TNN online เจาะลึก กองทุน "BSF" อุ้มหุ้นกู้เอกชนในตลาดแรก

TNN ONLINE

Wealth

เจาะลึก กองทุน "BSF" อุ้มหุ้นกู้เอกชนในตลาดแรก

เจาะลึก กองทุน BSF  อุ้มหุ้นกู้เอกชนในตลาดแรก

เจาะลึก กองทุน "BSF" ที่แบงก์ชาติดำเนินการ "แทรกแซง" ตลาดตราสารหนี้โดยการเข้าซื้อตราสารหนี้เอกชน หรือ หุ้นกู้โดยตรงใน "ตลาดแรก"

รายการเศรษฐกิจ Insight  วิเคราะห์ การตั้ง“กองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน” ( BSF)  หลังการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และความผันผวนที่สูงขึ้นมากในตลาดการเงินโลก ส่งผลต่อเนื่องมายังตลาดการเงินไทย ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนบางส่วนได้เทขายตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อ “ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน” ซึ่งเป็นช่องทางการออมที่สำคัญของประชาชนและการระดมทุนของภาคธุรกิจ

เจาะลึก กองทุน BSF  อุ้มหุ้นกู้เอกชนในตลาดแรก

ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทย มียอดคงค้างประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท หรือกว่าร้อยละ 20 ของ GDP ทั้งนี้ หากกลไกตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนไม่สามารถทำงานได้ปกติ หรือผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน การระดมทุนหรือต่ออายุหนี้ (rollover) ของธุรกิจจะทำได้ยาก 

เจาะลึก กองทุน BSF  อุ้มหุ้นกู้เอกชนในตลาดแรก


แม้ธุรกิจที่มั่นคงก็อาจจะไม่สามารถระดมทุนได้ หรือต้องระดมทุนด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นมาก จึงมีความเสี่ยงที่ปัญหาการขาดสภาพคล่องจะลุกลามในวงกว้าง เป็นปัญหา “เชิงระบบ” ตามมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ออมเงินผ่านตัวกลางต่าง ๆ ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน อาทิ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคมด้วย

เพื่อดูแลเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและกลไกของตลาดการเงินให้ทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ และกระทรวงการคลังจัดตั้ง “กองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน  (Corporate Bond Stabilization Fund: BSF)  วงเงิน 4 แสนล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองชั่วคราว (bridge financing) สำหรับเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีคุณภาพดีที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระในช่วงปี 2563–2564 

เจาะลึก กองทุน BSF  อุ้มหุ้นกู้เอกชนในตลาดแรก

สำหรับบริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ  จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขคือ ต้องระดมทุนส่วนใหญ่ได้จากแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้เงินธนาคารพาณิชย์หรือการเพิ่มทุน ต้องมีแผนการจัดหาทุนในระยะยาวที่ชัดเจน รวมทั้งต้องผ่านเกณฑ์และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับกองทุนกำหนด 

ทั้งนี้ หากผู้ออกตราสารหนี้เสนอขายตราสารหนี้ต่อนักลงทุนทั่วไปและมีการให้หลักประกันแก่ผู้ถือ ตราสารหนี้ที่กองทุน BFS จะลงทุนในคราวเดียวกันต้องมีหลักประกันไม่ด้อยกว่าหลักประกันที่ให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้อื่น  และอีกประการคือจะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราตลาด 

เจาะลึก กองทุน BSF  อุ้มหุ้นกู้เอกชนในตลาดแรก


ติดตามรายการเศรษฐกิจ Insight  https://www.youtube.com/watch?v=iAjACcy0o6E&t=200s



เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ