดหนักอุตฯอาหาร  สูญรายได้ส่งออกกว่า 2 หมื่นล้าน

สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ระบุโควิดระบาดในโรงงานอาหาร ฉุดศักยภาพการผลิต สูญเสียโอกาสโกยรายได้ส่งออกกกว่า 2 หมื่นล้านบาท คาดทั้งปีโต 5-10%

นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) และอุปนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยว่า ในวิกฤติโควิด-19 ได้ส่งผลบวก และลบกับอุตสาหกรรมอาหารสูงมาก โดยในด้านบวกทำให้ทั่วโลกให้ความสำคัญในเรื่องของความมั่นคงด้านอาหารมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ หันมาเพิ่มการนำเข้าสินค้าอาหารจากอาเซียนเพิ่มสูงมาก แต่ก็มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้น หากผู้ผลิตรายได้ทำให้ตามมาตรฐานที่กำหนดก็จะมียอดขายเพิ่ม  


 “ขณะนี้มีหลายประเทศในยุโรป และสหรัฐ ที่ไม่ค่อยสั่งซื้อสินค้าอาหารสำเร็จรูปจากอาเซียนมากนัก เพราะอยู่ห่างไกล แต่ในปัจจุบันได้เข้ามาสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะต้องการสร้างความมั่นคงด้านอาหารในช่วงโควิด ยึดหลักมีอาหารให้เหลือเพียงพอดีกว่าขาด และหันมาสต็อกสินค้าเพิ่ม สร้างโอกาสในการส่งออกให้กับไทยสูงขึ้น”



ส่วนการระบาดของโควิด-19 ได้กระจายเข้าไปสู่โรงงานแปรรูปอาหารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องหยุดดำเนินการผลิตในบางช่วง หรือหยุดบางสายการผลิต ทำให้สูญเสียโอกาสในการผลิตเป็นจำนวนมาก 


ซึ่งในปัจจุบันไทยส่งออกอาหารประมาณ 1 ล้านล้านบาทต่อปี เป็นสัดส่วนของอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปประมาณ 20% หรือ 2 แสนล้านบาทต่อปี ที่เหลืออีก 80% จะเป็นการส่งออกวัตถุดิบอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาล 


คาดว่าในกลุ่มอาหารแปรรูปจะขยายตัวได้ประมาณ 5-10% หรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 1 – 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากไม่มีการระบาดของโควิด-19 ในโรงงาน ก็จะขยายตัวได้สูงถึง 20% หรือประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ดังนั้นโควิด-19 จึงทำให้ไทยสูญเสียโอกาสในการส่งออกกว่า 2 หมื่นล้านบาท 


สำหรับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยในอนาคต มองว่าสินค้าในกลุ่มอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ หรือ Plant Factory และสินค้ากลุ่ม Ve

gan หรืออาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ มีการเติบโตสูงมาก ในปัจจุบันในตลาดโลกมีมูลค่า 4 – 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี 


ทั้งนี้ในปี 2583 จะมีมูลค่าเพิ่มอีก 10 เท่าตัว และมีราคาลดลงจนคนทั่วไปบริโภคได้ง่าย  ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่จะป้อนตลาดยุโรป และสหรัฐ ที่ตื่นตัวสูง บางประเทศเติบโต 10-20% แต่ยังสามารถป้อนให้กับตลาดอินเดียที่ประชากรกว่า 50% บริโภคอาหารมังสวิรัติ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่สูงมากของอุตสาหกรรมอาหารของไทย ที่จะเป็นฐานผลิตอาหารในกลุ่มนี้ที่สำคัญของโลกได้


นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่ต้องจับตามอง ก็คือ การผลิตเนื้อสัตว์จากการเพาะเลี้ยงจากเซลล์สัตว์ ที่เกิดจากเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสัตว์ให้เป็นชิ้นเนื้อโดยไม่ต้องเลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการวิจัยพัฒนา และมีราคาสูงมาก แต่หากเทคโนโลยีนี้ประสบผลสำเร็จผลิตออกมาขายเชิงพาณิชย์ได้ ก็จะเป็นการดิสรัปชั่นอุตสาหกรรมปศุสัตว์ทั่วโลก รวมทั้งไทย ซึ่งไทยจะต้องจับตาอย่างใกล้ชิด และตามเทคโนโลยีนี้ให้ทัน เพื่อให้ปรับตัวสู่อาหารแห่งอนาคตเหล่านี้ได้ 


นายองอาจ กล่าวว่า การที่จะพัฒนาไปสู่การผลิตอาหารแห่งอนาคตเหล่านี้ รัฐบาลควรจะสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพไทยที่คิดค้นนวัตกรรมด้านการ

เกษตรและอาหาร เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีของคนไทย เพราะแม้ว่าอาหารในกลุ่มนี้จะมีพื้นฐานจากวัตถุดิบการเกษตร แต่ต้องใช้เทค

โนโลยีการแปรรูปขั้นสูงให้มีรสสัมผัสเหมือนเนื้อสัตว์จริง


รวมทั้งการปลดล็อกฎหมายบางด้าน เช่น ส่งเสริมกัญชงให้ผลิตแบบพืชอาหารทั่วไปได้ เพราะในกัญชงมีโปรตีน369 ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูงในสัดส่วนสูงมาก ทดแทนการนำเข้าโปรตีนจากถั่งเหลือหรือจากชนิดอื่น ๆ และยังมีสารประกอบทางยาสูง ซึ่งหากปลูกได้อย่างเสรีแบบพืชทั่วไปจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศสูงมาก



ส่วนของแนวทางการผลักดันอุตสาหกรรมอาหารไทยไปสู่การผลิตอาหารมูลค่าสูง สอดรับความต้องการในอนาคต และมีความยั่งยืน ซึ่งมีสัดส่วน 50% ของโรงงานแปรรูปอาหารทั้งหมด ในขั้นแรกจะต้องยกระดับโรงงานแปรรูปอาหารขั้นต้นที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบตามฤดูการ ให้ปรับปรุงเครื่องจักรเทคโน โล ยีมาตรฐาน และผลิตภัณฑ์ ไปสู่การผลิตอาหารได้ทุกฤดูการโดยการบืดเวลากากจัดเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งใช้วัตถุดิบจากนอกประเทศได้อย่างหลากหลาย ภายใต้แนวคิดการใช้วัตถุดิบทั่วโลกมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มภายในประเทศไทย ซึ่งจะขยายศักยภาพการผลิตอาหารของประเทศได้อีกมหาศาล

ข่าวแนะนำ