TNN online เปิดโผหุ้นได้-เสียประโยชน์ ยุโรปเสี่ยงก๊าซฯ ขาดแคลน-มีตัวไหนบ้างเช็กเลย

TNN ONLINE

Wealth

เปิดโผหุ้นได้-เสียประโยชน์ ยุโรปเสี่ยงก๊าซฯ ขาดแคลน-มีตัวไหนบ้างเช็กเลย

เปิดโผหุ้นได้-เสียประโยชน์ ยุโรปเสี่ยงก๊าซฯ ขาดแคลน-มีตัวไหนบ้างเช็กเลย

บล.เคทีบีเอสทีเผย ยุโรปกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติก่อนฤดูหนาว ผลพวงจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน หุ้นตัวไหนได้-เสียประโยชน์ตามไปดูกันเลย

บล.เคทีบีเอสที ระบุว่า   หุ้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแคลนก๊าซฯในยุโรป(EU) อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงจากอุปทานก๊าซฯขาดแคลนก่อนฤดูหนาวจะมาถึง สหภาพยุโรป (EU) กำลังประสบปัญหาขาดแคลนก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นหนึ่งใน แหล่งพลังงานขั้นสุดท้ายที่สำคัญ (ประมาณ 22% ของพลังงานขั้นสุดท้าย ทั้งหมดใน EU ใน 2020) ซึ่งเป็นผลจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน 


โดยอุปสงค์การใช้พลังงานในปีนี้สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน (มิ.ย.-ส.ค.) เนื่องจากมี คลื่นความร้อน (heat wave) ทั่วยุโรปทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ ในขณะเดียวกัน อุปทานก๊าซฯก็มีน้อยลง ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากข้อขัดแย้ง ระหว่างรัสเซียและ EU จากการทำสงครามในยูเครน โดยในปี 2020 EU ได้มีการ นำ เข้าก๊าซฯจากรัสเซียคิดเป็น 40% ของความต้องการใช้ก๊าซฯทั้งหมด ปริมาณก๊าซจาก Nord Stream 1 ยังมีความผันผวนสูง 


รัสเซียเป็นผู้จัดหาก๊าซ ฯรายสำคัญสำหรับ EU (ประมาณ 40% ของความต้องการใช้ก๊าซฯทั้งหมด ของ EU ในปี 2021) ทั้งนี้ตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน และมีการใช้ มาตรการคว่ำบาตร (sanction) พลังงานจากรัสเซีย การจัดส่งก๊าซฯจาก รัสเซียก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง บริษัท Gazprom (บริษัทก๊าซฯของรัสเซีย) 


หลังจากที่ประกาศลดปริมาณการจ่ายก๊าซฯลง 60% ในเดือน มิ.ย.2022 แล้ว ได้ประกาศว่าจะกลับมาจ่ายก๊าซฯผ่านท่อ Nord Stream 1 ที่ระดับ 40% หลังจากปิดซ่อมบำรุงประจำปีในระหว่างวันที่ 11-21 ก.ค.2022 


อย่างไรก็ดี Gazprom ได้ประกาศเหตุสุดวิสัย (Force Majeure) แก่ลูกค้าในยุโรป เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2022 เพื่อเป็นการแจ้งว่าบริษัทไม่สามารถรับประกันอุปทานก๊าซฯ ให้กับลูกค้าได้ และล่าสุดแจ้งว่าปริมาณก๊าซฯจะลดลงเหลือ 20% (ประมาณ 33 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน (bcm)) ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค.2022 เนื่องจากบริษัทต้อง ปิดซ่อมกังหันที่สถานี compressor ปริมาณสำรองก๊าซฯจะเป็นปัจจัยท้าทายสำหรับความมั่นคงด้านพลังงาน ในช่วงปลายปีตามข้อมูลของ Gas Infrastructure Europe (GIE) (องค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไร) 


ปริมาณสำรองก๊าซฯของ EU ล่าสุด (ณ วันที่ 21 ก.ค.2022) อยู่ที่ 722Terawatt hour (TWh) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 65.0% ของความสามารถ ในการสำรอง

ก๊าซฯโดยรวม ทั้งนี้ EU ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มปริมาณสำรองให้ได้ 80% ภายในเดือน พ.ย. เพื่อรองรับฤดูหนาวที่จะมาในช่วงปลายปี 


อย่างไรก็ดี เป้าหมายนี้ยังมีความท้าทายอยู่ เนื่องจากว่า EU กำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ heat wave ซึ่งทำให้เกิดอุปสงค์การใช้ไฟฟ้า (หลักๆสำหรับเครื่องปรับอากาศ) ที่สูงขึ้น Gas rationing ยากที่จะหลีกเลี่ยงแต่อาจจะไม่เท่ากันสำหรับทุกประเทศ EU เนื่องจากความกังวลว่าอุปทานก๊าซฯจากรัสเซียที่ส่งให้ EU จะหายไปและจะทำให้ ปริมาณสำรองก๊าซฯไม่เพียงพอในฤดูหนาว 


ในสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมาธิการ ยุโรป (EC) จึงได้มีการเสนอให้ประเทศสมาชิก EU ทั้ง 27 ประเทศ ลดการใช้ก๊าซ ฯ 15% ในช่วงเดือน ส.ค.2022-มี.ค.2023 อย่างไรก็ดี ข้อเสนอนี้ถูกคัดค้าน โดยประเทศสมาชิกหลายประเทศ ซึ่งรวมถึง สเปน โปรตุเกส และโปแลนด์ เนื่องจากการจ ากัดการใช้ก๊าซฯอาจจะทำให้เกิดไฟดับได้เนื่องจากพลังงาน ทางเลือกอื่นไม่เพียงพอที่จะชดเชยปริมาณก๊าซฯที่ลดลง 


ทั้งนี้มองว่าหุ้นกลุ่มพลังงานต้นน้ำจะ outperform ขณะที่หุ้นกลุ่ม Electronics และโรงไฟฟ้าจะ underperform จากความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะ ขาดแคลนก๊าซฯใน EU ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเมื่อยุโรปเข้าสู่ฤดูหนาว 


นอกจากนี้มีความเป็นไปได้สูงที่ EU จะต้องมีการใช้นโยบายปันส่วน (rationing) ซึ่งจะส่ง ให้อุปสงค์การใช้ไฟฟ้าลดลงโดยเฉพาะการใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งจะกระทบ ต่อห่วงโซ่การผลิตในยุโรป เพื่อที่จะท าให้มั่นใจว่าไฟฟ้าเพียงพอสำหรับกลุ่มที่ จ าเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัยและโรงพยาบาล


 สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะ outperform ( + )  จากความเป็นไปได้ที่ EU จะขาดแคลนก๊าซฯ ได้แก่ 

1.PTTEP (ซื้อ/เป้า 190.00 บาท) ซึ่งจะได้ประโยชน์จากราคาน ้ามันดิบที่ยืน สูง จากอุปสงค์ gas-to-oil ที่น่าจะเกิดขึ้นหากราคาก๊าซฯปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราส่วนรายได้ gas:liquid ใน 1Q22 อยู่ที่ 52:48 


2. BANPU (ซื้อ/เป้า 16.00 บาท)ซึ่งจะได้ประโยชน์จากราคาถ่านหิน (67% ของ 1Q22 consolidated EBITDA) ที่จะสูงขึ้นจากความต้องการทดแทน ก๊าซฯ และราคาก๊าซฯ US (28% ของ consolidated EBITDA) ที่ยืนสูง ตามแนวโน้มราคาก๊าซฯ LNG ที่น่าจะเห็นอุปสงค์ดีขึ้นจากความต้องการ ในยุโรป


3. SPRC (ซื้อ/เป้า 15.50 บาท) ซึ่งจะได้ประโยชน์จากราคาผลิตภัณฑ์น ้ามัน โดยเฉพาะ diesel (44% ของปริมาณการผลิตใน 1Q22) ที่สูงขึ้นเพื่อใช้เป็น เชื้อเพลิงทดแทนก๊าซฯ 


 ขณะที่หุ้นที่คาดว่าจะ underperform ( - ) จากความเป็นไปได้ที่ EU จะขาดแคลนก๊าซ ฯ ได้แก่


1. KCE  น่าจะได้รับคำสั่งซื้อที่ลดลงจากลูกค้าในยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่คิดเป็น ประมาณ 50% ของรายได้

2. GPSC  ผลกระทบจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นกดดัน margin โดยลูกค้าราว 45-50% เป็นลูกค้าอุตสาหกรรมซึ่งส่งผ่านต้นทุนไม่ได้ 3.BGRIM - ผลกระทบจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นกดดัน margin โดยลูกค้าราว 20-25% เป็นลูกค้าอุตสาหกรรมซึ่งส่งผ่านต้นทุนไม่ได้


อย่างไรก็ตาม Sector ที่ได้รับผลบวกจากความเป็นไปได้ที่ EU จะขาดแคลนก๊าซฯ เรียง ตามลำดับ ได้แก่


- กลุ่มพลังงาน  พลังงานต้นน้ำได้ประโยชน์จากราคาพลังงานที่น่าจะสูงขึ้น ในช่วงฤดูหนาวตอนปลายปีเมื่อความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้น ในขณะที่ อุปทานและปริมาณสำรองยังคงตึงตัว โดยเราคาดว่าความไม่สมดุลจะนำไปสู่ ราคาก๊าซฯ LNG ที่สูง ซึ่งจะทำให้ราคาถ่านหินและน้ำมันดิบ/ผลิตภัณฑ์น้ำมัน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสูงขึ้นตาม -


- กลุ่มปิโตรเคมี  อาจจะได้ผลบวกต่อส่วนต่างราคาปิโตรเคมี (product price spread) จากการที่กลุ่มอุตสาหกรรมในยุโรปลดการผลิต


ขณะเดียวกันจากการทำ gas rationing Sector ที่ได้รับผลลบจากความเป็นไปได้ที่ EU จะขาดแคลนก๊าซฯ เรียง ตามลำดับ ได้แก่

-  กลุ่มไฟฟ้า - ต้นทุนหลักของโรงไฟฟ้า SPP กว่า 70% มาจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเชื่อมโยงกับราคาน ้ามันและราคา LNG spot (บางส่วน) เรียงลำดับจากหุ้นที่ ได้รับผลกระทบมากไปน้อย  นำโดย GPSC (ซื้อ/เป้า 72.00 บาท)  BGRIM (ซื้อ/เป้า 45.00 บาท) GULF (ถือ/เป้า 47.00 บาท) 


- กลุ่ม Electronics   จะได้รับผลกระทบจาก supply chain ที่ถูกกดดัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ เราจึงมองว่า KCE จะได้รับผลกระทบมากสุด เนื่องจากรายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมรถยนต์ และประเทศยุโรปเป็นหลัก 


- กลุ่มสายการบิน   มีโอกาสได้รับผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวเดินทางลดลง โดย BA มีสัดส่วนรายได้จากเที่ยวบินยุโรป 15%-20% ส่วน AAV กระทบจ ากัด เนื่องจากไม่มีเที่ยวบินยุโรป นักท่องเที่ยวยุโรปต่อเครื่องบินสายการบินไทยแอร์ เอเชียน้อย


 - กลุ่มท่องเที่ยว  MINT (ซื้อ/เป้า 44.00 บาท) มีสัดส่วนรายได้จากโรงแรมใน ยุโรปราว 60% แต่เชื่อว่าผลกระทบจ ากัดเพราะจะถูกชดเชยไปกับ ADR ที่จะ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วง High season ที่ยุโรป 


- หุ้นกลุ่มอื่นๆ

- SCGP (ถือ/เป้า 56.00 บาท) ได้รับผลกระทบจากต้นทุนถ่าน หินที่สูงขึ้น ซึ่งมีสัดส่วนราว 6% ของต้นทุนรวม 

- TOG (ซื้อ/เป้า 10.00 บาท) มีสัดส่วนรายได้จากยุโรป 25% แต่ประเมินผล กระทบจ ากัด จากรายได้ภูมิภาคอื่นที่ยังฟื้นดีต่อเนื่อง รวมถึงได้อานิสงส์จาก high season ของลูกค้ากลุ่มประกัน


ที่มา  บล.เคทีบีเอสที

ภาพประกอบ บล.เคทีบีเอสที



ข่าวแนะนำ