ราคาทองคำดิ่งหนักแค่ไหน ! หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ย

"วรุต" มองทิศทางทองคำรุ่งหรือร่วงขึ้นกับผลประชุมเฟดในวันที่ 27 ก.ค.นี้ ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหน ชี้ทองคำเสี่ยงหลุดทำนิวโลว์ใหม่
นายวรุต รุ่งขํา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จํากัด เปิดเผยถึงทิศทางราคาทองคำในสัปดาห์หน้ากับ TNNONLINE ว่า ราคาทองคำจะไปต่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับการประชุมเฟดในวันที่ 26-27 ก.ค.นี้โดย Fed Watch Tool ของ CME Group สัดส่วน 70 % คาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยประมาณ 0.75% หลังจากที่เงินเฟ้อในเดือนมิ.ย.เร่งตัวขึ้น 9.1% ในรอบ 40 ปี และสัดส่วน 30% คาดเฟดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 1%
" การเคลื่อนไหวของราคาทองคำต่างประเทศไม่น่าจะไปไหนได้ไกลต้องรอผลประชุมแล้วเสร็จก่อนประเมินที่กรอบการเคลื่อนไหวที่ 1,732 ถึง 1,751 ดอล ลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ถ้าไม่ผ่าน 1,751 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองคำจะย่อแกว่งตัวในกรอบแรกที่ 1,704 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์และกรอบถัดไปที่ 1,697 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งหากไม่ลดระดับดังกล่าวคาดว่าทองคำจะแกว่งรักษาระดับไว้รอการฟื้นตัว"
แต่กรณีถ้าหลุดต่ำกว่า 1,676 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในปี 2021 ก็อาจจะทำให้ทองคำมีจุดต่ำสุดใหม่ และอาจทำให้ทองคำเข้าสู่เทรนด์ขาลง
ในระยะยาว
- ราคาต่างประเทศ 1,732 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองคำแท่งอยู่ที่ 30,200 บาท
- ราคาต่างประเทศ 1,751 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองคำแท่งอยู่ที่ 30,350 บาท
- ราคาต่างประเทศ 1,676 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองคำแท่งอยู่ที่ 29,200 บาท
-ราคาต่างประเทศ 1,697 -1,704 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองคำแท่งอยู่ที่ 29,500 - 29,600 บาทคิดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 36.79 บาทสหรัฐ
นอกจากนี้ต้องติดตามการเปิดเผยตัวเลข GDP ของสหรัฐไตรมาส 2 ในวันที่ 28 ก.ค.นี้ ตลาดคาดว่าติดลบ 1.6% ถ้าหากมีการติดลบก็จะสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจสหรัฐฯมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นจะกดดันทองคำ
รวมถึงผลการเจรจาระหว่างนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ และนายสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีน เกี่ยวกับกำแพงภาษีหากตกลงกันได้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโลกให้มีการฟื้นตัวและหนุนการลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและจะทำให้ความเสี่ยงทางเรื่องของเงินเฟ้อ
เศรษฐกิจถดถอยบรรเลงซึ่งหากจะเห็นเงินในการชั่วการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเจรจาครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน
ส่วนเงินบาทที่อ่อนค่าแต่ระดับที่ 36.94 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้วเช่น ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)
ขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ตามเฟด ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยและต่างประเทศต่างกันมากขึ้นโดยภาพรวมค่าเงินบาทมีโอกาสขยับอ่อนค่าได้อีกเป็นผลมาจากประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพื่อสกัดเงินเฟ้อทำให้ค่าเงินยูโร และดอลลาร์แข็งค่า
ขณะที่ตลาดเกิดใหม่อย่าง เช่น ปากีสถาน ศรีลังกา ไทย และเมียนมา เศรษฐกิจไม่ได้แข็งแกร่งถ้าหากเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่ค่าเงินอ่อนค่าเงินเฟ้อพุ่ง โดยเฉพาะศรีลังกาที่มีปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศไม่มีเงินชำระหนี้ต่างประเทศ ขณะที่เมียนมาก็ห้ามประชาชนและเอกชนชำระหนี้ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมของเฟดจะรู้ผลในวันพฤหัสบดีที่ 28 ก.ค. ซึ่งเป็นวันที่ตลาดหุ้นไทยและ TFEX ปิดทำการนักลงทุนจะต้องระมัดระวังและวางแผนการลง
ที่มา นายวรุต รุ่งขํา
ภาพประกอบ บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส