TNN online อัปเดต รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน -เร่งเคลียร์พื้นที่มักกะสันเดินหน้าก่อสร้างตามแผน

TNN ONLINE

Wealth

อัปเดต รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน -เร่งเคลียร์พื้นที่มักกะสันเดินหน้าก่อสร้างตามแผน

อัปเดต รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน -เร่งเคลียร์พื้นที่มักกะสันเดินหน้าก่อสร้างตามแผน

อัปเดต โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร เร่งเคลียร์พื้นที่มักกะสัน พัฒนาศูนย์กลางเชื่อม กทม.กับอีอีซี เชื่อมต่อการเดินทางสะดวกขึ้น พร้อมเปิดบริการในปี 2572

วันนี้( 7 เม.ย.65) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเผย ภาพรวมโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางของโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เดิม ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน  โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร ส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน

การ
โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ มีผู้เดินรถรายเดียวกัน

โครงการนี้ มีระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร โครงสร้างทางวิ่งมี 3 ประเภท ได้แก่

-ทางวิ่งยกระดับ ระยะทางประมาณ 211 กิโลเมตร

-ทางวิ่งระดับดิน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

-ทางวิ่งใต้ดิน ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร


สำหรับแนวเส้นทางจะผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง

มีสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา


รูปแบบการเดินรถมี 2 ประเภท คือ

-รถไฟธรรมดา (City Line) ให้บริการตั้งแต่สถานีดอนเมืองถึงสถานีสุวรรณภูมิ  ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

-รถไฟความเร็วสูง (HSR) ให้บริการตั้งแต่สถานีดอนเมืองถึงสถานีอู่ตะเภา ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)  ได้ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นการดำเนินการถอนสถาพและขอใช้ลำรางสาธารณประโยชน์ บริเวณที่ดินแปลงฉโนดเลขที่ 4159 และเลขที่ 4192 แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2565 เพื่อประโยชน์ในการบริการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยมีผู้แทนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังไม่ต่ำกว่า 150 คน  โดยมีสำนักงานบริหารสัญญาเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ดำเนินการจัดจ้างการจัดประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นการดำเนินการ ตามมาตรา 8 และมาตรา 9 ของประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้


ทั้งนี้ สกพอ.ในฐานะเจ้าของร่วมโครงการดังกล่าวเป็นผู้ยื่นหนังสือแสดงความประสงค์ขอถอนสภาพและขอใช้ลำรางสาธารณประโยชน์แทน ร.ฟ.ท. และในขณะที่ ร.ฟ.ท.ให้การสนับสนุนด้านข้อมูลการสำรวจพื้นที่ โดยมีหนังสือถึงกรมที่ดิน เมื่อวันที่ 11 ส.ค.2564 รวมทั้งสำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตราชเทวี เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2564 เพื่อพิจารณาขอใช้และขอถอนสภาพลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าว


สำหรับ สถานะโครงการปัจจุบัน ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับภาคเอกชนแล้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 สำหรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2572


Youtube การรถไฟแห่งประเทศไทย Official (red arrow right) https://youtu.be/08PdJb03_Do


ที่มา : การรถไฟแห่งประเทศไทย 

ภาพประกอบ : 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง