TNN online ปรับกลยุทธ์ลงทุน Big Tech รับนโยบายการเงินโลกที่เปลี่ยนแปลง

TNN ONLINE

TNN Exclusive

ปรับกลยุทธ์ลงทุน Big Tech รับนโยบายการเงินโลกที่เปลี่ยนแปลง

ปรับกลยุทธ์ลงทุน Big Tech รับนโยบายการเงินโลกที่เปลี่ยนแปลง

ช่วงครึ่งปีหลังนโยบายการเงินทั่วโลกเข้มงวดมากขึ้น หลังจากที่สหรัฐเล็งขึ้นดอกเบี้ย-ปรับลดวงเงินคิวอี การไหลเวียนเงินทุนจากกลุ่มเดิมเริ่มย้ายไปกลุ่มที่ Outperform ปัจจุบันเริ่มเห็นการโยกเงินลงทุนเกิดขึ้น โดย วิศรุต จารุอนันตพงษ์ AFPT™ Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2021 กันแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่มีความท้าทายอย่างมากในสนามการลงทุน เนื่องจากนโยบายการเงินการคลังทั่วโลกกำลังมีทิศทางที่เข้มงวดมากขึ้น (Tighten) ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการปรับลดวงเงิน QE จากสหรัฐฯ อีกทั้งนักวิเคราะห์ทั่วโลกต่างเชื่อว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ทำให้เราเริ่มเห็นเค้าลางของเมฆฝนในอนาคตที่กำลังใกล้เข้ามา 


แต่อย่างไรก็ดี  ในสภาวะการลงทุนที่เปลี่ยนแปลง ย่อมเกิดการไหลเวียนของเงินทุนจากกลุ่มเดิมๆ ไปยังกลุ่มที่คาดว่าจะสามารถ Outperform ตลาดหุ้นในช่วงถัดไปได้ โดยในปัจจุบันการโยกย้ายเงินได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งกลุ่มที่ได้ประโยชน์ที่สุดในรอบนี้คือหุ้นในกลุ่ม Tecnology Sector 


จากมุมมองด้านนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่ออกมาหลังการประชุมของธนาคารกลางฯ ทำให้นักลงทุนเชื่อว่านโยบายการเงินจะเริ่มมีความตึงตัวมากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็น ประเด็นเรื่องการลดวงเงิน QE หรือการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าคาด ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 2 ปี เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 


ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรที่อายุยาวอย่างพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นได้ช้ากว่า ส่งผลให้ Yield Curve เริ่มแบนราบ ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า

Bear Flattening Yield Curve ซึ่งสถานการณ์นี้มักจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นโดยรวม โดยผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้น S&P 500 ตั้งแต่ปี 2011 ในช่วงที่เกิดภาวะ Bear Flattening จะให้ผลตอบแทนเป็นบวกราว 1.2% ต่อเดือน น้อยกว่าภาวะ Bear Steepening (ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วกว่าผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น) ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 1.6% ต่อเดือน 


อย่างไรก็ดี ในสภาวะดังกล่าว การลงทุนในกลุ่ม Information Technology สามารถ Outperform ตลาดหุ้นโดยรวมและกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ โดยหุ้นกลุ่ม Info. Tech. ปรับตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.2% ต่อเดือน นอกจากนั้นผลตอบแทนของหุ้นในกลุ่ม Consumer Discretionary และ Healthcare ก็ดีกว่าตลาดหุ้นโดยรวมเช่นเดียวกัน โดยสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย +1.6% และ 1.4% ต่อเดือน ตามลำดับ ดังแสดงในแผนภาพที่ 1

 

แผนภาพที่ 1: ตารางแสดงผลตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือนของหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ตามสภาวะ Yield Curve ในแต่ละรูปแบบ ตั้งแต่ปี 2011

ปรับกลยุทธ์ลงทุน Big Tech รับนโยบายการเงินโลกที่เปลี่ยนแปลง

สำหรับหุ้น Technology ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้มงวดของนโยบายการการเงินในระดับต่ำ อีกทั้งยังได้ประโยชน์จาก Fund Flow ในภาวะ Bear Flattening Yield Curve มักจะเกาะกลุ่มอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ซึ่งมีความแข็งแกร่งในแง่ของผลประกอบการที่บริษัทสามารถต่อรองหรือผลักภาระต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นให้กับผู้บริโภคได้ อาทิ FAAMG (Facebook, Amazon, Apple, Microsoft, Google)  


รวมถึงหุ้นในกลุ่ม Semiconductor ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงขาดแคลนสินค้าที่จะส่งต่อไปยังผลิตภัณฑ์ปลายน้ำอย่างการ์ดจอ (Graphic Card) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความทันสมัย ส่งผลให้ราคาของสินค้าในกลุ่มดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน 


ด้วยปัจจัยข้างต้นทั้งความแข็งแกร่งของผลประกอบการบริษัทฯ และการได้รับผลกระทบในระดับต่ำจากนโยบายการเงินที่ตึงตัว (Tighte ning) จะช่วยเป็นแรงสนับสนุนให้หุ้นในกลุ่ม Technology ขนาดใหญ่สามารถ Outperformance ตลาดได้ในอนาคต !!




ข่าวแนะนำ