TNN online ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ

TNN ONLINE

Wealth

ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ

ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ

ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยค่อยๆ ฟื้นตัว จากการแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ยังไม่สิ้นสุด การท่องเที่ยวที่เป็นปัจจัยสำคัญยังไม่กลับมา เสาหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2565 จึงยังอยู่ที่การใช้จ่ายของภาครัฐ และการส่งออกเป็นสำคัญ แต่ปัจจุบันนโยบายภาครัฐให้ความสำคัญกับการส่งออกของ SMEs และ Micro SMEs มากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกในรูปแบบใหม่ๆ เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการจ้างงาน กระจายรายได้ได้ทั่วถึง มีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้ แต่จะดำเนินการได้หรือไม่ ได้อย่างไร ติดตามได้ในรายงาน


ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ


จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังทยอยฟื้นตัว การแพร่ระบาดของโควิด 19 ยังไม่ยุติ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เคยสูงระดับ 40 ล้านคนต่อปี คาดจะลดลงมาเหลือราว 5.6  ล้านคนในปี 2565 ทำให้เครื่องยนต์ในภาคการส่งออกต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อชดเชยภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่กลับมา และให้การส่งออกช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ 

โดยในส่วนของผู้ประกอบการขนาดใหญ่อาจไม่จำเป็นต้องประคบประหงมมาก เนื่องจากมีศักยภาพและความเชี่ยวชาญในตลาดส่งออกอยู่แล้ว บวกกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มปรับดีขึ้น เงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ภาครัฐจึงดูแลให้หลักเกณฑ์การค้าไม่เป็นอุปสรรค อำนวยความสะดวกในการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ให้การค้าดำเนินได้ต่อเนื่องเป็นสำคัญ


แต่สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs) และผู้ประกอบการธุรกิจรายเล็ก (Micro SMEs) นโยบายภาครัฐเน้นส่งเสริมมากขึ้น เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการกระจายการเติบโตให้ทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำ เสริมสร้างรากฐานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ โดยกระทรวงพาณิชย์ก็ให้ความสำคัญกับการส่งเสริม SMEs และ Micro SMEs ให้มีการส่งออกมากขึ้นให้การส่งออกเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ต่อเนื่อง


โดยในปี 2565 กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าการส่งออกขยายตัวที่ 3 – 4 % หรือมี มูลค่า 2.8 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2565 สูงขึ้นจากปี 2564 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 16% มีมูลค่าราว 2.68 แสนล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดส่งออกโต 18% ในปี 2564 และโต 3.5% ในปี 2565 ภายใต้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ในปี 2565 ที่ 3.4% สูงขึ้นจากปี 2564 ที่ 0.9%

   ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ


ถามว่า SMEs และ Micro SMEs มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ ทำไมภาครัฐถึงให้ความสำคัญมากขึ้น หากพิจารณาข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่า ปัจจุบัน SMEs มีจำนวน 3,176,055 ราย เป็นกลุ่มวิสาหกิจรายย่อย (Micro) มากที่สุดคิดเป็น 85.47% // รองลงมาเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (Small) คิดเป็น 13.18% //และวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) คิดเป็น 1.35% จากปริมาณที่มากและเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ SME เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจประเทศ โดย ปัจจุบัน SME และ Micro SME สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 35% ของ GDP  และที่สำคัญยังมีการจ้างงานสูงถึง 85% ของการจ้างงานโดยรวม ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงต้องให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME และ Micro SME เพราะถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย

ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ


ทั้งนี้ พอจะสรุปความสำคัญของ SME และ Micro SME ต่อระบบเศรษฐกิจไทยได้ ดังนี้ เริ่มจาก SME และ Micro SME สร้างความหลากหลายให้กับระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากทำให้เกิดธุรกิจประเภทต่างๆ มากมาย // ทำให้เกิดการจ้างงาน และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ // สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบในประเทศ และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจนำวัตถุดิบท้องถิ่นแต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาคมาผลิตเป็นสินค้า ก่อให้เกิดรายได้กลับไปที่ชุมชน หรือท้องถิ่นนั้นๆ

 

นอกจากนี้ ธุรกิจ SME และ Micro SME ยังเข้าไปอยู่ตลอดทั้งกระบวนการธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่ “ต้นน้ำ” คือ วัตถุดิบ และการผลิต “กลางน้ำ” ผลิต และกระจายสินค้า “ปลายน้ำ” คือ หน้าร้าน ไม่ว่าจะรูปแบบออนไลน์ หรือออฟไลน์ รวมถึงส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายจะเข้าไปอยู่ในแต่ละส่วนของ Business Supply Chain // เป็นธุรกิจที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการส่งเสริมซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นเชื่อมโยงกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น SME และ Micro SME เป็นผู้ผลิตสินค้าป้อนให้กับธุรกิจใหญ่ หรือเชื่อมโยงกับภาคการผลิตท้องถิ่น หรือชุมชน และเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ประกอบการ SME และ Micro SME ด้วยกันเอง 


และยังทำให้ผู้บริโภคมี “ทางเลือก” สินค้าและบริการมากขึ้น ตอบโจทย์ในยุคที่ผู้บริโภคมีไลฟ์สไตล์หลากหลาย // ป้องกันการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ // และยังเพิ่มศักยภาพ และความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศ

ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ


จากความสำคัญของ SMEs ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) //สมาคมธนาคารไทย //สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) //สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย // และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือ SMEs ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น ผ่านโครงการ Digital Supply Chain Finance ภายใต้แผนงาน Smart Financial and Payment Infrastructure for Business โดยไม่ต้องใช้เอกสารจำนวนมาก หรือหลักกันประกันที่ซับซ้อนเหมือนในอดีต


ทั้งนี้ โครงการ Digital Supplychain Finance รวมถึงข้อมูลทางเลือกอื่นๆ เช่น ประวัติการชำระค่าสาธารณูปโภค //ค่าใช้จ่ายรายเดือนโทรศัพท์มือถือ //การซื้อขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น จะถูกจัดส่งให้บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) และด้วยเทคโนโลยี AI และ Data Analytics ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะช่วยให้ข้อมูลเหล่านี้กลายเป็นทางเลือกในการเข้าถึงสินเชื่อได้  โครงการนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับธุรกิจ SMEs ให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนประเทศก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2565 และโครงการนี้ธปท.ยังมองว่าเป็น game changer ที่ช่วยผลักดันการชำระเงินดิจิทัลของภาคธุรกิจสู่กระแสดิจิทัล 


ทั้งหมด ที่ธปท.เร่งดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เร่งปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนให้ SMEs แลกกับการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองใช้เป็นการชั่วคราวในช่วง 1 มกราคม 2565 - 31 ธันวาคม 2566 นี้ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ภาครัฐพยามทำเพื่อให้ SMEs อยู่รอดและกลายมาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต

 

ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ


เช่นเดียวกับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่จัดทำโครงการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs Pro -active Program มาต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทยในตลาดโลก สนับสนุนให้ SMEs สามารถขยายช่องทางในตลาดต่างประเทศด้วยตนเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกผ่านช่องทางการค้ารูปแบบใหม่ๆ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 คือ ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2556-2558 สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ได้ 2,600 ราย //ช่วยให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าและกิจกรรมเจรจาในต่างประเทศ 427 งาน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 8,600 ล้านบาท 


และระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2559-2561 สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการได้ 1,747 ราย เข้าร่วมงานแสดงสินค้าและกิจกรรมเจรจาในต่างประเทศ 520 งาน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 8,520 ล้านบาท โดยโครงการนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งออกทางเรือแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งทั้ง 2 ระยะ ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการได้ 4,347 ราย เข้าร่วมกิจกรรม 947 ราย เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 17,120 ล้านบาท

 

ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ

 

โดยที่ผ่านมา SMEs Pro -active Program ได้สนับสนุนผู้ประกอบการ แบ่งตามประเภทสินค้า ดังนี้ สินค้าอุตสาหกรรม 27% //สินค้าอาหาร 27% //สินค้าไลฟ์สไตล์ 19% // สินค้าแฟชั่น 14% // สินค้าความงาม 14% // ธุรกิจบริการ 3% และเบ่งการผลักดันในแต่ละตลาด เป็น ตลาดเอเชียตะวันออก 32% //อาเชียน 23% //ยุโรปตะวันตก 17% นอกนั้นก็เป็นตลาดในอเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออกและอื่นๆ อย่างละ 5-6% อย่างไรก็ดีเป็นที่น่ายินดีว่ากลุ่มธุรกิจที่ได้รับการผลักดัน 91% ได้พบลูกค้าในกลุ่มเป้าหมาย


ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถขยายตลาดในต่างประเทศ //ได้ตัวแทนจำหน่าย //ทราบข้อมูลทางการตลาด //เรียนรู้การทำธุรกิจจากประสบการณ์ตรง //ทราบข้อมูลเทคโนโลยีการผลิต //ได้สำรวจความต้องการผู้บริโภค และมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต

ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ


จากผลสำเร็จของโครงการในระยะที่ผ่านมา ทำให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ดำเนินการต่อเนื่องมาในโครงการในระยะที่ 3 ในปีงบประมาณ 2562 – 2565 ซึ่งจะเปิดรับผู้ประกอบการ ที่คุณสมบัติ คือ


1.คุณสมบัติผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ คือ ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ที่มีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ไม่เกิน 500 ล้านบาท // เป็นสมาชิกกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) //เป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรม หรือ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

   

2.หากไม่เคยส่งออก สามารถเข้าร่วมโครงการโดยต้องผ่านหลักเกณฑ์ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ //เข้างานของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ //เป็น NEW ECONOMY ACADEMY และอบรมกับ NEA หรือ หลักสูตรอื่นที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศรับรอง


3.ลักษณะกิจกรรม วงเงินสนับสนุน และจำนวนสิทธิ์ มีให้เลือกกว่า 900 งานหรืองานอื่นๆที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเจรจาธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ //งานแสดงสินค้ารูปแบบ  Hybrid มีวงเงินสนับสนุน 2 แสนบาท จำนวน 6 สิทธิ์ //งานแสดงสินค้าและบริการเสมือนจริง วงเงินสนับสนุน 5 หมื่นบาท จำนวน 6 สิทธิ์ // Business Opportunities & Partnership (BOP) : การเข้าร่วมกิจกรรมสร้างโอกาสทางการค้าและเครือข่ายทางธุรกิจในต่างประเทศ //กิจกรรมเจรจาการค้าแบบ Pre-Scheduled Face to Face Meeting และ Networking //กิจกรรมการนำเสนอผลงานเพื่อขยายและหรือระดมทุน เช่น การประกวดแข่งขัน การนำเสนอผลงานทางธุรกิจ //กิจกรรมเจรจาธุรกิจในรูปแบบ Showroom ในช่วงการจัดงาน Fashion Week วงเงินสนับสนุน 2 แสนบาท จำนวน 6 สิทธิ์ 

ดัน SMEs-Micro SMEs ลุยส่งออก เสริมแกร่งเศรษฐกิจ


ทั้งนี้ กระทรวงพาณิยช์ ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการมีโอกาสได้เรียนรู้ธุรกิจ นวัตรกรรมในช่องทางใหม่ๆ จากการทำธุรกิจจริง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือ SMEs และ Micro SMEs ให้สามารถบุกตลาดต่างประเทศได้ทั่วโลก ซึ่งจะรอบจะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่ต้องการขอรับการสนับสนุนรอบใหม่เพิ่มจนถึง 20 มกราคม 2565 นี้ เพื่อเพิ่มจำนวนสัดส่วนผู้ประกอบการรายเล็ก 10-15% เพื่อเปิดโอกาสทางการค้าในปี 2565  ให้เป็นรูปธรรม โดยประเภทสินค้าที่ได้รับการอนุมัติมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าอาหาร โดยเป็นกิจกรรมในประเทศแถบภูมิภาคอาเซียนมากที่สุด รองลงมาเป็นประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออก 


และด้วยปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงส่งทบกระทบโดยตรงต่อการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจึงขยายระยะเวลาในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการที่ขอรับการสนับสนุนกิจกรรมภายใต้โครงการถึงเดือนมิถุนายน 2565 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถยกเลิกการเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียสิทธิ์ หรือเข้าร่วมงานโดยใช้เอเจนต์ ล่าม หรือผู้แทน เป็นผู้เข้าร่วมงานได้ แต่ทั้งหมดจะช่วยให้ SMEs มีทักษะในการเรียนรู้ตลาด และมีโอกาสหาคู่ค้าได้มากขึ้น และจะสามารถเติบโตไปสู่การส่งออกได้มากขึ้น แต่จะมีส่วนทำให้การส่งออกไทยในปีนี้เตบิโตได้ตามเป้าที่ 3-4% หรือไม่ยังต้องติดตาม 


ข่าวแนะนำ