TNN online ข่าวบิดเบือน! ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน เสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

TNN ONLINE

TNN Fact Check

ข่าวบิดเบือน! ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน เสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ข่าวบิดเบือน! ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน เสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เผย กรณีที่มีการแชร์ระบุว่าใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน เสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท "เป็นข้อมูลบิดเบือน"

วันนี้ (12 มี.ค.65) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย Anti-Fake News Center Thailand ระบุว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในประเด็นเรื่องใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน เสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น "เป็นข้อมูลบิดเบือน"

จากกรณีที่มีการโพสต์เตือนโดยระบุว่าสาวๆ ที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงต้องระวังเอาไว้เสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบและชี้แจงประเด็นดังกล่าวว่า การสวมรองเท้าส้นสูง หรือความสูงของรองเท้า ไม่มีผลทำให้เกิดกระดูกกดทับเส้นประสาท แต่ควรเลือกสวมรองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมและสุขภาพ

เพราะถึงแม้ว่า ความสูงของรองเท้าจะไม่ได้มีผลโดยตรงต่อกระดูกสันหลัง แต่กล้ามเนื้อกลับต้องรับหน้าที่หนักในการที่จะพยุงร่างกายให้อยู่ในท่าทางต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือรู้สึกล้า โดยเฉพาะขาและกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างได้

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าวเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02 3069899

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การสวมรองเท้าส้นสูง หรือความสูงของรองเท้า ไม่มีผลทำให้เกิดกระดูกกดทับเส้นประสาท แต่กล้ามเนื้อต้องรับหน้าที่หนักในการพยุงร่างกายให้อยู่ในท่าทางต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือรู้สึกล้า

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


ข่าวบิดเบือน! ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน เสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


ข้อมูลและภาพจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง