TNN online “แบงก์ชาติ” เล็งคุมรายได้ผู้กู้สินเชื่อบุคคล หวังลดหนี้ครัวเรือน

TNN ONLINE

Wealth

“แบงก์ชาติ” เล็งคุมรายได้ผู้กู้สินเชื่อบุคคล หวังลดหนี้ครัวเรือน

“แบงก์ชาติ” เล็งคุมรายได้ผู้กู้สินเชื่อบุคคล หวังลดหนี้ครัวเรือน

ธนาคารแห่งประเทศไทยเผย ในอนาคตอาจกำหนดระดับรายได้ของผู้ใช้บริการสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อดูแลคุณภาพหนี้และลดหนี้ครัวเรือน รวมทั้งดูแลบริการทางการเงินไม่ให้กระตุ้นการก่อหนี้มากเกินไป

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า แผนการดูแลระบบสถาบันการเงินในอนาคตจะดูแลใน 3 ส่วนสำคัญ ดังนี้ 

1.การแก้หนี้ ซึ่งแม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวแล้ว แต่ยังมีลูกหนี้ในกลุ่มที่เปราะบางอยู่ ดังนั้น ธปท.จะยังออกแนวทางการแก้หนี้ในกลุ่มลูกหนี้ที่เปราะบางต่อไป 

2.ดูแลการปล่อยสินเชื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น ให้สถาบันการเงินมีความรับผิดชอบ ไม่กระตุกลูกหนี้ให้เร่งก่อหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ หรือสร้างหนี้ที่ไม่ก่อประโยชน์ ซึ่งธปท.เตรียมออกหนังสือเวียนถึงสถาบันการเงินทุกแห่งในไตรมาส 1 ของปีหน้า เพื่อดูแลเรื่องนี้

“แบงก์ชาติ” เล็งคุมรายได้ผู้กู้สินเชื่อบุคคล หวังลดหนี้ครัวเรือน

ทั้งนี้ ในการดูแลคุณภาพหนี้ ในระยะแรก จะเน้นไปที่การไม่ให้สถาบันการเงินกระตุกลูกหนี้ให้กู้ และในระยะที่ 2 จะเน้นไปที่การกำหนดรายได้ของผู้กู้ โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน อย่างสินเชื่อสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อให้หนี้มีคุณภาพ ส่วนระดับรายได้ที่เหมาะสมยังอยู่ระหว่างการพิจาณา เพราะบัตรเครดิตกำหนดรายได้ขั้นต่ำที่ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนอยู่แล้ว และจะให้ความรู้และให้คนกู้มีวินัยทางการเงินควบคู่กันไปด้วย เพื่อมีส่วนลดหนี้ครัวเรือนให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 80 ของจีดีพีในอนาคต และ 

3. การทำระบบสถาบันการเงิน ให้ปรับตัวรองรับระบบสินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือกรีน โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน คือ กำหนดนิยามธุรกิจที่เป็นกรีน โดยจะเริ่มจากธุรกิจที่มีนัยยะต่อสิ่งแวดล้อม คือ ธุรกิจพลังานและขนส่งก่อน ซึ่งจะเริ่มในไตรมาสแรกปี 66, การเปิดเผยข้อมูลให้มีมาตรฐานเดียวกัน ในไตรมาส 4 ของปีนี้ โดยจะมีการร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย และการออกแบบอุปทานสินเชื่อที่เป็นกรีน ให้สถาบันการเงินออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นกรีนได้ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในไตรมาส 4 ปีนี้ 

ส่วนปัจจุบัน คุณภาพหนี้ในหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในระบบสถาบันการเงินโดยรวมยังทรงตัวไม่น่ากังวลมาก แม้ในระยะต่อไปเอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้น โดยหนี้ที่มีหลักประกันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 65 ของหนี้รวม ได้แก่ หนี้เพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยร้อยละ 30 หนี้ธุรกิจร้อยละ 20 หนี้เพื่อการซื้อรถยนต์ร้อยละ 10 ขณะที่หนี้ที่ไม่มีหลักประกันอย่างหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลมีสัดส่วนร้อยละ 35 


ข้อมูลจาก : TNN ONLINE

ภาพจาก : TNN

ข่าวแนะนำ