TNN online เฟดตรึงดอกเบี้ยกดดอลลาร์อ่อนดันบาทแข็งขึ้นแท่นอันดับ3

TNN ONLINE

Wealth

เฟดตรึงดอกเบี้ยกดดอลลาร์อ่อนดันบาทแข็งขึ้นแท่นอันดับ3

เฟดตรึงดอกเบี้ยกดดอลลาร์อ่อนดันบาทแข็งขึ้นแท่นอันดับ3

"รุ่ง"ประเมินเงินบาทในสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวแตะระดับที่ 29.85- 30.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังเฟดส่งสัญญาณไม่ขึ้นดอกเบี้ยกดดอลลาร์อ่อนดันเงินตลาดเกิดใหม่รวมเงินบาทแข็งค่าขึ้นแท่นอันดับ 3

น.ส. รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้าคาดว่าจะเคลื่อนไหวแตะระดับที่ 29.85- 30.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ได้ส่งสัญญาณ ไม่ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการกดดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐให้อ่อนค่าลงหากเทียบกับตลาดโลกส่งผลให้ค่าเงินในตลาดภูมิภาคเอเชียและบาทแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) อาจเข้าไปดูแลค่าเงินบาท ไม่ให้มีการเเข่งค่ามากเกินไปทำให้ผู้ประกอบการส่งออก ไม่เสียเปรียบการค้าโลก  

" ธปท.อาจจะเข้าดูแลค่าเงินบาทตามความเหมาะสมหากค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป แต่ก็ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น หลังจากที่สหรัฐ  ขึ้นบัญชีไทยอยู่ในประเทศต้องจับตา 'บิดเบือนค่าเงิน' แม้ว่าที่ผ่านมาธปท.ชี้แจงว่าไม่ได้สร้างความได้เปรียบทางด้านการค้า โดยต้องการรักษาเสถียรภาพด้านการตลาด"

นอกจากนี้ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯเดือนธ.ค.ปรับตัวลดลง 0.7%   ซึ่งเป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 3 หลังจากพ.ย.ลดลง 1.4%  โดยยอดค้าปลีกพื้นฐานเดือนธ.ค.ไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร ดิ่งลง 1.9%  หลังจากพ.ย. ลดลง 1.1% สะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น และหันเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ดอลลาร์ และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

ขณะเดียวกันต้องติดตามนโยบายของนายโจ ไบเดนประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่หลังจากเข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ  ในวันที่ 20 ม.ค.นี้รวมถึงการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB)  สำหรับผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐหรือบอนด์ยิลด์ ในช่วงที่ผ่านมาได้ปรับตัวสูงขึ้น แต่ปัจจุบันเริ่มมีเสถียรภาพมากแล้ว หลังจากที่เฟดส่งสัญญาณไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยและการพัฒนาวัคซีนเริ่มมีความคืบหน้า

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. - ถึงวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมาพบว่าสกุลเงินส่วนใหญ่แข็งค่า โดยดอลลาร์-ไต้หวันแข็ง 0.85 % รูปี-อินเดีย 0.8% บาท-ไทย 0.27% เยน-ญี่ปุ่น 0.25 % หยวน-จีน  0.1% เปโซ-ฟิลิปปินส์ 0.07%  ยกเว้นวอน-เกาหลีใต้  0.75%  ริงกิต-มาเลเซีย 0.15% รูเปียห์-อินโดนีเซีย 0.09% และดอลลาร์- สิงคโปร์อ่อนค่า 0.02% 

ส่วนปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่ามาจากแรงขายดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออกเนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า  ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องทำให้มีการเทขายทำกำไร ส่วนภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.-ถึง 14 ม.ค.ที่ผ่านมาพบว่า ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย  1,200 ล้านบาทขายสุทธิพันธบัตร 4,900 ล้านบาท ซึ่งหากมีการขายพันธบัตรออกมาอย่างต่อเนื่องจะทำให้ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลง




เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ