TNN online เปิดโพยหุ้นเด่นรับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น-ตัวไหนพร้อมวิ่ง

TNN ONLINE

TNN Exclusive

เปิดโพยหุ้นเด่นรับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น-ตัวไหนพร้อมวิ่ง

เปิดโพยหุ้นเด่นรับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น-ตัวไหนพร้อมวิ่ง

ประเทศพัฒนาแล้วในหลายประเทศ ทั้งสหรัฐฯและยุโรปพาเหรดการขึ้นดอกเบี้ย สกัดเงินเฟ้อกันอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของไทยล่าสุดได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 0.25% แต่แนวโน้มทิศทางการลงทุนจะเป็นอย่างไรรับเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้นตามไปดูกันเลย

 เป็นไปตามคาด หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75% หลังเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน และคาดว่าจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการระบาดของโควิด-19 ได้ภายในสิ้นปีนี้ เร็วขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่ประเมินว่าจะต้องรอถึงไตรมาสแรกของปี 66 แม้เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับเงินเฟ้อในระดับสูงไปอีกระยะหนึ่ง


สำหรับทิศทางการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไรช่วงเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้นไขคำตอบจากกูรูด้านตลาดทุน  เริ่มจาก "นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา" ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)มองว่า  การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงฟื้นตัวทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก นอกจากนี้เงินบาทที่แข็งค่าทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลกลับเข้ามาหุ้นไทย


ทั้งนี้หากย้อนดูการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอดีต


-ในช่วงปี 2004-2006 ที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.25% ไปเป็น 5% เราจะพบว่าSET INDEX  ยังคงสามารถปรับขึ้นได้จาก 598 จุดในเดือนส.ค. 2004  ไปที่ 670 จุด ในเดือนมิ.ย.2006 หรือเป็นการปรับขึ้น 12% ขณะที่กลุ่มธนาคารปรับขึ้นได้ 18% นำโดย KBANK +21% SCB +11% BBL+5%


ส่วนปี  2010-2011 ที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนก.ค. 2010 จาก 1.25%เป็น 3.5% ในเดือนส.ค. 2011  SET Index ปรับขึ้นได้จาก 820 จุด  เป็น 1,037 จุด หรือ +26.5% ขณะที่กลุ่มธนาคารปรับขึ้นได้ 23 % นำโดย KBANK +33.7% SCB +38% BBL+19%


นอกจากนี้วันที่ 19 ธ.ค. 2018 มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย จาก 1.5% เป็น 1.75% ก่อนที่จะปรับลดในเดือนก.ค. 2019 SET Index ปรับขึ้นได้ในวันที่ประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.22% ขณะที่กลุ่มธนาคารปรับเพิ่มขึ้น1.1% นำโดย KBANK +0% เนื่องจากมีการเก็งกำไรมาก่อน +4.2% ใน 1 สัปดาห์ก่อนหน้า SCB +0.82%(+3.4% in1w)  BBL+1.6% (+4.9% in 1w) 


ดังนั้นสรุปการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปีในช่วงสั้นได้ว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์เชิงบวกโดยตรงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย (ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยหรือ NIMปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งดีต่อกำไรของกลุ่มธนาคาร)  ที่มีการปรับราคาเก็งกำไรล่วงหน้า และอาจมีแรงเทขายทำกำไรแต่ราคาก็มีโอกาสปรับขึ้นได้ต่อตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ดังนั้นให้ทยอยสะสมหุ้นกลุ่มธนาคารเมื่อมีการปรับฐานแนะนำ KBANK (FV@B170) และ BBL (FV@B164) 


สอดรับกับ "นายภราดร เตียรณปราโมทย์รองผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส ที่มองว่าหลังจากที่ไทยขึ้นดอกเบี้ยทำให้เม็ดเงินต่างชาติชะลอการไหลออก เพราะส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐฯแคบลงเหลือ 1.75% จากเดิม 2% ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.-ปัจจุบันเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าหุ้นไทย 433 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ตลาดหุ้นไต้หวันไหลออก 1,292 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ฟันด์โฟลว์ที่ไหลเข้าหุ้นไทยทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า


สำหรับหุ้นแบงก์ที่ชื่นชอบแนะนำ KTB (FV@B18) SCB (FV@B140) KBANK (FV@B174) และหุ้นประกัน  BLA (FV@B52) 


นอกจากนี้ฝ่ายวิจัย ASPS ยังคัดกรองลงมาเป็นรายหุ้นที่น่าลงทุนในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นพร้อมกับมีโอกาสได้รับเงินปันผลระหว่างกาลในช่วงนี้โดยผ่านเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้

1. เป็นหุ้นสถานะการเงินแข็งแกร่ง (มีสถานะ Net Cash หรือ Net Gearing <1)

2. เป็นหุ้นที่ปกติจะมีการจ่ายปันผลระหว่างกาล มักจะ Outperform ตลาดได้ดีใน

เดือน ส.ค.

3. มี Upside ฝ่ายวิจัย แนะนำ "ซื้อ"

แนะนำ BH (FV@B215) M (FV@B60) BDMS ([email protected]SPALI ([email protected])MAKRO (FV@B43) HMPRO ([email protected]SCC (FV@B460)


แม้ประเด็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยในประเทศ จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่คอยกดดันตลาดหุ้นไทยในระยะต่อไป แต่ด้วยทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น และการส่งสัญญาณของธปท.ที่จะขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้บริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง เติบโตได้ต่อเนื่อง และจ่ายปันผลสม่ำเสมอ ยังพอเป็นหุ้นความหวังที่จะรับมือกับปัจจัยดังกล่าว และน่าจะปรับตัว Outperform ตลาดได้.....


ที่มา นายภราดร เตียรณปราโมทย์, นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา 

ภาพประกอบ เก็ตตี้อิมเมจ


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง