TNN เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี

TNN

TNN Exclusive

เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี

เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี

เมื่อเอ่ยชื่อ "รังนกกระจอก" สำหรับสื่อมวลชนประจำทำเนียบฯ คือสถานที่ที่ใช้ในการสื่อสารการทำงานของรัฐบาลออกไปสู่สาธารณชน แต่ที่ผ่านมาเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่ มักมีกระแสข่าวว่าจะมีการรื้อ - ย้าย รังนกกระจอก เสมือนว่านักการเมือง มองที่นี่ เป็นสถานที่ไม่น่าไว้วางใจ ? เราจะพาไปรู้จักกับ รังกระจอกที่อยู่คู่ทำเนียบมา 44 ปี

กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง  หลังมีกระแสว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนใหม่ อยากใช้ห้องทำงานสื่อมวลชน ประจำทำเนียบรัฐบาล หรือ รังนกกระจอก มาเป็นห้องทำงานและเป็นที่พูดคุยของนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี


เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี


แม้ล่าสุดนายเศรษฐา จะออกมายืนยันว่า ไม่ได้มีแนวคิดที่จะ “รื้อ” เพียงอยากปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อความสะดวกทำงานสื่อมวลชน  แต่ก็ทำให้ ชื่อของ “รังนกกระจอก” ถูกกลับมาเป็นที่พูดถึงขึ้นมาอีกครั้ง เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่แนวคิดการรื้อ รังนกกระจอก ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นพูดถึง เมื่อมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เข้ามาบริหารประเทศ  


เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี


หลายคนคงสงสัยว่ารังนกกระจอกคืออะไร เราจะพาไปรู้จักกัน เริ่มจากทำเนียบรัฐบาล ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร แม้จะไม่ใช่ทุกอาคารก็ตาม  โดย 1 ในอาคารที่อยู่ภายในพื้นที่ของทำเนียบรัฐบาล ที่แม้จะไม่ใช่สถานที่ทำงานของนายกฯ หรือรัฐมนตรี แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือ รังนกกระจอก เพราะการทำงานของสื่อมวลชนกับนักการเมืองหรือรัฐบาล ที่เข้ามาบริหารประเทศ เสมือนเป็นสัญลักษณ์ที่คู่กัน 


เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี


รังนกกระจอก ถือเป็นห้องปฏิบัติการสื่อมวลชนที่อยู่คู่มากับทำเนียบรัฐบาล มาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของทำเนียบฯ มาหลายสิบปี เริ่มตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 15  เมื่อปี 2522 หรือประมาณ 44 ปีมาแล้ว   จุดกำเนิดมาจากการที่ "พล.อ.พร ธนะภูมิ" เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ เป็นผู้อนุมัติจัดสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2522  เพราะความเห็นใจในความลำบากของนักข่าว


เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี


ปัจจุบันรังนกกระจอก มี ทั้งหมด 3  รัง แต่โครงสร้างเดิม จะเป็นรังนกกระจอก1 ถือเป็นสัญลักษณ์ของที่ทำงานสื่อมวลชน ซึ่งเป็นตึกทรง 8 เหลี่ยม หลังคามุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นสมัยนิยมในขณะนั้น  จุดเด่นนอกจากสถาปัตยกรรมแล้ว ยังเป็นเรื่องของทำเลที่ตั้ง ที่อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดี เหมาะกับการทำข่าวอย่างยิ่ง เพราะตั้งอยู่ด้านหน้าของตึกนารีสโมสร และเยื้องๆ ตึกบัญชาการ ซึ่งยุคนั้นเป็นที่นั่งทำงานของนายกฯ รองนายกฯ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ   ทำให้สามารถเห็นแหล่งข่าวเดินผ่านไปมา  หรือเข้าออกอาคารได้อย่างชัดเจน  เรียกว่าไม่พลาดตกข่าวแน่นอน  


ส่วนที่มาของการเรียกขนานนาม ว่า “รังนกกระจอก” นั้น  มาจากการใช้เปรียบเทียบนักข่าว ว่าเป็นเหมือนนกกระจอกที่ว่องไว และส่งเสียงจ๊อกแจ๊กเหมือนคนช่างพูด ช่างซักถาม เวลาทำงาน  


เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี


รังกระจอกผ่านการปรับปรุงมาแล้วหลายครั้ง โดยเมื่อ สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ต่อเติมชายคาโดยรอบเพื่อกันแดดและฝน  ต่อมา สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนของหลังคา พื้นทางเดินให้สะดวกและสวยงามขึ้น อีกทั้งยังให้เจ้าหน้าที่ ผู้ติดตาม ได้มานั่งพักคอยได้


เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี


ล่าสุดก็มีแนวคิดมาจากนายเศรษฐา แม้จะออกมายืนยันว่า จะไม่มีการรื้อทิ้งรังนกกระจอก ซึ่งเป็นสถานที่ทำงาน 44 ปี ของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เพียงแต่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ก็ยังมีความเคลื่อนไหวจากเจ้าหน้าที่ กองอาคารสถานที่และรักษาความปลอดภัย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาสำรวจ ถ่ายรูป และ บันทึกข้อมูลภายในห้องพักสื่อมวลชน 1 และบริเวณโดยรอบ  เพื่อเตรียมปรับปรุงไว้รองรับ


เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี


แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งสื่อมวลชน อดีตสื่อมวลชน นักการเมือง และบรรดาอดีตข้าราชการ และข้าราชการปัจจุบันในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งล้วนแสดงความไม่เห็นด้วย เพราะมีห้องรับรองจำนวนมากทำให้หลายคนยังไม่เข้าใจถึงความต้องการดังกล่าว และอยากเตือนสติด้วยว่าทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่ที่ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร แม้จะไม่ใช่ทุกอาคารก็ตาม แต่การจะมีดำริทำอะไรจะต้องมีการปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนก็ถือเป็นองคาพยพหนึ่งที่ถือเป็นตัวแทนในการสื่อสารงานของรัฐบาลออกสู่สายตาประชาชน ซึ่งนักการเมืองมาแล้วก็ไป แต่สื่อมวลชนจะยังอยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อไป


เปิดตำนานรังนกกระจอก ห้องทำงานสื่อประจำทำเนียบกว่า 40 ปี

ข่าวแนะนำ