TNN จีน-รัสเซีย จ่อร่วมมือด้านพลังงาน แม้ชาติตะวันตกเลิกใช้น้ำมัน-ก๊าซรัสเซีย

TNN

วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน

จีน-รัสเซีย จ่อร่วมมือด้านพลังงาน แม้ชาติตะวันตกเลิกใช้น้ำมัน-ก๊าซรัสเซีย

จีน-รัสเซีย จ่อร่วมมือด้านพลังงาน แม้ชาติตะวันตกเลิกใช้น้ำมัน-ก๊าซรัสเซีย

จีน-รัสเซียเผย เตรียมกระชับความสัมพันธ์ด้านพลังงาน ขณะที่อียูจ่อเลิกใช้น้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย

สำนักข่าว SCMP รายงานว่า จีนยังคงเป็นผู้ซื้อน้ำมันรายใหญ่ของรัสเซีย และไม่มีท่าทีว่าจะร่วมวงคว่ำบาตรกับชาติตะวันตกในเร็ว  นี้ 


---สายสัมพันธ์จีน-รัสเซีย---


ผู้สังเกตการณ์ในจีน คาดการณ์ว่า ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างจีนและรัสเซียจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากยุโรปมองว่าจะเลิกใช้น้ำมันและก๊าซของรัสเซีย หลังวิกฤตยูเครนยุติลง


การประเมินดังกล่าว เกิดในระหว่างการสัมมนาที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่ง โดยกลุ่มนักวิจัยทางการทูตจีนที่ตรวจสอบผลกระทบของสงครามที่มีต่อจีนและเศรษฐกิจโลก


ด้านรัสเซียซึ่งผลิตน้ำมันประมาณ 10% ของน้ำมันทั่วโลก และจ่ายก๊าซให้กับยุโรป 40% ก่อนเริ่มปฏิบัติการทางทหารในยูเครน ดูเหมือนจะไม่หวั่นไหว แม้จะถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการเงิน


---พันธมิตรเอเชียคู่ค้าหลักรัสเซีย---


ประเทศเศรษฐกิจอันดับต้น  ในเอเชีย เป็นหนึ่งในผู้ซื้อน้ำมันและก๊าซของรัสเซียที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่ราย 


หลี่ เหว่ย รองศาสตราจารย์ประจำสถาบันการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยเหรินหมิน กล่าวว่า อินเดียเพิ่มการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย โดยได้ส่วนลดต่าง  มากมาย ในขณะที่จีนผู้นำเข้าที่มีเสถียรภาพ ซื้อน้ำมันของรัสเซียประมาณ 25% 


ตราบใดที่จีนไม่เข้าร่วมในการคว่ำบาตร รายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบ 1 ใน 4 ของรัสเซีย ก็จะอยู่รอดปลอดภัย” หลี่ กล่าว


อย่างไรก็ตาม คาดว่า การที่จีนปฏิเสธที่จะประณามการบุกยูเครนของรัสเซีย อาจช่วยเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวของรัสเซียให้ยังไปต่อได้


---งดประฌาม-งดคว่ำบาตร---


หลี่ระบุว่า จีนไม่น่าจะคว่ำบาตรรัสเซียตามชาติตะวันตก


เป็นที่ชัดเจนว่า จีนไม่จำเป็นต้องร่วมมือกับชาติตะวันตก ในประเด็นการนำเข้าน้ำมันและก๊าซ ไม่ว่าจะในแง่ของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือเชิงกลยุทธ์” หลี่ กล่าว


หลายสัปดาห์ก่อนการโจมตียูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ได้ต้อนรับประธานาธิบดีของรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ในกรุงปักกิ่ง และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในเอกสารหลายฉบับ เกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงาน ส่วนหนึ่งของการเป็นหุ้นส่วนที่ “ไร้ขีดจำกัด


สี่วันหลังปูตินเริ่มปฏิบัติการทางทหารในยูเครน บริษัทก๊าซยักษ์ใหญ่ของรัสเซีย Gazprom ประกาศว่า ได้บรรลุข้อตกลงกับมองโกเลีย ในการสร้างท่อส่งก๊าซจากแหล่งก๊าซในภูมิภาคยามาลไปยังจีน ผ่านส่วนการขนส่งในมองโกเลีย ระยะทาง 963 กิโลเมตร


ทั้งนี้ การก่อสร้างคาดว่า จะเริ่มในปี 2024 และเมื่อแล้วเสร็จจะอนุญาตให้ส่งก๊าซไปยังจีนได้มากถึง 5 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะเป็นการขยายการค้าก๊าซระหว่างสองประเทศอย่างมีนัยสำคัญ 


---ลดพึ่งพาพลังงานรัสเซียทำได้จริงหรือ?---


ก่อนหน้านี้ มีการเชื่อมต่อท่อส่งก๊าซ Power of Siberia อยู่แล้ว โดยเริ่มสูบจ่ายน้ำมันในปี 2019 และตั้งเป้าที่จะจัดหาอีก 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเต็มกำลังการผลิต ภายในปี 2025 จากยากูเทียที่อุดมด้วยก๊าซ ในรัสเซียตะวันออกอันไกลโพ้น


กุย โส่วจุน รองคณบดีวิทยาลัยการปกครองระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเหรินหมิน กล่าวว่า เมื่อเสร็จสิ้นเส้นทางมองโกเลีย หรือที่เรียกว่าท่อส่ง Soyuz Vostok จะสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางตะวันตกของรัสเซียที่ส่งไปยุโรป และสูบน้ำมันไปยังจีนแทน


จากมุมมองระยะกลางถึงระยะยาว หลังจากที่รัสเซียสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในยุโรป ก็จีนเข้ามาแทนที่” กุย กล่าว และว่า การยกระดับความร่วมมือด้านพลังงานกับรัสเซีย สามารถช่วยส่งเสริมการใช้หยวนทั่วโลก


---ผลักดันเงินหยวนสู่สกุลเงินสากล---


เจ้าหน้าที่รัสเซียได้แสดงความสนใจในการใช้สกุลเงินหยวน ในการค้าขายกับจีน ด้านอิหร่าน ซึ่งเผชิญกับการคว่ำบาตรอย่างเข้มงวดจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เกี่ยวกับประเด็นโครงการนิวเคลียร์ ได้ใช้เงินหยวนแทนดอลลาร์สหรัฐฯ ในการชำระเงินธุรกรรมน้ำมัน


เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานว่า ซาอุดิอาระเบียกำลังพิจารณารับเงินหยวนในข้อตกลงน้ำมันกับจีน โดยจีนซื้อน้ำมันมากกว่า 25% ที่ส่งออกโดยซาอุดิอาระเบีย ประเทศที่มีน้ำมันสำรองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากเวเนซุเอลา


ทั้งนี้ ความต้องการโรงงานก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ที่แข็งแกร่ง อาจกระตุ้นการใช้เงินหยวนได้มากขึ้น เนื่องจากประเทศต่าง  ในยุโรป วางแผนที่จะยุติการใข้ก๊าซรัสเซียและกระจายอุปทานของตน เช่น ซื้อจากสหรัฐฯ ซึ่งให้คำมั่นที่จะขยายการจัดส่ง LNG ไปยังยุโรป


ประเทศอย่างสหรัฐฯ ไม่มีเรือขนส่ง LNG ที่เพียงพอ และจีนมีขีดความสามารถในการต่อเรือขนส่ง LNG ที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลก” กุย กล่าว


จีนมีเรือหลายลำและสามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเรือ LNG ขนาดใหญ่สามารถนำก๊าซกลับมาได้ และยังช่วยส่งเสริมการใช้เงินหยวนทั่วโลกอีกด้วย

————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Reuters


ข่าวที่เกี่ยวข้อง