TNN online เซ่นโควิด! เอสเอ็มอีไปต่อไม่ไหวจ่อหนี้เสียพุ่ง4.4แสนล้านบาท

TNN ONLINE

Wealth

เซ่นโควิด! เอสเอ็มอีไปต่อไม่ไหวจ่อหนี้เสียพุ่ง4.4แสนล้านบาท

เซ่นโควิด! เอสเอ็มอีไปต่อไม่ไหวจ่อหนี้เสียพุ่ง4.4แสนล้านบาท

"แสงชัย"เผยเอสเอ็มอีน่าห่วงเผชิญปัญหาเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน แม้รัฐช่วยเหลือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จ่อหนี้เสียพุ่งอีก 4.4 แสนล้านบาท

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า  ธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ครึ่งปีหลัง ยังประสบกับความยากลำบาก  เพราะได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากโควิดรอบแรกและล่าสุดรอบใหม่ที่กระทบมาแล้ว 3 เดือน (เม.ย.-มิ.ย.) เนื่องจากเอสเอ็มอี  ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวบริการ และกลุ่มค้าส่งค้าปลีก โดยเฉพาะท่องเที่ยวและบริการยังคงไม่ฟื้นตัว 


ขณะที่การบริโภคในประเทศเองก็ชะลอตัวแต่เอสเอ็มอี ส่วนใหญ่ยังคงเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน แม้รัฐจะมีการช่วยเหลือด้านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแต่การเข้าถึงก็ยังน้อย ดังนั้นเห็นว่าแนวทางเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อเสริมสภาพคล่องแม้ไม่เติมทุนใหม่ แต่หนี้เดิมก็ขอให้ไม่มีคือมาตรการ พักต้น พักดอก คือไม่คิดดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาที่พักหนี้อย่างน้อยก็ 6 เดือนหรือจนถึงสิ้นปีนี้เพื่อประคองธุรกิจเหล่านี้ให้อยู่รอดเพื่อรอเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

         

 "  เอสเอ็มอีเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) หรือหนี้ เสียในระบบคิดเป็นวงเงินถึง 2.4 แสนล้านบาท แถมยังมีกลุ่มไฟเหลืองที่จวนเจียน จะเป็นหนี้เสียอีก 4.4 แสนล้านบาท ซึ่งถ้ารวม 2 ส่วนนี้ คิดเป็นสัดส่วน 20% ของ สินเชื่อเอสเอ็มอี ทั้งระบบที่มีอยู่ 3.5 ล้านล้านบาทและมีแนวโน้มว่ากลุ่มไฟเหลืองจะ กลายเป็นไฟแดงในไม่ช้า ขณะที่จีดีพีเอสเอ็มอี  ปี 2563 คิดเป็น 5.4 ล้านล้านบาทได้ลดลงจากปี 2562 ราว 5.6 แสนล้านบาทและคาดว่าปี 2564 จะลดลงต่ออีก"


นอกจากนี้การที่รัฐกึ่งล็อกดาวน์ในพื้นที่ 6 จังหวัด (กรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี และปทุมธานี) กระทบต่อเอสเอ็มอี ดังนั้นรัฐควรมีไทม์ไลน์ให้ชัดเจนก่อนประกาศ เช่น 14 วัน จะเร่งตรวจเชิงรุกทั้งหมด และฉีดวัคซีนคนในพื้นที่ให้ครบจากนั้นจะเปิดวันไหน  ไม่ใช่ประกาศแล้วค่อยมาคิดแผนรายละเอียด


 ขณะที่เอสเอ็มอี ที่เกี่ยวกับส่งออกแม้จะสดใส แต่ก็ยังคงกังวลที่หลายประเทศเริ่มมีปัญหาการกลับมาระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงอีกครั้ง ซึ่งเกรงว่าหากมากขึ้นอาจนำไปสู่การ Reset ใหม่อีกรอบจึงต้องติดตามใกล้ชิด ดังนั้นหัวใจของการแก้ไขปัญหาโควิด-19 คือ วัคซีน แต่หัวใจที่สำคัญกว่าคือการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

          

" รัฐบาลควรจะตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟู NPL สำหรับ SME ทั้งในและนอกระบบเพื่อให้ธุรกิจไปต่อกันทั้งหมด นี่คืออีกข้อเรียกร้องอีกหลายๆข้อที่เราได้เสนอต่อรัฐบาลไปแล้วและยังไม่เกิดเป็นรูปธรรม"  

ข่าวแนะนำ