TNN online บล.กสิกรไทยเชียร์ 4 หุ้นส่งออกอานิสงส์การค้าโลกฟื้น

TNN ONLINE

Wealth

บล.กสิกรไทยเชียร์ 4 หุ้นส่งออกอานิสงส์การค้าโลกฟื้น

บล.กสิกรไทยเชียร์ 4 หุ้นส่งออกอานิสงส์การค้าโลกฟื้น

บล.กสิกรไทยมองการค้าโลกฟื้นตัว-เงินบาทอ่อนหนุนหุ้นส่งออก เลือก 4 หุ้นที่น่าลงทุนจะมีตัวไหนบ้างตาม TNNONLINE ไปดูกันเลย


รายงานข่าวจากบล.กสิกรไทยแจ้งว่า  การฟื้นตัวแข็งแกร่งของการค้าโลกและเงินบาทที่อ่อนค่าจะส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มส่งออก  ซึ่งหุ้นเด่นที่เลือกวันนี้มี 4 ตัว


นำโดย TU เราเชื่อว่าการดำเนินงานของ TU จะยังแข็งแกร่งใน 2Q64 และครึ่งหลังของปี 64 ยอดขายอาหารสำเร็จรูปแซ่เย็น/แช่แข็ง (ambient product) ที่อ่อนแอลง (47% ของยอดขายรวมในปี 2563) จากการกักตุนอาหารในช่วงวิกฤติโรคระบาดคาดจะถูกหักล้างจากอุปสงค์อาหารแซ่เแข็งที่แข็งแกร่งมากขึ้น (37% ของยอดขายรวมในปี 63) 


อาหารสัตว์เลี้ยงที่เติบโตขึ้น  (16% ของยอดขายรวมในปี 63) เราคาดว่า GPM จะยังแข็งแกร่งอยู่ที่ 17% หนุนจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง อัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลงทุก 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ  จะส่งผลให้เกิด upside/downside ที่ 8% ต่อ EPS ปี 64 ส่วนผลขาดทุนจาก Red Lobster คาดจะน้อยกว่า 600 ล้านบาท ในปี 63 จากการเปิดประเทศของสหรัฐฯ และการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้น


ทั้งนี้คาดว่าผลขาดทุนจาก Red Lobster จะดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 64 เพราะสาขาร้านอาหารในสหรัฐฯ ได้ประโยชน์จากการเร่งฉีดวัคซีนซึ่งคาดจะส่งผลให้สหรัฐฯ กลับมาเปิดประเทศได้อีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เช่น ร้านอาหารและบาร์ในนิวยอร์กได้รับอนุญาตให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารนอกร้านได้ 100% ใน19 พ.ค. เป็นต้นมา และ

จากพัฒนาการเชิงบวกเช่นนี้ นักวิเคราะห์ของเราคาดว่าส่วนแบ่งกำไรของ TU (จาก Red Lobster เป็นส่วนใหญ่) จะพลิกกลับจากผลขาดทุนสุทธิที่ 527 ล้านบาท ในปี 63 เป็นกำไรสุทธิที่ 261ล้านบาท  ในปี 64


ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ "ซื้อ" ด้วยราคาเป้าหมายที่ 23.50 บาท คำนวณด้วยเป้า PER ที่ 15.8 เท่า ของ EPS เฉลี่ยระหว่างปี 65-66 หรือระดับเฉลี่ยในอดีต  


หุ้นเด่นตัวต่อมาคือ  KCE จะรายงานกำไรสุทธิปี 2564 ที่เติบโตขึ้น 92% YOY และมี CAGR ที่ 46% ในปี 63-66 หนุนจากรายได้ที่ขยายตัวขึ้น การขยายกำลังการผลิตและ GPM ที่สูงขึ้น เราคาดว่าปัจจัยหนุนการเติบโตของรายได้และอัตรากำไร ในเชิง QOQ จาก 2Q64 จะมาจาก ASP ที่สูงขึ้น เงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์ฯ ราคาทองแดงที่ลดลงและกำลังการผลิตใหม่ที่ 18% ซึ่งจะเริ่มผลิตในเดือน ก.ย. และ ต.ค. ปีนี้ 


สำหรับในปี 65 เราคาดว่ากำลังการผลิตใหม่จะดำเนินการผลิตเต็มปีและคาดจะเห็นเฟสต่อไปเติบโตใหม่ในปี 66 เพราะเฟสแรกของการผลิตจากโรงงานผลิตใหม่ที่โรจนะ (25

ตารางฟุต หรือคิดเป็น 67% ของกำลังการผลิตรวมที่ 37.8 ล้านตารางฟุต ในปี 65) คาดจะเริ่มผลิตได้ตามกำหนด


อย่างไรก็ตาม เราเห็น upside จากงินบาทที่อ่อนค่าลงและราคาทองแดงที่ลดลง เราวิเคราะห์ความอ่อนไหวถึงผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและราคาทองแดงที่เปลี่ยนแปลงไปต่อ EPS ปี64-66 ของเราและพบว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลงทุก 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลให้เกิด upside/downside ที่ 12% ต่อ EPS ปี 64  ขณะที่ ราคาทองแดงที่มีการเปลี่ยนแปลงทุก 1,000 ดอลลาร์ฯต่อตัน จะส่งผลให้เกิดupside/downside ที่ 6% ต่อ EPS ปี 64  


ส่วนกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ"ซื้อ"ด้วยราคาเป้าหมายที่ 80 บาทมูลค่าหุ้นของเราคำนวณ ด้วยเป๋า PER ที่ 29.7 เท่า หรือ 2SD มากกว่า PER ล่วงหน้าเฉลี่ย 12 เดือน ช่วง 5 ปี


หุ้นเด่นส่งออกอีกตัวคือ   EPG จะรายงานกำไรปี FY2565 ที่เติบโตขึ้น 33% จาก 1. ธุรกิจฉนวนที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการลงทุนในสหรัฐฯ  2.ยอดขายยานยนต์ในตลาดโลกที่เติบโตขึ้น ซึ่งจะหนุนธุรกิจชื้นส่วนยานยนต์ของ EPG


3. การใช้บริการจัดส่งอาหารมากขึ้น ซึ่งคาดว่จะกระตุ้นธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหารในประเทศของ EPG ขึ้นได้  อย่างไรก็ตาม คาดว่ากำไรไตรมาส 1/ F Y2565 จะเติบโตขึ้นทั้ง YoY และ Q0Q โดยการดำเนินงานโดยรวมของ EPG ยังฟื้นตัวต่อเนื่อง EPG ยังคงเห็นคำสั่งซื้อที่แข็งแกร่งต่อเนื่องจากอุปสงค์ที่สะสมจากช่วงก่อน (pent-up demand)


ทั้งนี้บริษัทได้ปรับเพิ่มราคาขายบางสินค้าขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับราคาปโตรเคมี นอกจากนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (HDPE และPP) ก็ได้ปรับตัวลดลงมา 20 % ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สืบเนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและอุปทานใหม่ที่ไหลเข้ามาจากการเริ่มดำเนินงานโรงแคร็กเกอร์แห่งใหม่ในเกาหลีใต้ (SGS Caltex แล: LG Chemical) และในไทย (PTTGC) ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์กับ EPG ในแง่ที่จะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับลดลงในไตรมาสถัดๆ ไป


ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุนเรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมายของเราที่ 14.0 บาทอิงเป้าหมาย PER ที่ 22.8 เท่าต่อค่าเฉลี่ยปี 65-66 หรือคิดเป็น +2SD ต่อค่าเฉลี่ยของ EPG


หุ้นส่งออกปิดท้ายคือ CBG   คาดว่กำไรสุทธิ1Q64 จะแตะระดับต่ำสุดของปีนี้และคาดว่า CBG จะรายงานกำไรสุทธิที่พลิกฟื้นขึ้นใน 2Q64 หนุนจากยอด ขายส่งออกที่เติบโตขึ้น (45-50% ของรายได้รวม) ไปยังประเทศกัมพูซา เมียนมา เวียดนามและจีนคาดว่ายอดขายในกัมพูชาจะมีปัจจัยหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในเดือน พ.ค.64 


การฟื้นตัวขึ้นจากอุทกภัยใน 4Q63 ผู้จัดจำหน่ายของCBG ในเมียนมาสั่งซื้อของมากขึ้นใน 2Q64 จาก pent-up demand หลังเกิดเหตุรัฐประหารใน 1Q64 เราคาดว่าการส่งออกไปยังประเทศจีนจะยังแข็งแกร่งใน 2Q64 หนุนจากยอดขายใหม่และยอดสั่งซื้อซ้ำ 


จากยอดขายส่งออกที่แข็งแกร่งใน2Q64 เราจึงคาดว่ายอดขายส่งออกสะสมช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะทรงตัว YoY เป็นอย่างน้อยที่สุดหลังบริษัทฯ รายงานยอดขายที่ลดลง 16% YoY  ใน1Q64 และคาดยอดขายในประเทศของ CBG จะลดลง Q0Q ใน 2Q64 ผลจากวิกฤติโควิด-19 ระลอกสามแต่คาดจะพลิกฟื้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้หลังกิจกรรมเศรษฐ กิจพื้นตัวขึ้นจากการล็อกดาวน์ เราคาดว่ากำไรสุทธิปี 64 ของ CBG จะเติบโตขึ้น 15% YoYมาอยู่ที่ 4,067 ล้านบาท (หรือ 4 บาท/หุ้น) และกำไรสุทธิปี 2565 จะเติบโตขึ้น 17 % YoY มาอยู่ที่ 4,771 ล้านบาท (หรือ 4.8 บาท/หุ้น)



อย่างไรก็ตาม เห็นผลกระทบที่จำกัดต่อ GPM ของ CBG จากราคาอะลูมิเนียมที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ราคาอะลูมิเนียมที่สูงขึ้นทุก 100 ดอลลาร์ฯ/ตัน จะส่งผลกระทบต่อ GPM ของ CBG ที่ 0.3% ดังนั้น ราคาอะลูมิเนียมที่เพิ่มขึ้น 400 ดอลลาร์ฯ/ตัน Q๐Q มาอยู่ที่ 2,500 ดอลลาร์ฯ/ตัน ใน 2Q64 จะส่งผลกระทบต่อ GPM ของ CBG ที่ 1.2% เทียบกับ GPM ในไตรมาส 2/2564 ที่ 47% เราคาดว่า CBG จะลงค่าโฆษณามากขึ้น (-156 ล้านบาท  มาอยู่ที่ปีละ 176ล้านบาท ) และลดปริมาณน้ำตาลลง (ปีละ -340ล้านบาท ) เพื่อชดเชยต้นทุนอะลูมิเนียมที่สูงขึ้น (+1.2% หรือ 120 ล้านบาท )


แนะนำ "ซื้อ" ด้วยราคาเป้าหมายที่ 166 บาท มูลค่าหุ้นของเราคำนวณจากเป้า PER ที่ 33.2 เท่า ของ EPS เฉลี่ยปี 65-66 หรือระดับเฉลี่ยในอดีต ธุรกิจในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดเครื่องดื่มชูกำลังขนาดใหญ่ที่สุดของโลกที่เติบโตขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นให้กับ CBG



ข่าวแนะนำ