TNN online ตอนที่ 6 เอกชนใช้โอกาสประชุม APEC 2022 ภาคธุรกิจดึงลงทุน BCG

TNN ONLINE

Wealth

ตอนที่ 6 เอกชนใช้โอกาสประชุม APEC 2022 ภาคธุรกิจดึงลงทุน BCG

ตอนที่ 6 เอกชนใช้โอกาสประชุม APEC 2022 ภาคธุรกิจดึงลงทุน BCG

ในการประชุมเอเปคที่กรุงเทพในครั้งนี้ นอกจากจะมีผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจเข้ามาร่วมประชุมแล้ว ยังมีเวทีการประชุมผู้นำภาคเอกชนเข้ามาจัดประชุมคู่ขนาน เพื่อจัดทำข้อเสนอยื่นให้ผู้นำประเทศพิจารณา

โดย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 (APEC Business Advisory Council - ABAC) กล่าวว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดประชุมสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค หรือเอแบค ที่มีตัวแทนภาคเอกชนชั้นนำจาก 21 เขตเศรษฐกิจที่เป็นสมาชิกของเอเปค 


ดังนั้นประเทศไทยจึงได้ผลักดัน จึงได้ผลักดันเรื่องเศรษฐกิจบีซีจีให้เป็นวาระสำคัญในการประชุมปีนี้ เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือในหมู่ประเทศสมาชิดให้ดำเนินงานในเรื่องนี้ร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนสำคัญในการลดภาวะโลกร้อย 


โดยประเทศไทยได้แสดงถึงความพร้อมในด้านนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของเศรษฐกิจชีวภาพที่ไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพในระดับต้น ๆ ของโลก ในการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพผลิตสินค้ามูลค่าสูง ตั้งแต่อาหาร ยารักษาโรค เครื่องสำอาง อาหารเสริม ไบโอพลาสติก เคมีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ 


นอกจากนี้ ยังได้นำคณะนักธุรกิจไปเยี่ยมชมโรงงานของบริษัท อมิตา เทคโนโลยี ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรีรถยนต์ของใหญ่ที่สุดในอาเซียน รวมทั้งพาขึ้นเรือโดยสารไฟฟ้าของไทย เพื่อให้ชาวต่างชาติได้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมในเรื่องอุตสาหกรรมอีวี รวมถึงการแสดงให้เห็นความเป็นผู้นำของไทยในเรื่องพลังงานสะอาด มีสัดส่วนการผลิตพลังงานสะอาดสูงถึง ร้อยละ 20 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด  ซึ่งจะทำให้นักลงทุนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอีวี และพลังงานสีเขียวเข้ามาลงทุนในไทยได้มากขึ้น 


ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้จัดทำข้อเสนอของภาคเอกชนส่งให้กับเวทีผู้นำเอเปคเพื่อพิจารณา โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรง ซึ่งได้ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักในวงกว้าง โดยตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่องโหว่ของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย หรือ MSMEs ขยายเป็นวงกว้างขึ้น และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง


อย่างไรก็ตาม เมื่อโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ภาครัฐของทุกประเทศจึงมองหาแนวทางและสร้างโอกาสต่างๆ ในการฟื้นฟู MSMEs โดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค หรือ ABAC (เอแบค) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานภาคเอกชนภายใต้เอเปค ที่ให้คำแนะนำด้านการดำเนินภาคธุรกิจแก่ผู้นำและคณะประชุมเอเปค จึงได้ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีของแต่ละเขตเศรษฐกิจในการส่งเสริม 4 ด้านหลัก 


นอกจากนี้ ยังมีการการส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น เพื่อให้สมาชิกร่วมกระชับการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยสนับสนุนระบบการค้าตามกฎสากล และเร่งให้เกิดเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งจะต้องมีการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวและการเติบโต ผ่านการสนับสนุนกลุ่ม MSMEs และการนำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมาปรับใช้ ซึ่งจะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเปคได้อย่างต่อเนื่อง


การประชุมเอแบคในครั้งนี้ จะเป็นโอกาสสำคัญของไทย ในการนำเสนอศักยภาพของประเทศในทุกด้าน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเพิ่มขึ้น


ขณะเดียวกัน การผลักดันเรื่องเศรษฐกิจบีซีจี บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด พร้อมทั้งบริษัทในเครือ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ที่ร่วมเป็นเจ้าภาพและออกบูธในระหว่างการประชุมผู้นำเอเปค ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ก็ตระหนักในเรื่องดังกล่าว และได้นำเสนอข้อมูลวิสัยทัศน์และทิศทางธุรกิจที่มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมายกระดับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านแนวคิด Making Today a Better Tomorrow



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง