TNN online มาตรการช่วยเหลือรายย่อย เฟส 3 แบงก์ชาติ เพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้ได้แค่ไหน?

TNN ONLINE

Wealth

มาตรการช่วยเหลือรายย่อย เฟส 3 แบงก์ชาติ เพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้ได้แค่ไหน?

มาตรการช่วยเหลือรายย่อย เฟส 3 แบงก์ชาติ เพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้ได้แค่ไหน?

วิเคราะห์ มาตรการช่วยเหลือรายย่อย เฟส 3 เพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้บริหารจัดการหนี้ อย่างไรบ้าง?

ก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยรอบ 3 ออกมาแล้ว  โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นลูกหนี้ส่วนบุคคล  ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้เปิดเผยรายงานวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวที่น่าสนใจ

โดยอันดับแรก ก่อนเข้าพบหมอหนี้ นั้น ขอให้เราตรวจสอบสิทธิและคัดกรองอาการหนี้ของตนเองเบื้องต้น ดังนี้

- ไม่เป็นหนี้ NPL (ค้างชำระหนี้ติดกัน 3 เดือน) ก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2563 หรือก่อนโควิด 19 ระบาดในไทย 

- ในส่วนผู้ที่เคยเข้ามาตรการรอบแรกและรอบ 2 แล้ว มีสิทธิขอเข้ามาตรการรอบ 3 ได้ใหม่ ถ้าประสบภาวะรายได้ติดขัดและเริ่มมีปัญหาการชำระหนี้หรืออาจมีปัญหาในระยะใกล้ โดยให้ยื่นขอเข้ามาตรการรอบ 3 ก่อนสิ้นปีนี้

- ผู้ที่กู้ซื้อบ้าน สำรวจตัวเองว่า เรามีหนี้บัตร-หนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีประกันอยู่ในสถาบันการเงินเดียวกับที่กู้ซื้อบ้านหรือไม่ ถ้ามี-ให้เจรจาขอรวมหนี้ ซึ่งถ้ามูลหนี้รวมไม่เกินมูลค่าบ้านจะช่วยลดภาระการผ่อนรวมลงได้มากและยาวนาน จากทั้งการลดดอกเบี้ย (หนี้บัตร-สินเชื่อส่วนบุคคล ดอกเบี้ย 16% และ 25% แต่หนี้ที่รวมกับสินเชื่อบ้านจะเสียดอกเบี้ยไม่เกินอัตราดอกเบี้ย MRR) และยังสามารถขอคุยกับสถาบันการเงินเพื่อยืดอายุการคืนหนี้ออกไปได้ นอกจากนี้ มาตรการรอบ 3 ที่ช่วยเหลือลูกหนี้กู้ซื้อบ้าน ยังมีทางเลือกที่จะขอลดค่างวดในช่วงแรกและทยอยส่งค่างวดเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดในภายหน้าตามความสามารถในการจ่าย ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระการผ่อนในช่วงวิกฤติโควิด 19 และรักษาสถานะการเป็นหนี้ดีได้

มาตรการช่วยเหลือรายย่อย เฟส 3 แบงก์ชาติ เพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้ได้แค่ไหน?

 สำหรับมาตรการช่วยเหลือหนี้บัตรและหนี้ส่วนบุคคลรอบ 3 นี้ เหนือกว่าเดิมตรงที่สามารถเปลี่ยนเป็นหนี้ระยะยาวได้นานขึ้น จากเดิมสูงสุด 48 งวด และอาจขอลดดอกเบี้ยลงได้บางส่วน อย่างไรก็ดี กรณีหนี้บัตรและหนี้ส่วนบุคคล ยังมีช่องทางอื่นในการขอความช่วยเหลือ ที่อาจแก้ปัญหาได้เช่นกัน อาทิ 

• โครงการ “คลินิกแก้หนี้ by SAM" 

ซึ่งโครงการนี้เหมาะสำหรับลูกหนี้ที่เป็น NPL ก่อน 1 กุมภาพันธ์ 2564 และมีหนี้กับหลายสถาบันการเงินแต่รวมกันไม่เกิน 2 ล้านบาท ข้อดีคือรวมภาระหนี้ เสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำ และผ่อนนานสูงสุด 10 ปี

• โครงการ “มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้" ของแบงก์ชาติ

เป็นโครงการที่เปิดให้ลูกหนี้ทุกสถานะ แต่ต้องเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งลูกหนี้ดีจะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการช่วยเหลือรายย่อยระยะที่ 3 แต่ถ้าเป็นหนี้ NPL ทั้งที่ยังไม่ถูกฟ้องและถูกฟ้องศาลตัดสินแล้ว จะได้รับการดูแลเช่นกัน โดยจ่ายเฉพาะเงินต้น ผ่อนนาน และอาจมีเงื่อนไขผ่อนปรนให้กับดอกเบี้ยที่ค้างเมื่อผ่อนครบ ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง (สมัครได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2564)


 ด้านสินเชื่อจำนำทะเบียนรถตามมาตรการรายย่อยระยะ 3  นอกจากขอพักชำระค่างวดชั่วคราวแล้ว ยังเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับลูกหนี้ที่จำนำทะเบียนรถยนต์ สามารถคืนรถเพื่อเคลียร์หนี้ แต่ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ เพราะโดยปกติวงเงินสินเชื่อที่ได้รับจะต่ำกว่ามูลค่าหลักประกันค่อนข้างมาก ดังนั้น ถ้ารู้ตัวว่ารายได้มีความไม่แน่นอนและคงส่งค่างวดไม่ได้ อาจหาวิธีเสนอขายรถด้วยตนเองเพื่อให้ได้ราคาที่ดีกว่า เผื่อมีเงินเหลือหลังจากคืนหนี้ครบแล้ว


 ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อรถที่ขอเข้ามาตรการรายย่อยระยะ 3  แบงก์ชาติได้ยกระดับการดูแลลูกหนี้มากขึ้นจากการกำหนดวิธีคิดดอกเบี้ย ซึ่งมีผลช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้จริงในช่วงที่ขอผ่อนผันการจ่ายค่างวด ดังนี้

• การพักค่างวด โดยให้ยกเว้นดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยบนค่างวดที่พัก (เดิมคิดบนหนี้คงค้าง)

• การลดค่างวด-ขยายเวลา  โดยให้ดอกเบี้ยตลอดสัญญาต้องเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามสัญญาเดิม (Effective Interest Rate: EIR) จากเดิมที่ไม่มีข้อกำหนดนี้ ทำให้ในทางปฏิบัติ เมื่อลูกหนี้เลือกรับความช่วยเหลือในรูปของการลดค่างวดหรือขยายเวลา ก็จะไม่มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยตลอดช่วงระยะเวลาการผ่อนชำระใหม่นี้ 

มาตรการช่วยเหลือรายย่อย เฟส 3 แบงก์ชาติ เพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้ได้แค่ไหน? ขณะที่ การคืนรถโดยยกเว้นส่วนสูญเสีย และการปิดบัญชีสินเชื่อก่อนกำหนดได้ส่วนลดดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 50% ตามประกาศ สคบ. นั้น เป็นแนวทางที่ดำเนินอยู่แล้ว  แต่เนื่องจากการกู้ซื้อรถจากบริษัทลีสซิ่งที่ไม่ใช่สถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ จะอยู่ภายใต้กฎ สคบ. ซึ่งคุ้มครองเฉพาะลูกหนี้บุคคลที่เช่าซื้อรถเพื่อใช้ส่วนตัวเท่านั้น ทำให้ผู้กู้เช่าซื้อรถกับบริษัทลีสซิ่งที่มีวัตถุประสงค์การใช้รถเพื่อประโยชน์อื่น อาทิ กู้ซื้อรถแท็กซี่ส่วนบุคคล กู้ซื้อรถมอเตอร์ไซค์เพื่อเข้าวินรับจ้าง ยังเป็นกลุ่มที่อยู่นอกเหนือการดูแลของแบงก์ชาติ และ สคบ. ซึ่งลูกหนี้กลุ่มนี้จำเป็นต้องเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอความช่วยเหลือเป็นรายกรณีไป

ซึ่งจากการประกาศมาตรการข้างต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งทยอยปล่อยมาตรการพักชำระหนี้กันออกมาหลายรูปแบบ อาทิ ธนาคารกรุงศีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล  ได้แก่ การให้เปลี่ยนจากวงเงินหมุนเวียนเป็นผ่อนชำระค่างวด  ปรับลดเงินผ่อนชำระค่างวด  หรือแม้แต่การรวมหนี้ ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวมหนี้  ขณะที่กลุ่มลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน  ทั้งการให้พักชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) ,พักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน ลดค่างวด และรวมหนี้ ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวมหนี้ เป็นต้น 

มาตรการช่วยเหลือรายย่อย เฟส 3 แบงก์ชาติ เพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้ได้แค่ไหน?

ทั้งนี้ การขอรับความช่วยเหลือไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม ทำให้ลูกหนี้มีภาระในการจ่ายหนี้ระยะยาวยิ่งขึ้น ดังนั้น สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพ ก็ควรชำระหนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อปลดภาระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมจะดีกว่า ่ เพราะมันจะช่วยให้เรามีอิสระทางการเงิน และสามารถวางแผนเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความเสี่ยงในอนาคตได้ดียิ่งขึ้นด้วย 


..... "การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ "......เชื่อว่าคำนี้จะยังใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง