TNN online ลุ้นโอกาส Sell in May สถิติชี้เสี่ยงเกิด-นโยบายเฟดจ่อซ้ำ

TNN ONLINE

Wealth

ลุ้นโอกาส Sell in May สถิติชี้เสี่ยงเกิด-นโยบายเฟดจ่อซ้ำ

ลุ้นโอกาส Sell in May สถิติชี้เสี่ยงเกิด-นโยบายเฟดจ่อซ้ำ

ภาวะตลาดหุ้นไทยเผชิญ Sell in May ปีนี้จะมากน้อยแค่ไหน ! ท่ามกลางเงินเฟ้อทั่วโลกที่พุ่งไม่หยุดผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกจ่อขยับขึ้นดอกเบี้ย โควิดในจีนแพร่ระบาดหนัก จากสถิติย้อนหลัง 10 ปี ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร หุ้นตัวไหนที่น่าเก็บเติมพอร์ตลงทุนตามไปดูกันเลย

ตลาดหุ้นไทยย่างเข้าสู่เดือน พ.ค.อย่างลุ้นระทึก นักลงทุนกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ Sell in May  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่นักลงทุนเทขายหุ้นทำกำไรในช่วงเดือนนี้กันมาก เพราะปกติเดือนพ.ค. ของทุกปีจะเป็นเดือนที่ไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ เข้ามาซัพพอร์ตเนื่องจากเพิ่งผ่านพ้นการประกาศงบไตรมาส 1  และหุ้นปันผลมีการขึ้นเครื่องหมาย XD กันหมดแล้ว


ซึ่งหากย้อนดูสถิติในอดีตรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ระหว่างปี 2555-2564) พบว่า SET Index ให้ผลตอบแทนติดลบรวม 6 ครั้ง ปรับขึ้น 4 ครั้ง และค่าเฉลี่ย 10 ปี ดัชนี SET ปรับลดลง 0.93 %


แต่ที่ตลาดจับตาพิเศษพ.ค.ปีนี้คือการประชุมธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด วันที่  3-4 พ.ค.นี้ผลประชุมจะเอฟเฟกต์อย่างไร ตลาดหุ้นไทยจะเกิด Sell in May มากน้อยแค่ไหน TNN Online ได้สัมภาษณ์กูรูผู้คร่ำหวอดในวงการตลาดทุนมาไขคำตอบจะมีมุมมองเรื่องนี้อย่างไรตามไปดูกันเลย

ลุ้นโอกาส Sell in May สถิติชี้เสี่ยงเกิด-นโยบายเฟดจ่อซ้ำ

 

ริ่มจากนายภราดร เตียรณปราโมทย์ รองผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส  เปิดเผยว่า  ตลาดหุ้นไทยเดือนพ.ค.ผันผวน อาจทำให้เกิด Sell in May ควันหลงจากสงครามทางการค้า ทำให้นานาประเทศปรับลดจีดีพีลง เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟปรับจีดีพีโลกจาก  4.4% เหลือเพียง 3.6%  และหั่นจีดีพีไทยจาก 4.1%เหลือ 3.3% ล่าสุดสหรัฐฯประกาศจีดีพีติดลบ 1.4% ถ้าเกิดขึ้น 2 ครั้งติดจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งเป็นเรื่องต้องติดตามอย่างใกล้ชิด


ขณะเดียวกันเงินเฟ้อทั่วโลกที่สูงขึ้นทำให้เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 3-4 พ.ค.นี้ 0.5% จากนั้นค่อยขึ้นดอกเบี้ยอีก 8 ครั้ง และทยอยลดขนาดงบดุล 9.5 หมื่นล้านดอล ลาร์สหรัฐตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นไปทำให้สภาพคล่องตึงตัว 


ซึ่งหากเทียบกับเหตุการณ์ในอดีต ปี 61 นั้นพบว่า เฟดขึ้นดอกเบี้ยพียง 4 ครั้ง และค่อย ๆ ทยอยลดคิวทีเดือนละ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งช่วงนั้นต่างชาติขายหุ้นไทย 2.68 แสนล้านบาท หุ้นลง 10.8% และเกิดเหตุการณ์สงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ แต่ปัจจุบันมีสงครามรัสเซีย-ยูเครนเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะคล้ายเหตุการณ์ในอดีต


สำหรับไทยนั้นยังเผชิญเงินเฟ้อที่สูงและเงินบาทอ่อนค่าหลุด 34 บาทต่อดอลลาร์ทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออก ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยหลายมาตรการสิ้นสุดลงแล้ว เช่น คนละครึ่งเฟส 4การตรึงราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 30 บาท แม้จะมีเม็ดเงินเหลือกระตุ้นเศรษฐกิจ 7.4 หมื่นล้านบาทเชื่อว่าจะใช้โครงการที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น ดังนั้นมองว่าไทยต้องมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย1 ครั้งในปลายปี 


อย่างไรก็ตาม หากมองดู  valuation หุ้นไทยขณะนี้อยู่ที่ 1,810 จุด ซึ่งหากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้ง ดัชนีหายไป 88 จุดมาอยู่ที่  1,722 จุด ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้น 3 กลุ่มคือ 1. เปิดเมืองชื่นชอบ BH (FV@190 ) CPALL (FV@75) 2.หุ้นแนวโน้มไตรมาส 2 กำไรเด่นและฟื้นตัวได้ดีคือ IVL (FV@56 ) GPSC ([email protected]) 3. หุ้นมีปัจจัยบวกเฉพาะคือ BLA (FV@52) VNG ([email protected] ) มองกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1,600-1,710  จุด 


ลุ้นโอกาส Sell in May สถิติชี้เสี่ยงเกิด-นโยบายเฟดจ่อซ้ำ

 

สอดรับกับ น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยง   ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) มองว่า มีโอกาสเกิดขึ้น เนื่องจากเงินเฟ้อสหรัฐฯอยู่ระดับสูงทำให้เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยลดคิวที เพื่อดึงเงิน ออกจากระบบกระทบต่อ Fund Flow  ขณะที่ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่อง  แม้ว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่่านมาเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าหุ้นไทย แต่ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านเงินบาทอ่อนค่าเร็วมากก็มีเงินไหลออกบ้างยังไม่มีนัยยะ 


แต่เชื่อว่าการเปิดประเทศทำให้กิจกรรมกายในประเทศฟื้นตัวด้านกลยุทธ์การลงทุนเน้น Domestic - เปิดประเทศ ชื่นชอบ BEM (FV@10) MAJOR  ([email protected])  CPALL  (FV @75)  KBANK   (FV@176) ADVANC (FV@252)   

 




ลุ้นโอกาส Sell in May สถิติชี้เสี่ยงเกิด-นโยบายเฟดจ่อซ้ำ

เช่นเดียวกับนายสุนทร ทองทิพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย มองว่า มีโอกาสเกิดขึ้น จากปัจจัยหลักคือเฟดขึ้นดอกเบี้ย และการ Quantitative Tightening หรือQT เดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เกือบ 10 % ของวงเงินทั้งหมดอาจทำให้ดัชนีปรับตัวลง เพราะเฟดถอนสภาพคล่องออกจากระบบ 


ขณะที่ตลาดหุ้นขับเคลื่อนด้วยเงินทุนถ้าเงินทุนลดลงหุ้นขึ้นยากนอกจากนี้ถูกซ้ำเติมด้วยสงครามรัสเซีย-ยูเครนยิ่งทำให้เงินเฟ้อสูง สำหรับการลงทุนเน้นหุ้น 60-70% ขึ้นกับลูกค้ารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ชู Defensive Stock แนะนำ SPRC (FV@11)  ASIAN  ([email protected])   DTAC  ([email protected]KKP (FV@87) และ BH  (FV@ 175)  


ลุ้นโอกาส Sell in May สถิติชี้เสี่ยงเกิด-นโยบายเฟดจ่อซ้ำ

ปิดท้ายที่นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ ผู้อำนวยการอาวุโส บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)  ที่มองสวนทางว่า  ไม่น่าจะรุนแรง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ Sell in April ไปแล้วในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา และก่อนหน้านี้ตลาดรับรู้ข่าวไปบ้างแล้วว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 3-4 พ.ค.นี้ 0.50% และลดคิวที 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯยกเว้นว่าหากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด 0.75% เกิด Sell in May แน่นอน


ขณะที่ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน พุ่งขึ้น 6.6% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดรอบ 40 ปีนับตั้งแต่เดือนม.ค. 25 เชื่อว่าจะทำให้เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยตามแผนเดิม


อย่างไรก็ตาม นักลงทุนที่รับความเสี่ยงต่ำให้รอดูผลประชุมเฟดก่อน และค่อย ๆ ซื้อกลับหลังผลประชุมสิ้นสุด เน้นธีมผลประกอบการเด่นและมีปันผล แนะนำ DCC  ราคาเป้าหมาย  3.50  บาท  GFPT  ราคาเป้าหมาย 16.30  บาท PTG ราคาเป้าหมาย 17  บาท KTB  ราคาเป้าหมาย 18 บาท BE8 ราคาเป้าหมาย 50 บาท


ไม่ว่าในเดือนพ.ค.ปีนี้จะเกิดภาวะ Sell in May หรือไม่ แต่ที่ชัดเจนคือ ตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นโลกยังต้องเผชิญกับความผันผวนอย่างหนัก นักลงทุนจึงต้องระมัดระวัง อย่าผลีผลาม เพราะในช่วงตลาดหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนี้  หากทุ่มลงทุนผิดทาง อาจจะต้องติดดอยไปอีกยาวก็เป็นได้.....


ลุ้นโอกาส Sell in May สถิติชี้เสี่ยงเกิด-นโยบายเฟดจ่อซ้ำ

ที่มา  นายภราดร เตียรณปราโมทย์ น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยง  นายสุนทร ทองทิพย์  นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ  

ภาพประกอบ บล.เอเซีย พลัส บล.กสิกรไทย บล.ฟิลลิป บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) 


ข่าวแนะนำ