TNN online รู้ก่อนดื่ม! "น้ำแร่" คุณประโยชน์ล้น แต่คนบางกลุ่มไม่ควรดื่ม

TNN ONLINE

TNN Exclusive

รู้ก่อนดื่ม! "น้ำแร่" คุณประโยชน์ล้น แต่คนบางกลุ่มไม่ควรดื่ม

รู้ก่อนดื่ม! น้ำแร่ คุณประโยชน์ล้น แต่คนบางกลุ่มไม่ควรดื่ม

บนโลกนี้มี "น้ำแร่" อยู่หลายชนิด หลายยี่ห้อ รู้หรือไม่ว่าแต่ละชนิดมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ก็มีคนบางกลุ่มเช่นกัน ที่ไม่ควรดื่มน้ำแร่

จากกรณีที่มีข่าวดังไปทั่วประเทศ เมื่อกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พบแหล่ง "น้ำแร่โซดา" ที่บ้านทุ่งคูณ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ รสชาติหวาน ซ่า คล้ายโซดา ก่อนนำไปตรวจสอบพบว่า ไม่มีสารพิษปนเปื้อน แต่มีแร่ธาตุหลายชนิดมากกว่าน้ำแร่ที่ผลิตจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ จึงได้ผลิตออกแจกจ่ายให้ประชาชนดื่มฟรี

เรามาทำความรู้จัก "น้ำแร่" ให้มากขึ้นกันดีกว่า...


เภสัชกรหญิง ดารวี ศิริพรหม ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำแร่ไว้ ดังนี้

ในปัจจุบันนี้มีความสนใจในเรื่องน้ำแร่ชนิดต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะ “น้ำแร่พลังแม่เหล็ก” แต่เนื่องจากข้อมูลจากการศึกษาเท่าที่รวบรวมได้ยังมีน้อยและไม่ชัดเจน จึงขอกล่าวถึงน้ำแร่ที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งอาจมีหลายยี่ห้อหลายรูปแบบ แต่ก่อนที่คุณจะเลือกซื้อมาบริโภคนั้น อยากให้ได้รับข้อมูลที่น่าจะมีประโยชน์ต่อการเลือกบริโภคน้ำแร่ โดยจะนำเสนอประเภทของน้ำแร่ที่แยกตามผลที่มีต่อร่างกายและฤทธิ์ในการบำบัดโรคเป็นเกณฑ์ในการจัดประเภทน้ำแร่


รู้ก่อนดื่ม! น้ำแร่ คุณประโยชน์ล้น แต่คนบางกลุ่มไม่ควรดื่ม


รู้จักชนิดของน้ำแร้..มีสรรคุณอะไรบ้าง?


น้ำแร่ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate water)

มีปริมาณไบคาร์บอเนต> 600 มิลลิกรัมต่อลิตร ช่วยปรับให้สารคัดหลั่งที่มีฤทธิ์เป็นกรดกลายเป็นกลาง, กระตุ้นการเคลื่อนของอาหารจากกระเพาะไปยังลำไส้เล็กให้เร็วขึ้น, กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนในกระเพาะอาหาร, ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำและเหลือแร่ให้แก่ร่างกาย จึงควรดื่มน้ำแร่นี้ 500-700 มิลลิลิตร ก่อนออกกำลังกายหรือทำงานที่ต้องเสียเหงื่อ เนื่องจากจะช่วยในการลดภาวะเลือดเป็นกรด

ตัวอย่างของน้ำแร่ชนิดนี้ ได้แก่ น้ำแร่ยี่ห้อ Volvic, Fiji, Snowy mountain เป็นต้น


น้ำแร่ซัลเฟต (Sulfate water)

มีปริมาณ ซัลเฟต > 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ โดยเฉพาะในคนที่ท้องผู้กเรื้อรัง เนื่องจาก น้ำแร่ซัลเฟต มีผลแรงดันออสโมติคและ ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนซีซีเค (CCK) เนื่องจากซัลเฟตมีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ

ตัวอย่างของน้ำแร่ชนิดนี้ได้แก่ น้ำแร่ยี่ห้อ Pi water เป็นต้น


น้ำแร่ซัลเฟต-ไบคาร์บอเนต (Sulfate-bicarbonate waters)

ใช้รักษาภาวะที่การทำงานของถุงน้ำดีผิดปกติ, นิ่วในถุงน้ำดี, อาการหลังผ่าตัดถุงน้ำดี


น้ำแร่ซัลเฟอร์, เกลือ-ไอโอดีน, เกลือ-โบรมีน-ไอโอดีน (Sulfurous, salt-iodine, salt-bromine-iodine waters)

มักใช้กับอวัยวะภายนอกร่างกาย เช่น การอาบ หรืออาจใช้ สูดพ่นทางทางเดินหายใจบ้าง บรรเทาอาการอักเสบของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง และบรรเทาอาการทางผิวหนังบางชนิด


รู้ก่อนดื่ม! น้ำแร่ คุณประโยชน์ล้น แต่คนบางกลุ่มไม่ควรดื่ม


น้ำแร่ซัลเฟอร์และไบคาร์บอเนต (Sulfurous and bicarbonate waters)

ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน โดยจะลดระดับน้ำตาล อาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย และช่วยลดความต้องการอินซูลิน นอกจากนี้น้ำแร่ไบคาร์บอเนต ยังช่วยลดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวานได้


น้ำแร่คลอรีน (น้ำเกลือ) (Chlorinated water (salt water)

มีปริมาณคลอไรด์ > 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของลำไส้และการหลั่งสารที่เกี่ยวข้องกับน้ำและอิเล็กโตรไลท์, กระตุ้นการหลั่งน้ำดี, บรรเทาอาการท้องผูก


น้ำแร่แคลเซียม (calcium water)

มีปริมาณแคลเซียม > 150 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำแร่ที่มีแคลเซียมในปริมณมากเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความต้องการแคลเซียมในปริมาณมากกว่าคนปกติ เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ สตรีสัยหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุ และจากการวิจัยไม่นานมานี้ พบว่า แคลเซียมอาจช่วยป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

ตัวอย่างของน้ำแร่ชนิดนี้ได้แก่ น้ำแร่ยี่ห้อ Evian, Badoit เป็นต้น


น้ำแร่แมกนีเซียม (Magnesium water)

มีปริมาณแมกนีเซียม > 50 มิลลิกรัมต่อลิตร การมีแมกนีเซียมในน้ำแร่สูงจะช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี เนื่องจากมีผลในการทำให้ Oddi sphincter คลายตัว


รู้ก่อนดื่ม! น้ำแร่ คุณประโยชน์ล้น แต่คนบางกลุ่มไม่ควรดื่ม


น้ำแร่ฟลูออเรด (Fluorate water)

มีปริมาณฟลูออไรด์ > 1 มิลลิกรัมต่อลิตร


น้ำแร่เหล็ก (Ferrous water)

มีปริมาณเหล็กเฟอรัส > 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ช่วยบรรเทาอาการในภาวะโลหิตจากที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก และใช้ในภาวะไฮโปธัยรอยด์


น้ำแร่โซเดียม (Sodium water)

ปริมาณ โซเดียม > 200 มิลลิกรัมต่อลิตร


น้ำแร่เกลือต่ำ (Low-salt water)

ปริมาณ โซเดียม < 20 มิลลิกรัมต่อลิตร


น้ำแร่คาร์บอร์นิค (Carbonic waters)

มักใช้ในการอาบ และบรรเทาอาการของหลอดเลือดส่วนปลาย


รู้ก่อนดื่ม! น้ำแร่ คุณประโยชน์ล้น แต่คนบางกลุ่มไม่ควรดื่ม


เปิดวิธีดื่มน้ำแร่อย่างถูกต้อง ตามหลักทางโภชนาการ


วิธีดื่มน้ำแร่สามารถแบ่งได้ 2 วิธี คือ


1.การดื่มน้ำแร่ปริมาณมากในระยะเวลาสั้นๆ (Water loading) คือ การดื่มน้ำปริมาณ 1 ลิตร ภายใน 30 นาที ขณะท้องว่าง ซึ่งการดื่มน้ำแร่วิธีนี้จะใช้กับน้ำแร่ชนิดที่หวังผล เช่น เพื่อขับนิ่วออกจากร่างกาย วิธีนี้ไม่ควรดื่มก่อนนอน เนื่องจากจะทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำในช่วงกลางคืน


2.การดื่มแบบทยอยในปริมาณไม่สูง (Subdivided doses) คือ การดื่มน้ำแร่ปริมาณ 500 มิลลิลิตร และ ตามด้วยน้ำแร่ 10 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยจิบน้ำครั้งละน้อยขณะอ่อนเพลีย หรือขณะเดิน หรือพร้อมมื้ออาหาร


รู้ก่อนดื่ม! น้ำแร่ คุณประโยชน์ล้น แต่คนบางกลุ่มไม่ควรดื่ม

นักกีฬาควรดื่มน้ำแร่แค่ไหน?


สำหรับนักกีฬา ควรดื่มน้ำแร่ที่มีปริมาณเกลือแร่น้อยถึงปานกลาง ตลอด 2 ชั่วโมงก่อนการแข่งขัน โดยดื่ม 100-150 มิลลิลิตร ทุก 15-20 นาที และดื่ม 400-500 มิลลิลิตร 15 นาทีสุดท้ายของชั่วโมงที่ 2 หลังการอบอุ่นร่างกาย ระหว่างการแข่งขัน ควรดื่ม 200-250 มิลลิลิตร ทุก 15-20 นาที โดยปริมาณของเหลวที่ดื่มเข้าร่างกายหลังแข่งขันหรือเล่นกีฬานั้น ควรมีปริมาณร้อยละ 150 ของน้ำหนักตัว ซึ่งปริมาณของเหลวที่บริโภคโดยทั่วไป คือ 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน


แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ประโยชน์จากน้ำแร่ หากดื่มไปโดยไม่ระวังอาจเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ แล้วใครกัน...ที่ไม่ควรดื่มน้ำแร่?


รู้ก่อนดื่ม! น้ำแร่ คุณประโยชน์ล้น แต่คนบางกลุ่มไม่ควรดื่ม


รู้จักน้ำแร่ 6 ชนิด คนกลุ่มไหนไม่ควรดื่ม?


น้ำแร่ : ผู้ที่ไม่ควรดื่ม ได้แก่ ผู้ที่บวมน้ำ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีการทำงานของหัวใจไม่ดี

น้ำแร่ที่มีปริมาณโซเดียมสูง : ผู้ที่ไม่ควรดื่ม ได้แก่ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

น้ำแร่เกลือโซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride waters) : ผู้ที่ไม่ควรดื่ม ได้แก่ ผู้ที่มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารปริมาณมาก แผลในกระเพาะอาหารและความดันโลหิตสูง

น้ำแร่ซัลเฟอร์ (Sulfurous waters) : ผู้ที่ไม่ควรดื่ม ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบทางเดินหายใจที่มีภาวะหลอดลมหดเกร็ง

น้ำแร่ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate waters) : ผู้ที่ไม่ควรดื่ม ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะ gastric hypochilia

น้ำแร่ซัลเฟต (Sulfate waters) : ผู้ที่ไม่ควรดื่ม ได้แก่  ผู้ป่วยที่มีโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารและมีแผลในทางเดินอาหาร


ขอบคุณข้อมูลจาก

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพโดย Pixabay

ข่าวแนะนำ