TNN online เปิด 4 ปัจจัยหนุนทองคำไปต่อ แม้เฟดสปีดขึ้นดอกเบี้ย

TNN ONLINE

Wealth

เปิด 4 ปัจจัยหนุนทองคำไปต่อ แม้เฟดสปีดขึ้นดอกเบี้ย

เปิด 4 ปัจจัยหนุนทองคำไปต่อ แม้เฟดสปีดขึ้นดอกเบี้ย

"วรุต"มองแนวโน้มทิศทางทองคำในสัปดาห์หน้าอยู่ในเทรนด์ขาลง หลังจากเฟดสปีดขึ้นดอกเบี้ย สกัดเงินเฟ้อ แต่ปัจจัยแวดล้อมที่จะช่วยพยุงราคาทองคำดีดปรับตัวเพิ่มขึ้นจะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย

นายวรุต รุ่งขํา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จํากัด เปิดเผยถึงทิศทางราคาทองคำในสัปดาห์หน้ากับ TNNONLINE ว่า  ทิศทางทองคำอยู่ในช่วงขาลงหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อต่อเนื่องไปจน

ถึงปีหน้า เห็นได้จากราคาทองคำในช่วงเดือนก.ย.ที่ผ่านมาทำจุดต่ำสุดใหม่ที่ 1,653 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์


นอกจากนี้ราคาทองคำในต้นเดือนก.ย.- ปัจจุบันปรับตัวลง 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์จากเดิมอยู่ที่ 1,705 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ดังนั้นในสัปดาห์นี้ประเมินกรอบแนวรับแรกที่ 1,653 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แนวรับถัดไปที่1,632 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ราคาทองคำแท่งอยู่ที่  29,250 บาทแนวต้านแรกที่ 1,687 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ราคาทองคำแท่งอยู่ที่  29,500 บาทแนวต้านถัดไปที่ 1,705 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ราคาทองคำแท่งอยู่ที่  30,200 บาท


"หากราคาทองคำยืนเหนือ 1,705 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์จะไปต่อ แต่ถ้าไม่ผ่านก็จะย่อพักฐาน ถ้าหลุด 1,632 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์มีโอกาสร่วงต่อและเข้าสู่ทิศทางขาลง" 


เปิด 4 ปัจจัยหนุนทองคำไปต่อ แม้เฟดสปีดขึ้นดอกเบี้ย


สำหรับปัจจัยที่จะพยุงทองคำไม่ให้ปรับตัวลดลง 

1. ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกสู่ภาวะถดถอย หลังจากที่ธนาคารกลางโลกหลายแห่งได้ปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อคุมเงินเฟ้อเห็นได้จากนักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซคส์ ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐในปี 2566 ลงเหลือ 1.1% จากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าจะขยายตัว 1.5% ขณะที่คงตัวเลขคาดการณ์ GDP ปี 2565 อยู่ที่ 0%


ส่วนอัตราว่างงานจะอยู่ที่ 3.7% ภายในปลายปี 2565 จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 3.6% ทั้งยังปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราว่างงานปี 2566   จากเดิม 3.8% เป็น 4.1%พร้อมทั้งได้ปรับลดจีดีพีจีนจาก 5.3% เหลือ 4 %


2.ความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งรัสเซีย-ยูเครน  สหรัฐฯ-จีนว่าจะมีการยกระดับความตึงเครียดเพิ่มขึ้นหรือไม่ 

3.วิกฤตเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ จากการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน จะส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าการขึ้นดอกเบี้ยทำให้ค่าเงินมีเสถียรภาพแต่เพิ่มความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งยังไม่สามารถที่จะทันสหรัฐฯได้ 


4.ค่าเงินบาทอ่อน โดยในช่วงที่ผ่านมาแตะระดับ 37.44 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐทำสถิติใหม่อ่อนสุดรอบ 16 ปี


"การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ อาจทำให้เศรษฐกิจเสี่ยงเกิดภาวะถดถอย แต่การที่นายเจอโรมพาวเวลล์ ประธานเฟดออกมาส่งสัญญาณเรื่องดอกเบี้ยเพื่อให้ตลาดเตรียมรับมือกับแรงกระแทกจากการคุมเข้มนโยบายการเงิน"


ที่มา  นายวรุต รุ่งขํา  

ภาพประกอบ วายแอลจี

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง