TNN online ทองคำเมื่อเฟดทยอยถอนมาตรการ QE โดยฮั่วเซ่งเฮง

TNN ONLINE

TNN Exclusive

ทองคำเมื่อเฟดทยอยถอนมาตรการ QE โดยฮั่วเซ่งเฮง

ทองคำเมื่อเฟดทยอยถอนมาตรการ QE  โดยฮั่วเซ่งเฮง

ทองคำเมื่อเฟดทยอยถอนมาตรการ QE วิเคราะห์โดย ธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฮั่วเซ่งเฮง

GOLD BULLISH

  • การผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ
  •  ความต้องการทองคำจากจีนในปีนี้คาดเพิ่มขึ้น
  •  ปัจจัยทางด้านเทคนิคเป็นขาขึ้น


GOLD BEARISH

  • ธนาคารกลางสหรัฐอาจลดวงเงินมาตรการ QE
  • แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว 
  • การกระจายวัคซีนโควิด-19


การผ่อนคลายนโยบายการเงินของเฟดส่งผลบวกต่อทองคำ

มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อทองคำและตลาดหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ   เพราะทำให้มีสภาพคล่องในระบบมากขึ้นและมีเม็ดเงินไหลเข้าลงทุนในทองคำและตลาดหุ้น เมื่อย้อนกลับไปในช่วงที่เฟดใช้มาตรการ QE ในปี 2551 ในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์  ในช่วงระยะเวลาที่ใช้มาตรการ QE1 ทองคำปรับขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ในช่วงระยะเวลาที่ใช้มาตรการ QE2-QE3 ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นโดดเด่นกว่าทองคำ  สะท้อนให้เห็นว่าในระยะยาวแล้วการใช้มาตรการ QE ของเฟด  ส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นมากกว่าทองคำ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ทำให้นักลงทุนมีพฤติกรรม Search for yield  ยอมลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่า รวมทั้งการคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัส สำหรับมาตรการ QE ที่เฟดใช้รอบนี้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ในเดือนมี.ค.2563 เฟดได้ประกาศใช้มาตรการ QE วงเงินมากกว่า 7 แสนล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยเดือนมิ.ย.2563 เฟดประกาศใช้มาตรการ QE วงเงินไม่จำกัด โดยเข้าซื้อพันธบัตรและหลักทรัพย์ MBS  1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน ทำให้ขนาดของงบดุลของเฟดเพิ่มขึ้นอย่างมากสู่ระดับเกือบ 8 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน จากระดับราวเพียง 4 ล้านล้านดอลลาร์ก่อนเกิดโควิด และในช่วงระยะแรกที่เริ่มใช้มาตรการ QE รอบนี้ ทองคำปรับขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ในที่สุดตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นโดดเด่นกว่าทองคำ    

ขนาดงบดุลของเฟด

ทองคำเมื่อเฟดทยอยถอนมาตรการ QE  โดยฮั่วเซ่งเฮง  แต่ถ้าเฟดเริ่มทยอยถอนมาตรการ QE ทองคำจะเป็นอย่างไร

สัปดาห์ที่ผ่านมาการเปิดเผยรายงานการประชุม FOMC ที่มีการระบุว่ากรรมการเฟดส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะเริ่มปรับลดวงเงินมาตรการ QE ทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกเริ่มสั่นสะเทือนในช่วงแรก ราคาทองคำเคลื่อนไหวผันผวนทีเดียวในวันนั้นก่อนและหลังการเปิดเผยรายงานการประชุม FOMC และมีแรงเทขายทองคำออกมาหลังการเปิดเผยรายงานการประชุม FOMC แต่เป็นเพียงแค่ในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในเดือนมิ.ย.2555 ในช่วงที่เบน เบอร์นันเก้ อดีตประธานเฟด เคยส่งสัญญาณที่จะลดวงเงินในการทำมาตรการ QE ราคาทองคำลดลงราว 100 ดอลลาร์ และในช่วงหลังจากนั้นมีการเคลื่อนไหวผันผวนมากมายทั้งขึ้นและลง ซึ่งในเดือนก.ย.ที่เฟดส่งสัญญาณลดวงเงินในการทำมาตรการ QE อีกรอบ ราคาทองคำมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องราว 200 ดอลลาร์ อย่างไรก็ดีในช่วงที่เฟดเริ่มดำเนินการปรับลดวงเงินในต้นปี 2556  ราคาทองคำเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ประเมินว่าการที่เฟดจะลดวงเงินในการทำมาตรการ QE ในรอบนี้คาดจะเกิดขึ้นราวต้นปีหน้าและคาดจะทยอยลดวงเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผลกระทบทางลบต่อราคาทองคำน่าจะไม่รุนแรงเหมือนรอบก่อน 


สัปดาห์นี้แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดจะคาดปรับขึ้นทดสอบแนวต้าน 1,900 ดอลลาร์ สัปดาห์นี้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จีดีพีสหรัฐไตรมาส 1 ซึ่งเป็นประมาณการครั้งที่ 2 ตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น 6.4% เท่ากับประมาณการครั้งก่อน ดัชนีราคา PCE พื้นฐานของสหรัฐเดือนเม.ย. ตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 3.0% เมื่อเทียบรายปี สะท้อนให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐเร่งตัวสูงขึ้นและสูงเกินกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2.0% ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐอื่นๆ ที่จะประกาศสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่เดือนเม.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนเม.ย. ดัชนี PMI เขตชิคาโกเดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.

สัปดาห์นี้ทองคำ Spot มีแนวรับ 1,860 ดอลลาร์ และ 1,850 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 1,900 ดอลลาร์ และ 1,920 ดอลลาร์  ส่วนราคาทองแท่งในประเทศมีแนวรับ 27,650 บาท และ  27,500 บาท ขณะที่มีแนวต้านที่ 28,150 บาท และ 28,400 บาท 


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง