TNN online ส่องหุ้นได้-เสียประโยชน์ รัสเซียถล่มยูเครน

TNN ONLINE

Wealth

ส่องหุ้นได้-เสียประโยชน์ รัสเซียถล่มยูเครน

ส่องหุ้นได้-เสียประโยชน์  รัสเซียถล่มยูเครน

รัสเซียโจมตียูเครนกลายเป็นความเสี่ยงใหญ่ของเศรษฐกิจโลกและไทย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความไม่แน่นอนสูงมีความเสี่ยงกระทบต่อ ตลาดหุ้นทั่วโลก-หุ้นไทยหากสถานการณ์ยืดเยื้อบานปลาย ส่วนหุ้นกลุ่มได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ตามไปดูกันเลย

บล.กสิกรไทยระบุว่า  ตลาดหุ้นโลกปั่นป่วนกันเป็นทิวแถวหลังรัสเซียถล่ม-ยูเครน  ขณะที่หลายประเทศชาติในตะวันออกออกมาตรการคว่ำบาตร บอยคอตรัสเซีย ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวจะมากน้อยแค่ไหนนั้นจากสมมติฐานต่อสงคราม เรามองกรณีต่างๆเป็นดังนี้


1.สงครามกินวงกว้างมากขึ้น: ความเป็นไปได้อาจจะน้อยกว่าที่ 10%สงครามกินวงกว้างมากขึ้น (ทั่วทวีปยุโรป/ทั่วโลก) มีความเป็นไปได้น้อยมาก จากทั้ง 2 ฝั่ง เพราะกระแสสังคมไม่เอาด้วย 


2.สงครามกินวงแคบ : มีความเป็นไปได้อยู่ที่มากกว่า 90%การผนวกแคว้น Donbas/Donetsk-Lugansk และการปิดเกมส์ของปูติน  แบ่งเป็น 6 กรณีดังนี้


2.1 การเปลี่ยนผู้นำประเทศในกรุงเคียฟ : ความเป็นได้อยู่ที่ 20%"ประธานาธิบดีเซเลนสกีลงจากตำแหน่งและผู้สนับสนุนปูตินขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน" ซึ่งจะส่งผลให้มีการผนวกเข้ากับรัสเซีย (เช่นที่ Crimea เมื่อปี 2557) 


2.2 การเปลี่ยนผู้นำประเทศในกรุงเคียฟ : ความเป็นไปได้อยู่ที่ 20%"ประธานาธิบดีเซเลนสกีลงจากตำแหน่งและผู้สนับสนุนปูตินขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน "

แต่ไม่มีการรุกล้ำดินแดน เป็นเพียงแค่รัฐที่เป็น “เกราะกำบัง” 


2.3 การเปลี่ยนผู้นำประเทศในกรุงเคียฟ  : ความเป็นไปได้อยู่ที่ 20%"ประธานาธิบดีเซเลนสกีลงจากตำแหน่ง"  แต่ยูเครนกลายเป็นรัฐที่มีสถานะ “เป็นกลาง”

 และได้รับการการันตีเรื่องความปลอดภัยจากสหรัฐฯ/NATO/สหภาพยุโรป 


2.4 ไม่มีการเปลี่ยนผู้นำประเทศ – ความเป็นไปได้อยู่ที่ 10% เซเลนสกียอมรับความพ่ายแพ้และยังดำรงตำแหน่งตามเดิม ขณะที่รัสเซียผนวก Donbas เข้ากับรัสเซีย 


2.5 ยูเครนสู้ตาย สงครามยืดเยื้อ : ความเป็นไปได้อยู่ที่ 20%เช่น อัฟกานิสถาน เมื่อทศวรรษ 1980


2.6 กรณีเลวร้ายที่สุด: ความเป็นไปได้อยู่ที่ 10%ปูตินและ/หรือ NATO-สหรัฐฯ-สหภาพยุโรป มีปฏิกิริยาตอบโต้เกินเหตุ 


กลยุทธ์ “ซื้อเมื่อย่อตัว” เนื่องจากตลาดมักดีดตัวขึ้นเสมอหลังจากการรุกรานทางการทหารเกิดขึ้น เราเชื่อว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจากความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครนน่าจะเป็น


-  ผลบวกต่อกลุ่มพลังงาน PTTEP ราคาเป้าหมาย 130 บาท , BANPUราคาเป้าหมาย  12 บาท , BCP  ราคาเป้าหมาย  31.25 บาท แล TOP  ราคาเป้าหมาย 60.80 บาท


-  ผลลบต่อกลุ่ม anti-commodities :  BGRIM ราคาเป้าหมาย  61 บาท  GULF ราคาเป้าหมาย 46.75 บาท GPSC ราคาเป้าหมาย  85 บาท PTG  ราคาเป้าหมาย 16.60 บาท OR ราคาเป้าหมาย 30.70 บาท EPG ราคาเป้าหมาย 12 บาท PTTGC ราคาเป้าหมาย 60.50 บาท CBG ราคาเป้าหมาย  111 บาท OSP  ราคาเป้าหมาย 40.50  บาท  


TOA  ราคาเป้าหมาย 31 บาท RBF  าคาเป้าหมาย 21.50 บาท AAV ราคาเป้าหมาย  3.51 บาท และ BA ราคาเป้าหมาย  12.58 บาทอย่างไรก็ตาม หากมีการทำข้อตกลงทางการทูต นักลงทุนอาจเปลี่ยนไปซื้อหุ้นกลุ่ม anti-commodities และขายกลุ่มพลังงาน


ที่มา บล.กสิกรไทย 

ภาพประกอบ บล.กสิกรไทย 

ข่าวแนะนำ