TNN online เปิดคำทำนายอีก 2 เดือน สายการบินทั่วโลกจะล้มละลาย

TNN ONLINE

Wealth

เปิดคำทำนายอีก 2 เดือน สายการบินทั่วโลกจะล้มละลาย

เปิดคำทำนายอีก 2 เดือน สายการบินทั่วโลกจะล้มละลาย

ความเคลื่อนไหวของสายการบันทั่วโลกกันอีกสักครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าหลายประเทศได้คลายล็อกดาวลง แต่ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจโดยเฉพาะสายการบินจะกลับมาดำเนินการบินข้ามประเทศอย่างปกติได้

เมื่อวานนี้(19พ.ค.63) ในทีสุด ครม.ก็อนุมัติให้ การบินไทย ยื่นศาลฯ ขอฟื้นฟูกิจการ ลดสัดส่วนคลังถือหุ้นต่ำกว่า 50% หรือเหลือเพียง 48 % พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ  หลังจากนี้ก็เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู แต่การทำธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้ปกติ 

เปิดคำทำนายอีก 2 เดือน สายการบินทั่วโลกจะล้มละลาย

เรามาเช็คผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เรื่องการแก้ปัญหาบริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน คร่าวๆก่อนว่าเป็นอย่างไร  

          -ครม.เห็นชอบตามมติของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ในการฟื้นฟูบริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน ด้วยการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย

          -เห็นชอบให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัทการบินไทย จากร้อยละ 51 เหลือร้อยละ 48 เพื่อให้บริษัทการบินไทย พ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยมาตรฐานคุณสมบัติของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ

          -สัดส่วนหุ้นที่ลดลงขายให้กับกองทุนวายุภักษ์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ของกระทรวงการคลัง

          -บริษัทการบินไทย จะต้องส่งเรื่องให้ศาลล้มละลายกลาง ขอจัดทำแผนฟื้นฟู เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการมืออาชีพ

          -เมื่อศาลล้มละลายกลาง รับคำร้องแล้ว จะส่งเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์เข้าไปดูแลกิจการ

          -บริษัทการบินไทย เสนอจัดทำแผนฟื้นฟูและผู้ทำแผนให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน

          -เมื่อเจ้าหนี้เห็นชอบตามแผนฟื้นฟูที่เสนอมาแล้ว ศาลล้มละลายกลาง จะให้หาผู้บริหารชุดใหม่ทำงานแทนคณะกรรมการบริหารชุดเดิม

เปิดคำทำนายอีก 2 เดือน สายการบินทั่วโลกจะล้มละลาย


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  บอกว่า  เป็นการช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนทุกคน   ช่วยพนักงานบริษัทการบินไทยกว่า 20,000 คน ไม่ให้ตกงาน เพราะเชื่อว่าทุกคนไม่อยากเห็นเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น    เชื่อมั่นว่า จะทำให้บริษัทการบินไทย กลับมาเป็นสายการบินแห่งชาติอีกครั้ง

การที่  “การบินไทย”  เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายครั้งนี้   ทำให้ การบินไทย อยู่ในสถานะ “พักชำระหนี้” (automatic stay) นั่นหมายความว่า เจ้าหนี้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน หรือ ผู้ถือหุ้นกู้ จะยังไม่ได้รับ “เงินต้น” หรือแม้แต่ “ดอกเบี้ย” จากการบินไทยในระหว่างที่ฟื้นฟูกิจการอยู่ ที่สำคัญอาจต้องถูก “แฮร์คัทหนี้” หรือแม้แต่การ “แปลงหนี้เป็นทุน” ในบางส่วนด้วย

ก่อนหน้านี้  CAPA Centre for Aviation บริษัทข่าวกรองด้านการตลาดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวระดับโลก  ออกรายงานที่วิเคราะห์และคาดการณ์ว่า ธุรกิจสายการบินทั่วโลกส่วนใหญ่จะล้มละลายภายในสิ้นสุดเดือนพฤษภาคมนี้ เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ที่ส่งผลสืบเนื่องอย่างหนักหน่วงร่วมกับการที่รัฐบาลหลายแห่งในโลกระงับการเดินทางทางอากาศ

เปิดคำทำนายอีก 2 เดือน สายการบินทั่วโลกจะล้มละลาย

สถานการณ์ของธุรกิจการบินทั่วโลกแสดงอาการแย่มาตั้งแต่ต้นปี 2020 นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสในช่วงแรกเริ่มส่งผลให้มูลค่าหุ้นของหลายสายการบินลดต่ำลงกว่า 50% หลังจากนั้นเมื่อผนวกรวมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ได้กลายเป็นการระบาดใหญ่ระดับโลกในปัจจุบันจึงทำให้อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ปัจจัยข้างต้นเหล่านี้ที่ทวีคูณความรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการบิน 


CAPA วิเคราะห์ว่า เอาเข้าจริงแล้วตอนนี้ มีสายการบินจำนวนไม่น้อยที่ได้ล้มละลายไปแล้วในเชิงเทคนิค และรวมถึงอีกหลายสายการบินที่ย่อมจะผิดนัดชำระหนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากเงินสำรองกำลังร่อยหรอลงอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีผู้คนเดินทาง จำนวนการจองตั๋วลดลงฮวบฮาบ

รายงานฉบับนี้ชี้ว่าหนทางเดียวที่ธุรกิจการบินจะอยู่รอดได้คือรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมการบินต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ถ้าไม่อยากให้หายนะมาเยือน 

จากข้อมูลของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) พบว่า เกือบสองในสามของเครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลกที่มีอยู่ทั้งหมด 26,000 ลำต้องยุติการบิน ส่งผลให้พนักงานสายการบินทั่วโลกราว 25 ล้านคนเสี่ยงจะได้รับผลกระทบ และในปีนี้สายการบินทั่วโลกจะมีรายได้จากการขายตั๋วลดลง 314,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และครึ่งหนึ่งของสายการบินเหล่านี้จะต้องพบกับการล้มละลายภายใน 2-3 เดือนข้างหน้านี้ หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล

เปิดคำทำนายอีก 2 เดือน สายการบินทั่วโลกจะล้มละลาย


ล่าของล่าสุด เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา สายการบินเอมิเรตส์ เตรียมที่จะตัดลดพนักงานลงถึง 30,000 ตำแหน่ง เพื่อลดตั้นทุนลง ในช่วงเวลาวิกฤตเชื้อโควิด-19 แพร่ระบาด ซึ่งนั่นจะส่งผลให้พนักงานของสายการบินลดจำนวนลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ จากที่เคยมีพนักงานากกว่า 105,000 ตำแหน่งในช่วงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  นับถอยหลังไป วิกฤติการบินโลกสายการบินใดบ้าง  ที่ประสบกับปัญหาความรุนแรงของความเสียหายในธุรกิจการบินชัดเจนขึ้นหลังจากสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปอย่าง Flybe ของอังกฤษเงินขาดมือจนต้องประกาศล้มละลายเมื่อต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ไม่ถึง 2 เดือนหลังจากบริษัทสามารถตกลงเงื่อนไขรับมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษ ส่งผลให้พนักงานราว 2,400 ชีวิตถูกลอยแพ

มาถึงสายการบิน Virgen  Australia ของมหาเศรษฐีอารมร์ดี ริชาร์ด แบรนด์สัน ที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของออสเตรเลียกลายเป็นสายการบินแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลายเมื่อวันที่ 21 เม.ย. หลังจากรัฐบาลออสเตรเลียไม่อนุมัติเงินกู้ ต้องตัดลดพนักงานราว 8,000-10,000 ตำแหน่งทั้งพนักงานที่ไม่จำเป็นและการเลย์ออฟชั่วคราว

ส่วน สายการบิน Virgin Atlantic สายการบินสัญชาติอังกฤษซึ่งเป็นของแบรนสันเช่นกันก็ตกอยู่ในชะตาเดียวกันหลังจากรัฐบาลอังกฤษไม่อนุมัติเงินกู้ ทางสายการบินประกาศว่าจะปลดพนักงาน 3,150 ตำแหน่ง หรือราว 1 ใน 3 ของพนักงานทั้งหมด และจะหยุดให้บริการที่สนามบินแกตวิกในกรุงลอนดอนของอังกฤษ

IAG บริษัทแม่ของสายการบิน British Airways ที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ประสบภาวะขาดทุนจากการประกอบการถึง 535 ล้านยูโร หรือราว 18,713 ล้านบาทในไตรมาสแรก ทำให้สายการบิน British Airways ประกาศปลดพนักงาน 12,000 คน หลังจากพักงานไปก่อนหน้านี้แล้ว 23,000 คน


เปิดคำทำนายอีก 2 เดือน สายการบินทั่วโลกจะล้มละลาย

มาถึงสายการบิน Norwegian Air ของนอร์เวย์ หยุดบินราว 95% ของเส้นทางการบินทั้งหมดตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. และจะฟื้นตัวกลับมาบินเต็มที่ในปี 2022 ส่งผลให้ทางสายการบินต้องประกาศให้บริษัทนักบินและลูกเรือทั้งในเดนมาร์กและสวีเดนเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย กระทบกับนักบิน 1,500 คน และพนักงานต้อนรับกว่า 3,000 คน   

สายการบิน Scandinavian Airlines ยกเลิกเที่ยวบินส่วนใหญ่ในเดือน เม.ย. ตัดลดพนักงาน 5,000 ตำแหน่ง หรือราว 40% ของพนักงานทั้งหมด เบื้องต้นรัฐบาลสวีเดนและเดนมาร์กอนุมัติค้ำประกันเงินกู้ 3,000 ล้านโครน หรือราว 9,466 ล้านบาท และ 146 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4,712 ล้านบาทจากนอร์เวย์

สายการบิน Air France-KLM ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ถือหุ้นอยู่ประเทศละ 14% ขาดทุนในไตรมาสแรกของปีนี้ถึง 1,800 ล้านยูโร มีแผนจะลดพนักงานราว 1,500-2,000 ตำแหน่งจากทั้งหมด 35,000 ตำแหน่ง รวมทั้งลดการบินอย่างน้อย 30% ในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้

สายการบิน United Airlines สายการบินชั้นนำของสหรัฐมีแผนเลย์ออฟพนักงานระดับผู้บริหารราว 30% หรือราว 3,450 คน และคาดว่านักบินอาจตกงานราว 12,250 คน ขณะที่รัฐบาลสหรัฐปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่สายการบิน 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และทางสายการบินจะกู้เพิ่มจากกระทรวงการคลังอีก 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนสายการบิน Alitalia ของอิตาลีที่ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องยื่นล้มละลายตั้งแต่ปี 2017 ถูกมรสุมไวรัสกระหน่ำซ้ำจากมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้เที่ยวบินต่างระเทศลดลง 22% และเตรียมจะปลดพนักงานกว่า 6,800 คน จนรัฐบาลอิตาลีต้องอัดฉีดเงิน 500 ล้านยูโรเพื่อพยุงไม่ให้ล้มโดยแลกกับการเปลี่ยนสายการบินให้เป็นของรัฐ

มาดู  Air Canada  สายการบินที่ใหญ่ที่สุดของแคนาดา ขาดทุนในไตรมาสแรก 1,050 ล้านเหรียญแคนาดา เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ทำกำไร 345 ล้านเหรียญแคนาดา ส่งผลให้ต้องพักงานพนักงานแล้ว 36,000 คน ทางสายการบินมองว่าผลกระทบจาก Covid-19 จะอยู่ไปอย่างน้อย 3 ปี

เปิดคำทำนายอีก 2 เดือน สายการบินทั่วโลกจะล้มละลาย


วิกฤตธุรกิจการบินยังส่งผลสะเทือนไปถึงผู้ผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่อย่างแอร์บัส ที่ต้องลดการผลิตเครื่องบินลง 1 ใน 3 เมื่อช่วงต้นเดือน เม.ย. เนื่องจากสายการบินต่างๆ โดยเฉพาะ British Airways ที่ยุติการสั่งเครื่องบินใหม่ ส่งผลให้แอร์บัสขาดทุนในไตรมาสแรก 481 ล้านยูโร จนต้องสั่งพักงานทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศสราว 6,200 คน

ฝั่งโบอิ้ง ผู้ผลิตเครื่องบินของสหรัฐเจอมรสุมหนักหน่วงไม่แพ้กัน  โดยไตรมาสแรกของปีนี้ขาดทุนถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ  ก็ต้องปลดพนักงาน 10% ของทั้งหมดที่มีอยู่ 160,000 คน หรือลดลง 16,000 คน รวมทั้งต้องหั่นตัวเลขการผลิตเครื่องบินรุ่นยอดนิยม รวมทั้ง 787 และ 777 เพราะคำสั่งซื้อหดหาย

เดวิด คาลฮูน ซีอีโอโบอิ้งเผยว่า “ธุรกิจการบินต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าการเดินทางจะกลับมาเป็นเหมือนช่วงก่อน Covid-19 ระบาด” ส่วน กีโยม โฟรี ซีอีโอแอร์บัสเผยว่า อาจต้องใช้เวลาราว 3-5 ปีในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้โดยสารให้กลับมาเดินทางด้วยเครื่องบินในอัตราเดียวกับช่วงก่อนเชื้อโคโรนาไวรัสระบาด “ขณะนี้เราอยู่ท่ามกลางวิกฤตที่หนักที่สุดของธุรกิจการบินเคยพบมา” อย่างที่ วอร์เรน บัฟเฟต มหาเศรษฐีนักลงทุนกล่าวถึงธุรกิจสายการบินไว้ว่า “โลกเปลี่ยนไปแล้วสำหรับสายการบิน”

อย่างไรก็ตามหากมองโลกให้สวยงามกว่านี้ ที่ยึดคติที่บอกว่า ทุกคนทุกสายการบินก็ประสบปัญหาเหมือนกันทั้งหมดทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะสายการบินไทย อย่างเดียว  เกือบ 20 เปอร์เซ็นของสายการบินทั่วโลกก็ผ่านจุดล้มละลายมาแล้วทั้งนั้น แล้วก็กลับมาดำเนินการกิจการต่อได้อีก  รอสักนิดหนึ่งแผลที่ผ่าตัดมันก็จะแห้งและหาย ก็กลับมาเดินเหินได้สะดวกสบายอีกครั้ง    และน่าจะขอบคุณ COVID -19 มากกว่าที่ทำให้โลกนี้สะอาดขึ้นดีขึ้น  

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม รายการ "เศรษฐกิจ Insight" วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2563

 https://www.youtube.com/watch?v=AWR7XjKyUpE

เกาะติดข่าวที่นี่ 

website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand





ข่าวแนะนำ