ยื่นภาษีครึ่งปี 2566 (ภ.ง.ด.94) เช็กที่นี่! ยื่นภายในวันที่เท่าไหร่-ใครบ้างต้องยื่น
ยื่นภาษีครึ่งปี 2566 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) เช็กที่นี่! ต้องยื่นภายในวันที่เท่าไหร่-ใครบ้างต้องยื่น
ยื่นภาษีครึ่งปี 2566 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) เช็กที่นี่! ต้องยื่นภายในวันที่เท่าไหร่-ใครบ้างต้องยื่น
ภ.ง.ด.94 คืออะไร ?
ภ.ง.ด. 94 คือ การยื่นภาษีรายได้ครึ่งปี ผู้ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) – 40 (8) สำหรับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) ถ้ามีรายได้ที่ต้องเสียภาษีในรอบครึ่งปีแรก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน
กำหนดการยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)
ผู้มีหน้าที่ยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) สามารถยื่นภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 9 ตุลาคม 2566
- แบบกระดาษ ภายใน 2 ตุลาคม 2566
-ช่องทางออนไลน์ e-Filing ภายใน 9 ตุลาคม 2566
ใครบ้างต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)
- คนโสด มีรายได้เกิน 60,000 บาท
- กรณีแต่งงาน มีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีรายได้เกิน 60,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีรายได้เกิน 60,000 บาท
- วิสาหกิจชุมชน มีรายได้เกิน 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท
- มีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
- วิชาชีพอิสระ
- รับเหมา
- รับจ้าง
- ซ่อมบำรุง
- ขายสินค้า
- ร้านอาหาร
- ผู้ค้าออนไลน์
- นักแสดง
- นักร้อง
- บริการอื่นๆ
ช่องทางการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ครึ่งปี
สำหรับช่องทางการ ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ครึ่งปี) มี 2 ทาง
- ช่องทางแรกยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร ในเวลาราชการ
- ช่องทางที่สองคือ การยื่นภาษีในช่องทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ทำไมต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ครึ่งปี
เป็นการบรรเทาภาระภาษี หากไม่มีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภ.ง.ด.94 จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้เป็นภาระสำหรับผู้มีเงินได้
ผู้มีเงินได้อายุ 65 ปี สามารถใช้สิทธิยกเว้นผู้สูงอายุ 190,000 บาท ได้หรือไม่
ผู้มีเงินได้มีอายุ 65 ปี ในปีภาษี สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาทได้ โดยกรอก รายการยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาท ในใบแสดงสิทธิการได้รับยกเว้นเงินได้ฯ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และยกยอดที่เหลือ (จำนวนเงินหลังจากหักเงินได้ยกเว้นแล้ว) ไปแสดงในแบบ ภ.ง.ด.94
การหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.94
ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนส่วนตัวได้จำนวนเท่าใดผู้มีเงินได้จะหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้จำนวน 30,000 บาท
ห้างหุ้นส่วนสามัญหักลดหย่อนผู้มีเงินได้จำนวนเท่าใด
กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ลดหย่อน จำนวน 30,000 บาทหรือ 60,000 บาท ตามกรณีดังต่อไปนี้
1. กรณีที่อยู่ในประเทศไทยเพียงคนเดียว ให้หักลดหย่อนจำนวน 30,000 บาท
2. กรณีที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 2 คนขั้นไป ให้หักลดหย่อนจำนวน 60,000 บาท
ข้อมูลจาก กรมสรรพากร
ภาพจาก AFP