TNN online วิกฤตหนี้ครัวเรือนทั่วโลก ภัยเงียบกดดันกำลังซื้อ

TNN ONLINE

Wealth

วิกฤตหนี้ครัวเรือนทั่วโลก ภัยเงียบกดดันกำลังซื้อ

วิกฤตหนี้ครัวเรือนทั่วโลก ภัยเงียบกดดันกำลังซื้อ

ภาวะหนี้ครัวเรือนลุกลามทั่วโลก ท่ามกลางความกังวลเป็นภัยเงียบ เนื่องจากปัจจัยลบที่กดดันกำลังซื้อ

ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น อาจเรียกได้ว่าเป็น "ปัญหาสากล" ที่ทั่วถึงกันหมด เพราะมีปัจจัยกระตุ้นสำคัญก็คือ วิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐในช่วง 10 ปีก่อน ที่ทำให้ทั่วโลกเปลี่ยนมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เช่น ในสหรัฐ ที่เหลือ 0 - 0.25% มานานเกือบ 10 ปี หรือจะเป็นการที่แบงก์ชาติเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องในระบบ 

จากเดิมที่กำลังซื้อถูกกดดันหนักในยุควิกฤตเศรษฐกิจ แต่พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยที่ "ดอกเบี้ยยังถูกเหมือนเดิม" หรือขยับขึ้นแค่เล็กน้อย ก็ทำให้ภาวะหนี้ครัวเรือนในหลายๆ ประเทศสูงขึ้นเป็นเงาตามไปด้วยและหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นนี่เอง ที่กำลังกดดันหลายประเทศท่ามกลางภาวะสงครามการค้าที่ยังยืดเยื้อ

ในฝั่งเอเชียนั้น หนี้ครัวเรือนที่พุ่งใน จีน เกาหลีใต้ ไทย และ มาเลเซีย กำลังกดดันการเติบโตในช่วงครึ่งปีหลังนี้   

"ออสเตรเลีย" - หากรวมภูมิภาคแปซิฟิกด้วยแล้ว ออสเตรเลียจะได้ชื่อว่ามีหนี้ครัวเรือนสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 และยังถือเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยเป็นรองเพียงสวิตเซอร์แลนด์เท่านั้น ปัญหาหลักๆ ของหนี้ครัวเรือนในออสเตรเลียก็คือ "สินเชื่อบ้าน" ในฐานะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในออสเตรเลียร้อนแรงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และติดทำเนียบความดัชนีความเสี่ยงฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่จัดทำโดยยูบีเอส มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยมีแรงซื้อจากกลุ่ม "ชาวจีน" เป็นหลัก

ที่ผ่านมา ออสเตรเลียไม่ได้เน้นคุมหนี้ครัวเรือนเป็นพิเศษ เพราะต้องไม่ลืมว่าหนี้ครัวเรือนนั้นยังผกผันตามรายได้คนในประเทศด้วย แม้ออสเตรเลียจะมีหนี้สูง แต่เขาก็เป็นประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วที่รายได้เขาก็สูงไปด้วย หากดูจากกราฟนี้อีกทีจะเห็นว่า GDP ต่อหัวของเขาก็สูงมากเมื่อเทียบประเทสอื่นๆ ในภูมิภาค ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลเข้าไปจัดการก่อหน้านี้ก็คือ การคุมความเสี่ยงฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ โดยเข้าไปจัดการเรื่องเกณฑ์ต่างๆ คุมการซื้อบ้านหลังที่ 2 ที่ 3 หรือเพิ่มค่าอากร เป็นต้น แต่ที่กำลังจะเป็นปัญหาเพิ่มก็คือ มันจะกดดันเรื่องการลดดอกเบี้ยรอบต่อไป ตามไปด้วย

เป็นที่ทราบแล้วว่า ออสเตรเลียลดดอกเบี้ยไปแล้วถึง 2 ครั้งในปีนี้ เพื่อหวังกระตุ้นเศรษบกิจเต็มสูบ จากผลกระทบของสงครามการค้า และยังมีการเปิดทางลดอีกครั้งต่อไปด้วย แต่ล่าสุด ธนาคารกลางออสเตรเลียเริ่มส่งสัญญาณมาแล้วว่า การลดดอกเบี้ยครั้งต่อไปอาจมีข้อจำกัด เพราะหนี้ครัวเรือนออสเตรเลียที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะเมื่อเทียบหนี้ต่อรายได้นั้น นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว ที่ 190% ทำให้แบงก์ชาติต้องเริ่มส่งสัญญาณแตะเบรกความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยครั้งต่อไปออกมา   

"เกาหลีใต้" เป็นประเทศที่ต่อสู้กับปัญหาหนี้ครัวเรือนมานาน แม้สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นในช่วงไตรมาสแรก เพราะอัตราการเร่ง หรือการขยายตัวของหนี้ครัวเรือน เริ่มชะลอตัวลงในไตรมาสแรกไปแล้ว แต่พอไตรมาส 2 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามการค้าเพิ่มเห็นผลรุนแรงขึ้น หนี้ครัวเรือนเกาหลีใต้ก็กลับมาเร่งเครื่องเร็วขึ้นอีก โดยอยู่ที่ 1.21 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกประมาณ 3.8 แสนล้านบาท 

วิกฤตหนี้ครัวเรือนทั่วโลก ภัยเงียบกดดันกำลังซื้อ

แต่หลังจากไตรมาส 2 อัตราการเร่งเครื่องก็ยิ่งเร็วขึ้นอีกในเดือน ก.ค. ซึ่งความตึงเครียดทางการค้ากับญี่ปุ่นเริ่มปรากฎขึ้น  ทำให้นักวิเคราะห์กังวลว่าจะเป็นตัวกดดันหนัก ในช่วงที่เกาหลีใต้จำเป็นต้องพึ่งพาการบริโภคภายในเพื่อกระตุ้นเศรษบกิจรับมือความผันผวนโลกพอดี 

ส่วน "จีน" เองนั้น แม้จะไม่ได้ติดกลุ่มท็อปของเอเชีย แต่การเร่งเครื่องขึ้นมาของหนี้ครัวเรือนจีนก็น่าห่วงไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะเมื่อเทียบหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ซึ่งทะยานขึ้นไปแตะ 92%  ณ สิ้นปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน  จาก 30% เมื่อปี 2008 และเกือบไปเทียบเท่ากับ "สหรัฐ" ที่ได้ชื่อว่าเป็นจ้าวแห่งการบริโภคของโลก ที่มีสัดส่วน 97% แล้ว

นักวิเคราะห์ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) มองว่า ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเร็วและแรงเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบกดดันเศรษบกิจ โดยทำให้ความพยายามของรัฐบาลที่จะกระตุ้นเศรษบกิจผ่านการบริโภคภายใน เพื่อรับมือกับศึกการค้าโลกนั้น อาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร 

คือ สินเชื่อบ้าน ซึ่งเป็น 1 ในหมวดหมู่สำคัญของหนี้ครัวเรือน ได้พุ่งสูงสุดทุบสถิติใหม่ โดยทำลายสถิติช่วงก่อนวิกฤตซับไพรม์เมื่อราว 10 ปีก่อน ไปเรียบร้อยแล้ว

จากข้อมูลธนาคารกลางสหรัฐ สาขานิวยอร์ก พบว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของชาวอเมริกันปรับตัวขึ้นอีก 162,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปเป็น 9.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยมากกว่า 280 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และทุบสถิติเดิมของไตรมาส 3 ปี 2008 เมื่อครั้งที่เกิดวิกฤตซับไพรม์ ซึ่งอยู่ที่ 9.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ การกดอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ระดับ 0 - 0.25% นานติดต่อกันมาหลายปี และเศรษฐกิจสหรัฐที่ทยอยฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นการก่อหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และแม้จะมีการทยอยขึ้นดอกเบี้ยมาในช่วง 2 - 3 ปีก่อนหน้านี้ แต่อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก โดยปัจจุบันอยู่ที่ 1.5 - 1.75%

ทั้งนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย นับเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดในหนี้ครัวเรือนสหรัฐ ซึ่งปรับขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 20 อยู่ที่ 13.86 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยยังคงเพิ่มขึ้นทำลายสถิติอย่างต่อเนื่อง และมากกว่าปริมาณหนี้ครัวเรือนในช่วงวิกฤตการณ์การเงินเมื่อปี 2008

หนี้กยศ.ที่มีการค้างชำระเกิน 90 วันสูงถึงเกือบ 10% เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากตอนปลายปี 2018 ที่อยู่ที่ราว 9% เท่านั้น ซึ่งเศรษฐกิจที่กำลังโดนกดดันด้วยความตึงเครียดสงครามการค้า ทำให้ความเป็นไปได้ที่ความสามารถชำระหนี้ของชาวอเมริกันจะลดลง และกระทบกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคอันเป็นส่วนขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจสหรัฐด้วย 




 







 





ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง