TNN online เอกชน เตรียมชงแนวทางช่วยเอสเอ็มอีให้"สุพัฒนพงษ์"พิจารณาวันนี้

TNN ONLINE

Wealth

เอกชน เตรียมชงแนวทางช่วยเอสเอ็มอีให้"สุพัฒนพงษ์"พิจารณาวันนี้

เอกชน เตรียมชงแนวทางช่วยเอสเอ็มอีให้สุพัฒนพงษ์พิจารณาวันนี้

หอการค้าไทย เตรียมแนวทางช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูธุรกิจและเศรษฐกิจไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 -เน้นกลุ่มเอสเอ็มอีเข้าถึงซอฟต์โลน-พักหนี้ ในการประชุมร่วมกับรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน วันนี้

วันนี้( 10 มิ.ย.64)  นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า  คณะกรรมการหอการค้าไทย จะมีการประชุมระบบทางไกลกับสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูธุรกิจและเศรษฐกิจไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และหลังการแพร่ระบาดคลี่คลายลง 

 โดยภาคเอกชนได้เตรียมนำเสนอประเด็นหารือ และภารกิจเร่งด่วนของหอการค้าไทย ที่ได้กำหนดไว้ 3 เรื่อง ได้แก่

 1.การเร่งกระจายและฉีดวัคซีน

 2. เร่งรัดมาตาการช่วยเหลือภาคเอกชนโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งได้รวบรวมปัญหาและข้อเสนอผู้ประกอบการว่าธุรกิจนั้นๆต้องการอะไร ที่ส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาเรื่องรายได้ต่ำกว่าปกติและเริ่มขาดสภาพคล่อง รวมถึงหารือลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงมาตรการรัฐ ทั้งการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟต์โลน) การพักทรัพย์พักหนี้ เป็นต้น ขอให้เพิ่มเติมมาตรการช่วยเหลือภาคประชาชน เช่น การเพิ่มวงเงินมาตรการเยียวยาลดค่าครองชีพ เช่น คนละครึ่ง เราชนะ น่าจะเพิ่มจาก 3 พันบาท เป็น 6 พันบาท ฟื้นมาตาการช้อปดีมีคืนและเราเที่ยวด้วยกัน

 3.แก้กฎระเบียบหรือปรับหลักเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น การอนุมัติช่วงเวลาที่ให้ต่างชาติเข้ามาพำนักหรือทำงานในไทย ขณะที่หลายอุตสาหกรรมก็จะเสนอแนวทางให้รัฐบาลช่วยปลดล็อกกฎระเบียบต่างๆ 


ทั้งนี้ แนวทางที่เตรียมนำเสนอดังกล่าว หอการค้าไทย ได้มีการประชุมหารือร่วมกัน เมื่อวานนี้(่ 9 มิ.ย.) ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกัน โดยเฉพาะความคืบหน้าของภารกิจเร่งด่วนที่ทางหอการค้าไทยได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา  อาทิ ภารกิจการเปิดสถานที่ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชน จะสามารถฉีดได้รวมกันต่อวันละกว่า 5 หมื่นคน  รวมทั้งผลักดันให้ผู้ประกอบการการเข้าถึงซอฟต์โลน ตลอดจนการพักทรัพย์พักหนี้ และสินเชื่อฟื้นฟูกิจการ  โดยการนำเสนอ วิธีการที่ จะเป็น ประโยชน์ กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี และ ด้านความมั่นใจที่จะปล่อยกู้ของธนาคาร เช่น พักทรัพย์พักหนี้ หากเป็นลูกหนี้ที่มีทรัพย์เพียงพอชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งมีจำนวนมาก ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าหากรัฐไม่ปล่อยกู้เพิ่มจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องผู้ประกอบการ ประสบปัญหาขาดทุนจนอาจถึงขั้นปิดกิจการ หรือการเพิ่มมาตรการลดหย่อนภาษีช่วยเหลืออีกทาง เป็นต้น


ด้านนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังต้องการแรงสนับสนุนจากทั้งนโยบายการเงินและการคลังเพิ่มเติม เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้า โดยผู้ประกอบการในภาคท่องเที่ยวสะท้อนว่าผลกระทบจากการระบาดคราวนี้มีแนวโน้มรุนแรงมากกว่าทั้ง 2 ระลอกก่อนหน้า จากการแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและเข้ามาซ้ำเติมกิจกรรมทางธุรกิจให้แย่ลงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผู้ประกอบการภาคอสัง หาริมทรัพย์และภาคการค้าที่สะท้อนว่าได้รับผลกระทบมากกว่า 2 ระลอกก่อนหน้าจากกำลังซื้อที่ลดลง ดังนั้น แรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินและการคลังเพิ่มเติมเป็นสิ่งจำเป็น สอดคล้องกับรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ฉบับล่าสุดในเดือน มิ.ย. (Article IV Consultation) ที่เสนอแนะให้ประเทศไทยสามารถดำเนินการผ่อนคลายนโยบายการคลังมากขึ้น โดยเฉพาะการเร่งใช้จ่ายด้านการลงทุนภาครัฐ และมีความต่อเนื่อง


รวมถึงหากภาครัฐเร่งกระจายวัคซีนในประเทศที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ภาคการผลิตและส่งออกไทยยังคงรักษาการเป็นฟันเฟืองหลักของเศรษฐกิจในภาวะวิกฤตเช่นนี้ และยังจะสร้างเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและประชาชน ทำให้อุปสงค์ในประเทศกลับมาฟื้นตัวได้

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง