TNN online TNN Exclusive : APEC 2022 ส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในทุกมิติ

TNN ONLINE

Wealth

TNN Exclusive : APEC 2022 ส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในทุกมิติ

TNN Exclusive :  APEC 2022 ส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในทุกมิติ

"APEC 2022" การประชุมเอเปค ประจำปี 2565 หรือ การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) จะมีผลต่อประเทศไทยอย่างไร

"APEC 2022" การประชุมเอเปค ประจำปี 2565 หรือ การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) เป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 

โดยปัจจุบันเอเปคมีสมาชิกจำนวน 21เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และรัสเซีย โดยไทยเป็นหนึ่งใน 12 เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง

"เอเปค" นั้น มีประชากรรวมกันกว่า 2,900 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,700 ล้านล้านบาท เกินครึ่งของ GDP โลกและมีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าโลกด้วย

ดังนั้น การประชุมเอเปค จะส่งผลทำให้เกิดการเปิดเสรีการค้า การลงทุน ความร่วมมือในด้านมิติสังคม และการพัฒนาด้านอื่นๆ อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค

สำหรับ "ประเทศไทย" ที่ได้เป็น "เจ้าภาพการประชุมเอเปค ปี 2022" #APEC2022Thailand นั้น ได้ให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดผลความร่วมมือในด้านต่างๆ ดังนี้

TNN Exclusive :  APEC 2022 ส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในทุกมิติ

การค้าการลงทุน

ผลักดันการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการ MSMEs ตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจผ่านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการหารือเชิงนโยบายการค้าระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการจัดทำ FTAAP หลังยุคโควิด-19 

รวมถึงการสานต่อการดำเนินงานตามปฏิญญาเรื่องการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีความจำเป็นปี พ.ศ. 2563 แถลงการณ์ห่วงโซ่อุปทานวัคซีนโควิด-19 และแถลงการณ์การบริการเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีความจำเป็น 

ด้านการคลัง

ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) เพื่อให้ สอดรับกับการผลักดัน BCG Economy ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ และภารกิจของรัฐบาลในการจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับทุกภาคส่วนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยเฉพาะการจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านตลาดทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเป็นสังคมดิจิทัล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินนโยบายในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ การเชื่อมโยงการชำระเงิน ในภาคการเงิน การระดมทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการในตลาดทุน เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกันในภูมิภาค

TNN Exclusive :  APEC 2022 ส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในทุกมิติ

ด้านการท่องเที่ยว

นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดนี้สืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกทั้งระบบอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้เกิดการท้าทายแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดกระแสหลักด้านการท่องเที่ยวทั่วโลกมานานหลายทศวรรษ 

ด้านการเกษตร

ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับนโยบาย “3S” ได้แก่ Safety ความปลอดภัยของอาหาร Security ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และ Sustainability ความยั่งยืนของภาคการเกษตร เพื่อส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเปค 

นอกจากนี้ ไทยในฐานะประธานหุ้นส่วนเชิงนโยบายความมั่นคงอาหารเอเปค จะมีบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการของแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ.2030 เพื่อให้เขตเศรษฐกิจสมาชิกใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกร่วมกันต่อไป

TNN Exclusive :  APEC 2022 ส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในทุกมิติ

ด้านป่าไม้

ไทยจะผลักดันการใช้นวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ และเปลี่ยนข้อได้เปรียบให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน กระจายรายได้สู่ชุมชนที่พึ่งพาทรัพยากรป่าไม้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างชุมชนเข้มแข็งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจ BCG 

นอกจากนี้ จะมีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการต่อต้านการค้าไม้ผิดกฎหมายและการค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไทยจะใช้โอกาสในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ผลักดันการจัดทำเครื่องมือที่เหมาะสมในการส่งเสริมการค้าไม้ที่ถูกกฎหมาย และต่อต้านการค้าไม้ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง 

เช่น การรับรอง (Certificate) การตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (Timber Legality Assurance System) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เป็นต้น

ด้านกิจการสตรี

ไทยจะให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างพลังทางเศรษฐกิจของสตรีในยุคหลังโควิด-19 และยุคดิจิทัล โดยจะนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาปรับใช้ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตที่สมดุลและครอบคลุม มุ่งเน้นการดำเนินงานด้านสตรีที่ยึดโยงกับแนวทางขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการลา เซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม 

นอกจากนี้ ยังมุ่งผลักดันการสร้างเครือข่ายสตรีผู้ประกอบการ BCG ไทยไปขยายผลในเอเปค เพื่อส่งเสริมบทบาท และสร้างโอกาสให้กับสตรีผู้ประกอบการ BCG ของไทยในระดับภูมิภาค

  TNN Exclusive :  APEC 2022 ส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในทุกมิติ

ด้านการส่งเสริม MSMEs

จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “Ready for the ‘Next Normal’: How MSMEs should adapt to an evolving market landscape” เพื่อหารือข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดสำหรับ MSMEs ในยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป โดยจะแสวงหากลไกสนับสนุน MSMEs ให้ฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนและครอบคลุม

ด้านสาธารณสุข

ไทยเสนอให้หัวข้อหลัก (Theme) ของการประชุมคณะทำงานด้านสุขภาพของเอเปค (APEC Health Working Group: HWG) ในปี 2565 คือ “Open to Partnership. Connect with the World. Balance Health and the Economy.” โดยจะมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ 

(1) ด้าน Open to Partnership จะขยายการสร้างสัมพันธ์กับองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อพัฒนาความร่วมมือในประเด็นด้านการแพทย์ และสาธารณสุข

(2) ด้าน Connect with the World จะจัดทำเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อจำกัดการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเปคและหลักฐานการได้รับวัคซีน และการพัฒนามาตรฐานการใช้งานร่วมของระบบแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 (Interoperability of Vaccination Certificates) ระหว่างเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค และ 

(3) ด้าน Balance Health and Economy จะจัดทำแถลงการณ์ร่วมของการประชุม 12th High-Level Meeting on Health and the Economy ซึ่งไทยจะผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับการส่งเสริมประเด็นการเพิ่มการลงทุนด้านความมั่นคงทางสุขภาพ (health security) และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการแพทย์และสาธารณสุข (digital health) เพื่อลดผลกระทบของภัยคุกคามทางสุขภาพต่อเศรษฐกิจ.

TNN Exclusive :  APEC 2022 ส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในทุกมิติ


ข้อมูลและภาพจาก

Thaigov 

www.apec2022.go.th 

APEC - Asia-Pacific Economic Cooperation


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง