TNN online ล็อกเป้าลงทุน 6 หุ้นเด่นฝ่าสงครามรัสเซีย-ยูเครน

TNN ONLINE

Wealth

ล็อกเป้าลงทุน 6 หุ้นเด่นฝ่าสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ล็อกเป้าลงทุน 6 หุ้นเด่นฝ่าสงครามรัสเซีย-ยูเครน

โบรกมองหุ้นไทยยังเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์รัสเซียเปิดฉากปะทะยูเครนอย่างดุเดือด มองกรอบการเคลื่อนไหวสัปดาห์หน้าไว้ที่ 1,660-1,700 จุด ล็อกเป้าลงทุน 6 หุ้นเด่น

นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ ผู้อำนวยการอาวุโส บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)  เปิดเผยว่า การที่รัสเซียเปิดฉากใช้ปฏิบัติการทางทหารเต็มรูปแบบในยูเครนในวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกลงหนัก  ขณะที่หุ้นไทยปรับตัวลง 2%  หลังจากนั้นในวันที่ 25 ก.พ.ดีดปรับตัวขึ้นเป็นผลมาจาก ตลาดตอบรับเชิงลบมากแล้ว แต่จากนี้ไปจะต้องดูว่าไปชาติตะวันตก นำโดยสหรัฐฯและยุโรป NATO จะใช้มาตรการตอบโต้อย่างไร  


โดยเบื้องต้นใช้มาตรการคว่ำบาตรด้านการเงิน ระงับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากท่อ Nord Stream 2 และอาจยกระดับมาตรการเพื่อกดดันรัสเซียเพิ่มเติม โดย กรณีเลวร้าย NATO ใช้ปฏิบัติการทางทหารตอบโต้ ยูเครนไม่ยอมปฏิบัติตามความต้องการของรัสเซียตลาดหุ้นไทยปรับฐานแรงดัชนีหลุด 1,600 จุด  แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นต่ำที่สุด หากพิจารณาจากการส่งสัญญาณที่จาก NATO บวกกับสถานะของยูเครนยังไม่ใช่หนึ่งในสมาชิก NATO


ทั้งนี้หากชาติตะวันตกยกระดับที่รุนแรงขึ้นกว่าในปัจจุบัน  เช่น กรณีคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย เป็นต้น น่าจะส่งผลให้ SET สร้างฐานบริเวณเหนือ 1,620 จุด หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ฟื้นตัวซึ่งแนวทางนี้มีความเป็นไปได้มากสุด

 

ขณะเดียวกันหากรัฐบาลยูเครนยอมทำตามความต้องการของรัสเซียไม่เข้า NATO และเสียดินแดนบางส่วน และมาตรการตอบโต้จากชาติตะวันตกไม่รุนแรงมากขึ้นกว่าปัจจุบัน โดยตลาดรับรู้แล้วอาทิ  การคว่ำบาตรทางการเงิน คว่ำบาตรรายบุคคล เป็นต้น เช่นเดียวกับรัสเซียที่ยอมยุติปฏิบัติการทางทหารหลังบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ โอกาสเกิดขึ้นปานกลาง จะทำให้ตลาดหุ้นกลับมารีบาวด์ไม่แย่


ทั้งนี้ช่วงตลาดผันผวนยังคงมองเป็นโอกาสในการลงทุน โดยแบ่งหุ้นออกเป็น 3 กลุ่ม

1.Expectation: ปรับตัวลงแรง และมีโอกาสฟื้นตัวแรง

PSL (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 20.5 บาท) คาดอุปสงค์สินค้าแห้งเทกองยังแข็งแกร่ง สอดคล้องกับรัฐบาลจีนที่ยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ในขณะที่เรือสั่งต่อใหม่มีเพียง 6.88% ของกองเรือโลก ต่ำสุดในรอบ 20 ปี สอดคล้องกับการฟื้นตัวของดัชนีค่าระวางเรือ +58.25% MTD


MINT (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 35 บาท) ราคาหุ้นอยู่ในจุดที่น่าสนใจสะสมลงทุน โดนผลกระทบเชิงลบจาก sentimentสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ในฐานะหนึ่งในหุ้นที่ดำเนินธุรกิจในยุโรป ในขณะที่แนวโน้มปี 65 น่าจะเริ่มฟื้นตัวตามสถานการณ์โควิดที่ดีขึ้น


2.Earnings: มีแรงหนุนจากแนวโน้มกำไรเด่น

KKP (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 80 บาท) ตั้งเป้าปี 2565 สินเชื่อขยายตัว 12% และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อลดลงแตะ 5.1% (เทียบกับ 5.3% ในปี 64) เนื่องจากธนาคารมีแผนที่จะขยายสินเชื่อคุณภาพดีในกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อองค์กร ต้นทุนสินเชื่อน่าจะลดลงเหลือ 'น้อยกว่า 220bps' ในปี 65 จาก 265bps


OSP (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 41 บาท) แนวโน้มกำไรปี 2565 ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของยอดขายเครื่องดื่มทั้งในและต่างประเทศ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และโรงงานเครื่องดื่มในเมียนมาร์จะได้ผลบวกจากอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง ส่วนโรงงานแห่งใหม่ในเมียนมาร์ซึ่งผลิตขวดแก้วจะเริ่มผลิตได้ใน 1H65


3.Outperformer: แข็งกว่าตลาด

- ASK (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 55 บาท) แนวโน้มพอร์ตสินเชื่อขยายตัว พร้อมกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น อัตราส่วน NPL Ratio ลดลง และได้แรงหนุนจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมจากการขายประกัน


JMT (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 80 บาท) แนวโน้มกำไรปี 2565 ยังคงดีต่อเนื่อง ได้แรงหนุนจากจากการขยายพอร์ตหนี้คาดขยายตัวระดับ +50%YoY หนุนยอดเก็บเงินสดและกำไรสุทธิขยายตัวเด่น


อย่างไรก็ตาม มองกรอบการเคลื่อนไหวสัปดาห์หน้าไว้ที่ 1,660-1,700 จุด ด้านปัจจัยที่ต้องติดตามเป็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) แถลงผลงานรอบครึ่งปีต่อสาธารณชนที่สภาครองเกรส และติดตามการผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี)วันที่ 15-16 มี.ค.ว่าจะส่งสัญญาดอกเบี้ยอย่างไร


ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านี้นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์สนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ย 1% ในเดือนมี.ค.ใช้ยาแรงสกัดเงินเฟ้อ แต่ในปัจจุบัน consensusคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.5% หลังจากเกิดปมขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน เนื่องจากเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูงและอาจทำให้เฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย หรืออาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25% 


สำหรับเศรษฐกิจไทยแม้ว่าไม่ได้เชื่อมต่อกับรัสเซียและยูเครนมากนัก แต่ถ้าราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นจากปมขัดแย้งดังกล่าวจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย   


ขณะที่การค้าระหว่างไทยกับรัสเซียและยูเครนมีสัดส่วนที่น้อย แต่การท่องเที่ยวรัสเซียเป็นประเทศที่นิยมเที่ยวไทย แต่ปัญหาโควิดทำให้การเดินทางมาน้อยลง นอกจากนี้ต้องติดตามการประกาศงบไตรมาส 4/64 ของบจ.โค้งสุดท้าย สถานการณ์โควิดที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น 


ที่มา  บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) 

ภาพประกอบ  บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)

ข่าวแนะนำ