TNN online โบรกมองหุ้นไทยไปต่อ! อานิสงส์กระจายวัคซีน-ลุ้นรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม

TNN ONLINE

Wealth

โบรกมองหุ้นไทยไปต่อ! อานิสงส์กระจายวัคซีน-ลุ้นรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม

โบรกมองหุ้นไทยไปต่อ!  อานิสงส์กระจายวัคซีน-ลุ้นรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม

โบรกมองหุ้นไทยไปต่อสารพัดปัจจัยบวกหนุน ทั้งการเร่งกระจายฉีดวัคซีน- ครม.เล็งคลอดมาตรการกระตุ้นบริโภคครัวเรือน จับตาโอเปก 1 มิ.ย.นี้ เพิ่มหรือลดกำลังการผลิตน้ำมัน คาดกรอบเคลื่อนไหวดัชนี 1,560- 1,600 จุด แนะหุ้นรับอานิสงส์วัคซีนโควิด

นายฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า ( 31 พ.ค.-4 มิ.ย.) แนวโน้มทิศทางบวก หรือปรับขึ้นต่อ ซึ่งจากการประเมิน ปัจจัยแวดล้อมที่กดดันตลาดหุ้นโดยรวมลดลงสะท้อนจากสัปดาห์ที่แล้ว  ทั้งความกังวลเงินเฟ้อสหรัฐที่พุ่งขึ้น ได้ผ่อนคลายลงช่วงสั้น หลังจากสัปดาห์ที่แล้วตลอดทั้งอาทิตย์ ประธาน Fed หลายสาขา ออกมาให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าสหรัฐ ยังต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย   (สิ่งที่ตลาดให้น้ำหนักสุดคือ การประชุม Fed  15-16 มิ.ย.) 


ขณะที่แรงกดดันจากกองทุนทั้งไทยและต่างประเทศปรับพอร์ตตาม MSCI เสร็จสิ้นลงในปลายสัปดาห์ที่แล้ว  โดยจากสถิติ 3 รอบหลังสุด ในวันที่มีการ Rebalance หลังจากผ่านช่วง 1 สัปดาห์ให้หลัง ตลาดหุ้น SET index จะปรับตัวขึ้นได้ดีเสมอ และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 5.1%  เชื่อว่าในรอบนี้ (ประเมินว่ารอบนี่มีโอกาสเกิดขึ้นคล้ายในอดีต)


ทั้งนี้หากพิจารณาจากปัจจัยสำคัญตลอดทั้งสัปดาห์  มีปัจจัยบวกตลาดเริ่มตั้งแต่ 1 มิ.ย. (วันอังคาร) ตลาดให้น้ำหนักการประชุม OPEC meeting ตลาดรอการส่งสัญญาณ การเพิ่มหรือตัดลดกำลังการผลิตน้ำมันในกลุ่มจะเป็นอย่างไร ??(หลังจากแนวโน้ม supply น้ำมันจากอิหร่าน จะออกมาเพิ่มขึ้น)  ซึ่งจะมีผลต่อแนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลก   และหุ้นกลุ่มพลังงาน อาทิ PTTPTTEP   หากออกมาในโทนยังตัดลดการผลิตต่อ หรือ ตัดลดเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ถือเป็นบวกต่อราคาน้ำมันดิบ ซึ่งจะบวกต่อหุ้นหลังงาน และ SET index เนื่องจากตลาดหุ้นไทยมีโครงสร้าง คือ หุ้น 1 ใน 3 เป็นกลุ่มพลังงานและกลั่มปิโตรเคมี


ในวันเดียวกัน ในไทยมีการระชุมครม. จะมีการพิจารณาอนุมัติ มาตรการกระตุ้นการบริโภคครัวเรือนที่เคยพูดถึงในช่วงก่อนหน้า  ทั้งคนละครึ่งเฟส 3 , มาตรการยิ่งช็อปยิ่งได้ ถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นค้าปลีก อาทิ  CPALLMAKRO,  BJC , SPVI   


อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งอาทิตย์ เชื่อว่าตลาดจะเริ่มมีมุมมองเชิงบวกหนุนจาก การเร่งกระจายวัคซีนโควิด ล็อตใหญ่ที่จะเร่งออกมาตั้งแต่เดือน มิ.ย. เป็นต้นไปจนถึงสิ้นปีประกอ บ กับกระแส จำนวนผู้ฉีดวัคซีนมากขึ้นจำนวนผู้ลงทะเบียนขอรับการฉีด Vaccine ที่มีแนวโน้มมากขึ้น โดยรวมยังเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นเปิดเมือง น่าจะ out perform เช่น กลุ่มสายการบิน (AOT) กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม (MINT


กลุ่มค้าปลีก (CPALL ,CRC, BJC ,SPVI), กลุ่มธนาคาร (KBANK, BBL), กลุ่มบันเทิง (MAJOR) และปลายอาทิตย์ ติดตามตัวเลขการจ้างงานสหรัฐ อาทิ อัตราการว่างงาน ฯลฯ และไทย   โดยรวมประเมินว่า SET Index ทั้งสัปดาห์จะแกว่งตัว (Side Way) ในกรอบ 1,560- 1,600 จุด  แนะนำลงทุนหุ้นที่ไ้ด้ประโยชน์จากการทยอยฉีดวัคซีน  


โบรกมองหุ้นไทยไปต่อ!  อานิสงส์กระจายวัคซีน-ลุ้นรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม


เริ่มที่หุ้น MINT (FV @ 34.00) แนวโน้มขาดทุนเริ่มลดลงช่วง 2H64 หลังวัคซีน COVID-19 กระจายครอบคลุมประชากรในยุโรปมากขึ้น เอื้อต่อ NH Hotel ที่ฐานลูกค้าเป็น Domestic ราว 70%- 75%นอกจากนี้ MINT เตรียมทำ Asset rotation ผ่านสินทรัพย์ของ NH Hotel ช่วง 2Q - 3064 เชื่อว่าจะได้รับเงินสดสุทธิอย่างน้อย 200 ล้านยูโร ช่วยเสริมสถานะการเงินของ NH Hotel แข็งแกร่งขึ้นอีกทั้งราคาหุ้น MINT ยัง Laggard SET Indexโดยตั้งแต่ เม่.ย. 64 จนถึง 27 พ.ค.64 ปรับตัวลง1.6% มากกว่า SET ที่ปรับตัวลง 0.2% ถือว่าตอบรับปัจจัยลบมากพอสมควร



ตามติดด้วย CPALL (FV @ 74.00) การลงทะเบียน ฉีดวัคซีนทาง 7-Eleven และการต่อสัญญาตั้ง7-Eleven ในสถานีบริการน้ำมันอีก 10 ปี ถือเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาหุ้นในช่วงนี้ ขณะที่แนวโน้มกำไรงวด 2Q64 ธุรกิจค้าปลีกทั้งหมดยังน่าจะ คาดหวังการฟื้นตัวลำบาก แต่เชื่อว่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว โดยนับจากงวด 2H64 คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังการกระจายวัคซีน คาดหนุนกำลังซื้อ+ท่องเที่ยวทยอยกลับมาอีกครั้ง


 ปิดท้ายที่  KBANK (FV @ 155.00) หลังจากหมดแรงกดดันจากการปรับพอร์ตตาม MSCI บวกกับตัวธุรกิจได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นตัวเป็นลำดับต้นๆ ทำให้ KBANK กลับมาน้ำสนใจอีกครั้งโดยลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ ณ สิ้นงวด1Q64 อยู่ที่ 14% ของพอร์ตสินเชื่อ (3.2 แสนล้านบาท) ลดลงจาก 19% ของพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2563 ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในการบริหารจัดการ ด้าน Credit Cost ยังสอดคล้องกับประมาณการทั้งปี และเชื่อว่ายังมีความเป็นไปได้หลัง 5.พ. เปิดเผยว่าลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการฯ ตั้งแต่เริ่มมาตรการฯ มีความเสี่ยงอยู่ราว 6 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าตัวเลข Sensitivity แม้เผชิญการระบาดระลอกใหม่






ข่าวแนะนำ