TNN online ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ปี 65 การทำตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจะ "ทยอยเติบโต"

TNN ONLINE

Wealth

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ปี 65 การทำตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจะ "ทยอยเติบโต"

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ปี 65 การทำตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจะ ทยอยเติบโต

สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan)2 เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย และถูกคาดหวังว่าจะสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเข้าถึงและอัตราการใช้ บริการสินเชื่อรายย่อย

จากการสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินภาคครัวเรือนของธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2563 พบว่า มีครัวเรือนไทยที่เข้าใช้บริการสินเชื่อของสถาบันการเงินในระบบเพียงร้อยละ 30.5 หรือ 6.7 ล้านครัวเรือน ขณะเดียวกัน มีครัวเรือนไทยที่จำเป็นต้องใช้บริการสินเชื่อนอกระบบอยู่ประมาณร้อยละ 1.7 และสินเชื่อกึ่งในระบบอีกประมาณร้อยละ 13.3 อีกทั้งยังมีครัวเรือนไทยส่วนหนึ่งราวร้อยละ 51 ที่ต้องเผชิญกับข้อจ ากัดในการ เข้าถึงบริการสินเชื่อ สะท้อนให้เห็นว่าไทยยังต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสินเชื่อที่ตอบโจทย์ความ ต้องการและสามารถเอื้อให้ผู้บริโภครายย่อยสามารถเข้าถึงและเข้าใช้บริการสินเชื่อในระบบได้มากขึ้น 

.

.

สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan)2 เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย และถูกคาดหวังว่าจะสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเข้าถึงและอัตราการใช้ บริการสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อหรือกลุ่ม Unserved และ Underserved 1 เป็นบริการสินเชื่อที่ไม่รวมบัตรเครดิต (ที่มา: รายงานผลสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินภาคครัวเรือนปี 2563, ธนาคารแห่งประเทศไทย) 2 สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลตามนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีวงเงินสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาทต่อราย ชำระคืนไม่เกิน 6 เดือน และคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 25 

.

.

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจากธปท. จำนวนทั้งหมด 9 ราย และได้ดำเนินการไปแล้ว 5 ราย โดยมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ประมาณ 4,700 ล้านบาท (ณ กุมภาพันธ์ 2565) 

.

.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าในปี 2565 การทำการตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลตามนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้ข้อมูลทางเลือกในการพิจารณาสินเชื่อ คงมีลักษณะของการ “ทยอยเติบโต” โดยมียอดคงค้างที่ ไม่สูงมากนัก ประมาณ 7,920 – 8,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง ร้อยละ 1 ของยอดคงค้างของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบ

.

.

แม้ว่าตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจะเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการหลายราย ไม่ ว่าจะเป็น Bank หรือ Non-bank ต้องการรุกทำการตลาดไปสู่กลุ่มลูกค้ารายย่อยให้มากที่สุด แต่ก็ยังคงต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายหลายประการอาจกล่าวได้ว่า ตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการ เรียนรู้ และอาจยังคงต้องอาศัยเวลาอีกระยะในการพัฒนาและปรับปรุงโมเดล 

.

.

สินเชื่อส่วนบุคคล ดิจิทัล (Digital Personal Loan) …การเรียนรู้และ ปรับตัวของ ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทางธนาคารพาณิชย์ต้องการขยายฐานลูกค้าเพื่อให้บริการสินเชื่อรายย่อยเป็นทุนเดิม อาทิ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย เป็นต้น เนื่องจากมีจุดเด่นด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางเลือก (Alternative data) ในรูปแบบดิจิทัลเท่านั้นมาใช้ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและประเมินความสามารถหรือ ความเต็มใจที่จะชำระหนี้ อาทิ ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อขายสินค้าออนไลน์ การชำระบิลค่าสินค้าและบริการ รวมถึงค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลทางเลือกเหล่านี้จะไม่ใช่ข้อมูลทางด้านรายได้ 

.

.

ทั้งนี้ ศูนยวิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2565 การทำการตลาดสินเชื่อส่วนบุคคล ดิจิทัลตามนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้ข้อมูลทางเลือกในการพิจารณา สินเชื่อ คงมีลักษณะของการ “ ทยอยเติบโต ” มากกว่า โดยมียอดคงค้างที่ไม่สูงมากนัก ประมาณ 7,920 – 8,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของยอดคงค้าง ของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบ 

.

.

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีระยะเวลาการชำระคืนที่สั้น ขณะเดียวกัน ทางฝั่งผู้ประกอบการก็ยังอยู่ในช่วงทดลองตลาด และถึงแม้ว่ากลุ่มลูกค้ารายย่อย Unserved และ Underserved เป็นกลุ่มที่ผู้ประกอบการทั้ง Bank และ Non-bank ต่างมุ่งหวังเข้าถึงเพื่อให้บริการ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ประกอบกับปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับรายได้ที่ยังคงเท่าเดิมหรือลดลงจากผลกระทบโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา จึงอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการผิดชำระหนี้ในระดับสูง ผู้ประกอบการจึงอาจเริ่มต้นด้วยการให้วงเงินที่ไม่สูงมากนัก เพื่อหวังเก็บประวัติหรือพฤติกรรมการชำระเงินและต่อยอดสู่การให้บริการในวงเงินที่สูงขึ้น หรือการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป 

.

.

อาจกล่าวได้ว่าสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลยังถือว่าอยู่ในช่วงของการเรียนรู้เพื่อเติบโต โดย ผู้ประกอบการยังมีโจทย์สำคัญที่ท้าทายอีกหลายด้านเพื่อจะเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต 

.

.

ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความมีตัวตนและเข้าใจพฤติกรรมที่แท้จริงของลูกค้า เนื่องด้วยเป้าหมายสำคัญของการให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล ผ่านช่องทางดิจิทัลคือการเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารายย่อย Unserved และ Underserved ซึ่งอาจมีข้อมูลด้านรายได้ที่ไม่ ชัดเจน ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลก็ยังคงต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูล เครดิตของลูกค้ารายย่อย โดยเฉพาะในกรณีการกู้ยืมเงินกับผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน รวมถึงการกู้ยืม เงินนอกระบบ ซึ่งหากผู้ประกอบการมีข้อมูลไม่มากพอสำหรับการตรวจสอบตัวตนหรือเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า ก็อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์และประเมินระดับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับกลโกงของผู้กู้ที่อาจถูกชักจูงจากมือที่สามซึ่งอาศัยช่องโหว่ของการตรวจสอบข้อมูลบนช่องทางดิจิทัลให้ยากต่อการติดต่อและติดตามหนี้ 

.

.

ติดตามข่าวหุ้นและการลงทุนทางไลน์

• Line @TNNWEALTH : https://bit.ly/3tCKmiD

———————————————————————

ติดตาม TNN Wealth ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ 

• Website : https://bit.ly/TNNWealthWebsite

• Youtube : https://bit.ly/TNNWealthYoutube

• TikTok : https://bit.ly/TNNWealthTikTok

 

ข่าวแนะนำ