TNN online จับเทรนด์ ลงทุนหุ้นโลก ปี 2566

TNN ONLINE

Wealth

จับเทรนด์ ลงทุนหุ้นโลก ปี 2566

จับเทรนด์ ลงทุนหุ้นโลก ปี 2566

จับเทรนด์ ลงทุนหุ้นโลก ปี 2566

จับเทรนด์ ลงทุนหุ้นโลก ปี 2566 ปี 2565 นักลงทุนตลาดหุ้นต้องรับมือกับผลกระทบจากตลาดหุ้นที่เข้าสู่ภาวะหมี จนทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกสูญมูลค่าความมั่งคั่งไปมากถึง 22 ล้านล้านดอลลาร์ อัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี และการดำเนินนโยบายคุมเข้มทางการเงินอย่างแข็งกร้าว


ในปี 2565 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ สูญมูลค่าตลาดไปกว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ในดัชนี S&P 500 สูญเสียมูลค่าตลาดมากกว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์ ดัชนี DJIA ระดับปิดตลาดวันที่ 2 ธันวาคม อยู่ที่ 34,429.88 จุด ตลอดสัปดาห์ ดัชนีปรับขึ้น 82.85 จุด และนับจากต้นปีมา ดัชนียังติดลบ 5.25% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดที่ระดับ 4,071.70 จุด ตลอดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ดัชนีปรับขึ้น 45.58 จุด และนับจากต้นปีมา ดัชนี -14.57% ที่เหลือเป็น Nasdaq Composite ปิดตลาดวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่ระดับ 11,461.50 จุด ตลอดสัปดาห์ดัชนีขยับขึ้นมา235.14 จุด และนับจากต้นปีมา ดัชนียังลดลง 26.74%


การเปลี่ยนแปลงของดัชนีสำคัญๆ และสินทรัพย์ลงทุนอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลนับถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน โดยกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคา หรือ ดัชนีเป็นบวก ได้แก่ Bloomberg Commodities Index ดัชนีบวกเพิ่ม 17.8%U.S. Dollar Index บวกเพิ่ม 10.4% ดัชนี FTSE 100 ดัชนี บวก 5.1% ดัชนี Japan Topixดัชนีบวก 3.8% สินทรัพย์กลุ่มที่เป็นบวก ยังรวมถึง Global Listed Infrastructure และดัชนี ASX200 บวก 2.2% และ 1.8% ตามลำดับ


ในกลุ่มสินทรัพย์ที่เป็นลบ ได้แก่ ดัชนี S&P 500/TSX -1.4% ทองคำ -4.0%MSCI EMU ดัชนีติดตามกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลยูโร -8.4 Bloomberg Global Treasury Hedged -9.4% ตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนสูงทั่วโลก -13.8% หุ้นขนาดใหญ่ในดัชนี S&P 500ที่ปรับตัวลง 14.3%MSCI All Country World -15.4% ดัชนีหุ้นขนาดเล็กใน Russell 2000 Index -15.7% พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุไถ่ถอน 10 ปี -16.4% หุ้นกู้ทั่วโลก -16.8%MSCI Emerging Equities -21.3% กองทุนทรัสตฺอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก -22.5% ดัชนี Nasdaq Composite -27.7% และ MSCI China -31.0%


ทีนี้มาดูข้อมูลที่ Bloomberg และพันธมิตรสำนักวิเคราะห์ชั้นนำ จำลองความเป็นไปได้ของเป้าหมายระดับดัชนีตลาดสำคัญๆ ในปลายปีหน้า ถ้าเข้าสู่ภาวะกระทิงหุ้นโลกจะทะยาน 6%-27% แต่ถ้ายังติดหล่มภาวะหมี ดัชนีจะร่วงลึกจากระดับปัจจุบัน 12% - 18%


ผลจำลองความเป็นไปได้ของตลาดหุ้นใน 3 กรณี ได้แก่

กรณีตลาดหุ้นพลิกมาเป็นภาวะกระทิง กรณีฐาน และกรณีภาวะหมียังเกิดขึ้นต่อเนื่องในปีหน้า พบว่า หากตลาดหุ้นโลกพลิกสู่ภาวะกระทิง ดัชนี S&P 500 จะเพิ่มขึ้น 6% จากระดับ 3,956 จุดในปัจจุบัน ขึ้นไปที่ 4,200 จุด ในเดือนธันวาคม 2566 ดัชนี MSCI Europe จะพุ่งขึ้น 18%จากระดับ 1,740 จุด เป็น 2,060 จุด ขณะที่ดัชนี TOPIX ของญี่ปุ่น จะพุ่งขึ้น 27% จากระดับ 1,937 จุด เป็น 2,450 จุด ส่วนดัชนี MSCI EM ที่ติดตามตลาดหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ จะพุ่งขึ้น 27% เช่นกันจากระดับ 890 จุดในปัจจุบัน เป็น 1,130 จุด


แต่หากสถานการณ์หน้า เป็นไปตามสมมติฐานของกรณีฐาน ตลาดหุ้นโลกจะมีทั้งบวกและลบ โดย ดัชนี S&P 500จะปรับตัวลงต่ออีก 1% จากระดับปัจจุบัน ลงไปที่ 3,900 จุด ขณะที่ MSCI Europe จะปรับเพิ่ม 3% ไปอยู่ที่ 1,790 จุด ตามด้วยดัชนี TOPIX จะปรับขึ้น 11% ไปที่ 2,150 จุด และดัชนี MSCI EM จะพุ่งขึ้น 12% ไปที่ 1,000 จุด


ความเป็นไปได้ในกรณีตลาดเข้าสู่ภาวะหมีต่อเนื่อง พบว่า ดัชนี S&P 500 จะปรับตัวลงจากระดับปัจจุบัน 12% ไปอยู่ที่ 3,500 จุด ขณะที่ MSCI Europe จะทรุดลง 15% มาอยู่ที่ 1,485 จุด ที่เหลือ ดัชนี TOPIX ของญี่ปุ่น จะปรับตัวลง 14% ไปที่ 1,670 จุด และ MSCI EM จะทรุดตัวลงแรงถึง 18% ลงมาที่ 730 จุด


มาดูกันที่ตัวเลขคาดการณ์แนวโน้มดัชนี S&P 500ในปี 2566 โดย 17 สำนักวิเคราะห์ โดยพบว่า Barclays เป็นสำนักเดียวที่คาดการณ์ว่า S&P 500 จะไหลลึกลงมาที่ 3,675 จุด ขณะที่ โซซิเอเต เจเนอราล (Société Générale SA)และ Capital Economics คาดการณ์ว่า S&P 500 จะอยู่ที่ระดับ 3,800 ในส่วนของ Morgan Stanley, UBS และ Citi คาดการณ์ว่า S&P 500 น่าจะอยู่ที่ระดับ 3,900 จุด


ในส่วนของ BofA, Goldman Sachs และ HSBC ประเมินว่า S&P 500มีแนวโน้มจะขยับไปอยู่ที่ระดับ 4,000 จุดในปีหน้า เช่นเดียวกับ RBC ที่คาดว่า S&P 500จะไปปรับสูงขึ้นไปอยู่ที่ 4,100 จุด JP Morgan และ Jefferies มองบวกมากกว่า โดยคาดว่า S&P 500 จะขึ้นไปที่ 4,200 จุด


อีก 3 สำนักที่เหลือ ได้แก่ BMO, Wells Fargo และ Deutsche Bank ประเมินว่า S&P 500 จะปรับตัวสูงขึ้นไปที่ระดับ 4,300, 4,300-4,400 จุด และ 4,500 จุดตามลำดับ


ค่าเงินดอลลาร์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทรงอิทธิพลต่อตลาดหุ้นในปี 2565 และเป็นปริศนาที่นักลงทุนอยากหาคำคอบ นั่นทำให้ MLIV Pulse survey มีคำถามเกี่ยวกับทิศทางค่าเงินดอลลาร์ด้วย


โดยพบว่าประมาณ 60% ของผู้ตอบแทบสอบถาม 388 คน ในคำถามที่ว่า “ท่านคิดว่า ดัชนี Bloomberg Dollar Spot Index จะเป็นอย่างไรในปี 2566 คาดการณ์ว่า ดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงตลอด 1 เดือนนับจากนี้ คำตอบของผู้ตอบแบบสอบถามแตกต่างจากการสำรวจครั้งที่จัดทำขึ้นในสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 28 ตุลาคม ที่ผลสำรวจครั้งนั้น 62% เชื่อว่า ดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้น ขณะที่มีเพียง 38% ที่คาดการณ์ว่า เงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลง ซึ่งในผลสำรวจล่าสุด ผู้ที่คาดการณ์ว่า ดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้น มีเพียง 42%


จากข้อมูลของ MarketWatch.com พบว่า ดัชนี U.S. Dollar Index ณ วันที่ 8 ธันวาคม อยู่ที่ระดับ 105.38 เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 0.27% ในช่วง 5 วันทำการ ดัชนีขยับขึ้น 0.65%ในช่วง 1 เดือน ดัชนีลดลง 2.59%ในช่วง 3 เดือน ดัชนีลดลง 3.92%แต่นับจากต้นมา ดัชนียังบวกเพิ่ม9.83%และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนียังปรับขึ้น9.49%ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังได้มุมมอง เป็นกลาง เช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลจีน และกลุ่มคอมโมดิตีที่ยังคงมุมมอง เป็นกลางหรืออาจเป็นมุมมองเชิงบวกในปีหน้า

ข่าวแนะนำ