TNN online จีนและอินเดีย คาดหนุนความต้องการทองคำ

TNN ONLINE

Wealth

จีนและอินเดีย คาดหนุนความต้องการทองคำ

จีนและอินเดีย คาดหนุนความต้องการทองคำ

จีนและอินเดีย คาดหนุนความต้องการทองคำ โดยคุณธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฮั่วเซ่งเฮง

GOLD BULLISH

  • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐเปลี่ยนแนวทางเป็น Fast track
  • ความต้องการทองคำจากจีนและอินเดียในปีนี้คาดเพิ่มขึ้น
  • การผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ 

GOLD BEARISH

  • แนวโน้มราคาทองคำทางด้านเทคนิคยังเป็นขาลง
  • แรงเทขายทองคำของกองทุนอีทีเอฟทองคำ

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐเปลี่ยนเป็นแบบ Fast track

สัปดาห์ที่ผ่านมาสภาคองเกรสให้ความเห็นชอบต่อแนวทางการพิจารณาอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แบบ Fast track ซึ่งจะส่งผลให้วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรโหวตผ่านอนุมัติมาตรการดังกล่าว ด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง แทนที่จะใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 สำหรับการผ่านกฎหมายทั่วไป เมื่อพิจารณาดูจากคะแนนเสียงในวุฒิสภาของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน คือ 50:50 ส่วนคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน คือ 221:210 ทำให้มีลุ้นว่าการอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะง่ายขึ้น  ทางด้านนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐคาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรสได้ก่อนวันที่ 15 มีนาคมซึ่งมาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะหมดอายุ

จีนและอินเดีย คาดหนุนความต้องการทองคำ

ความต้องการทองคำจากจีนและอินเดียปีนี้คาดฟื้นตัว 

ความต้องการทองคำทั่วโลกในปี 2563 ลดลงต่ำสุดในรอบ 11 ปี เหลือ 3,759 ตัน ลดลง 14% เมื่อเทียบกับปี 2562 เนื่องจากวิกฤตโควิด-19  ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อความต้องการทองคำภาคเครื่องประดับที่ลดลง 34% โดยเฉพาะจีนและอินเดียที่เป็นประเทศบริโภคทองคำรายใหญ่อันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก ซึ่งในปี 2563 ความต้องการทองคำจากจีนและอินเดียลดลงถึง 35% และ 42% ตามลำดับ แต่สังเกตได้ว่าความต้องการทองคำของทั้ง 2 ประเทศฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ดังนั้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย จะส่งผลให้ความต้องการทองคำภาคเครื่องประดับปีนี้คาดจะเพิ่มขึ้น และช่วยผลักดันให้ความต้องการทองคำโดยรวมเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามความต้องการทองคำเพื่อการลงทุน เพิ่มขึ้นถึง 40% และเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนราคาทองคำในปี 2563 โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงซื้อทองคำจากกองทุนอีทีเอฟทองคำที่เพิ่มขึ้นถึง 120% หรือเพิ่มขึ้น 478 ตัน ขณะที่ในปีนี้คาดเผชิญแรงเทขายจากกองทุนอีทีเอฟทองคำ

ความต้องการทองคำภาคเครื่องประดับในปี 2563 (ตัน)

ประเทศ
ไตรมาส  1
    ไตรมาส 2
ไตรมาส  3
ไตรมาส  4
จีน
61.3
90.7
118.5
145.1
อินเดีย
73.9    
44.0
60.8
137.3

ที่มา : World Gold Council

แนวโน้มราคาทองคำในสัปดาห์นี้คาดจะเริ่มเคลื่อนไหวในกรอบแคบ การปรับขึ้นของราคาทองคำเริ่มมีกรอบที่จำกัด ทั้งนี้ทองคำมีปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ แต่คาดว่ายังมีขั้นตอนในการพิจารณาและอาจมีข้อโต้แย้งกันระหว่างสมาชิกสภาคองเกรส ประเด็นสำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การเปิดเผยรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ ความคืบหน้าของการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ส่วนปัจจัยลบคือแรงเทขายทองคำของกองทุนอีทีเอฟทองคำ ทั้งนี้ทองคำมีแนวรับ 1,800 ดอลลาร์ และ 1,784 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 1,850-1,855 ดอลลาร์ ส่วนราคาทองแท่งในประเทศมีแนวรับ 25,600 บาท และ 25,400 บาท ขณะที่มีแนวต้านที่ 26,150-26,200 บาท 

จีนและอินเดีย คาดหนุนความต้องการทองคำ
จีนและอินเดีย คาดหนุนความต้องการทองคำ



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง