วิกฤตธนาคารสหรัฐฯล้ม เปิดกฎหมาย "เงินฝาก" แบบไหน? ได้รับความคุ้มครอง

วิกฤต 3 ธนาคารสหรัฐอเมริกาล้ม เปิดกฎหมายคุ้มครองเงินฝากไทย "เงินฝาก" แบบไหนได้รับความคุ้มครอง?
วิกฤต 3 ธนาคารสหรัฐอเมริกาล้ม เปิดกฎหมายคุ้มครองเงินฝากไทย "เงินฝาก" แบบไหนได้รับความคุ้มครอง?
จากเหตุการณ์ 3 ธนาคารสหรัฐอเมริกาล้ม ภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ สร้างความกังวลต่อความปลอดภัยของเงินฝากกับสถาบันการเงิน
ในส่วนของประเทศไทย มีสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA) เป็นกลไกสำคัญที่จะดูแลเรื่องนี้
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA) ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 มาตรา 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ คุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงิน ปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง 32 แห่ง ,เสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน , ดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ถูกควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
หากสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง ถูกเพิกถอนใบอนุญาต DPA จะทำหน้าที่จ่ายคืนเงินฝากภายใน 30 วัน โดยกำหนดวงเงินคุ้มครองอยู่ที่ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน ปัจจุบันจ่ายเงินคืนผ่าน 2 ช่องทาง คือ พร้อมเพย์ (PromptPay) ที่ผูกกับหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เช็ค
สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองทั้ง 32 แห่ง ต้องเป็นผู้ส่งเงินนำส่งให้ DPA เพื่อเข้ากองทุนสะสมไว้ปีละ 2 ครั้ง เรียกว่า กองทุนคุ้มครองเงินฝาก โดยไม่ใช่เงินฝากของผู้ฝากเงิน
เงินฝากแบบไหน ได้รับความคุ้มครอง?
พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 มาตรา 51 ระบุถึงเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่
- เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงิน
ที่นำมาคำนวณยอดเงินฝากถัวเฉลี่ย และดอกเบี้ยค้างจ่ายที่เกิดจากเงินฝากนั้นจนถึงวันที่สถาบันการเงิน ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
- โดยต้องเป็นเงินฝากและดอกเบี้ยที่เป็นเงินบาท
และต้องเป็นเงินฝากในบัญชีเงินฝากภายในประเทศ และต้องไม่ใช่เงินฝากในบัญชีประเภทบัญชี เงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
ภาพจาก TNN ONLINE / reuters