TNN online ค่าการกลั่นน้ำมัน คืออะไร? รัฐขอให้เอกชนช่วยอุดหนุนจะทำให้ราคาลดลงจริงหรือ?

TNN ONLINE

TNN Exclusive

ค่าการกลั่นน้ำมัน คืออะไร? รัฐขอให้เอกชนช่วยอุดหนุนจะทำให้ราคาลดลงจริงหรือ?

ค่าการกลั่นน้ำมัน คืออะไร? รัฐขอให้เอกชนช่วยอุดหนุนจะทำให้ราคาลดลงจริงหรือ?

ค่าการกลุ่นน้ำมันคืออะไร หากรัฐขอเอกชนอุดหนุนจะส่งให้ราคาน้ำมันถูกลงแค่ไหน?

ค่าการกลั่นน้ำมัน ที่หลายคนอาจจะยังสงสัย มัความสำคัญและมีผลต่อราคาน้ำมันในปัจจุบันอย่างไร เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเป็นประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง  ขณะที่รัฐก็เสนอขอความร่วมมือเอกชนให้มีการอุดหนุน ค่าส่วนต่างจากกำไรค่าการกลั่นเพื่อมาช่วยตรึงราคาน้ำมันที่กำลังพุ่งทะยานในตอนนี้ 



โดยแนวทางที่ภาครัฐ ต้องการนำมาแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จากภาวะราคาน้ำมันแพง มีด้วยกัน 3 แนวทาง คือ
1. การขอความร่วมมือให้โรงกลั่นน้ำมันลดกำไรจากค่าการกลั่นลง และนำกำไรนั้นส่งผ่านมาช่วยลดราคาน้ำมันสำเร็จรูป
2. การเรียกเก็บภาษี (tax) ค่าการกลั่นในลักษณะเดียวกันกับภาษีลาภลอย หรือ windfall tax 

3.  การใช้อำนาจของ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 14 ให้โรงกลั่นน้ำมันนำส่งค่าการกลั่นส่วนเกินจากอัตราปกติ เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำมา “อุดหนุน” ราคาน้ำมันภายในประเทศให้ลดต่ำลง



ทำไมต้องดึงค่าการกลั่นมาอุดหนุนราคาน้ำมัน?

ด้วยสถานการณ์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีสถานะกองทุนสุทธิติดลบ -91,089 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ กองทุนน่าจะติดลบสุทธิทะลุ -100,000 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็น การติดลบในบัญชีน้ำมัน -54,574 ล้านบาท กับบัญชีก๊าซหุงต้ม 36,515 ล้านบาท โดยปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 9.96 บาท (ราคาดีเซล ณ หน้าโรงกลั่นอยู่ที่ 39.7317 บาท)



แม้ว่าขณะนี้กองทุนน้ำมันฯยังมีเงินสดเหลืออยู่ประมาณ 11,000 ล้านบาท (ธนาคาร 8,200 ล้านบาท-กระทรวงการคลัง 2,800 ล้านบาท) และยังมีเงินไหลเข้ากองทุนจากผู้ใช้น้ำมันเบนซิน-ดีเซลเกรดพรีเมี่ยมอีกประมาณ 2,000 ล้านบาท/วัน แต่กองทุนก็มีภาระรายจ่ายอยู่ที่ 5,000-7,000 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งก็ยังสูงอยู่ดี



จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมจะต้องหาแหล่งเงินเข้ามาช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงินจำนวน 20,000 ล้านบาท หรือการขอใช้งบฯกลางของรัฐบาลเข้ามาอุดหนุนกองทุน แต่ล่าสุดก็ยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะใช้วิธีไหนมาช่วยเหลือ และคงต้องใช้เวลาอีกนานในการเจรจาหารือให้ครบทุกด้าน   โดยสิ่งที่รัฐสามารถทำได้ตอนนี้คือ นำ  ค่าการกลั่น  ที่สูงกว่าอัตราปกติมาช่วยอุดหนุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศให้ลดลงได้ในระยะเร่งด่วน   ด้วยการขอความร่วมมือจากโรงกลั่นน้ำมัน 



ขณะที่ในระยะยาว กองทุนน้ำมันฯ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาเงินกู้จากสถาบันการเงิน เพราะเงินที่ได้รับมาก็ยังไม่เพียงพอที่จะนำมาตรึงราคาน้ำมันดีเซลได้ในระยะข้างหน้าได้   



โรงกลั่นพร้อมให้ความร่วมมือ

เบื้องต้นจากการหารือกัน โรงกลั่นทั้ง 6 แห่งในปัจจุบันคือ TOP,PTTCG,IRPC,BCP,SPRCและ ESSO เกือบทั้งหมดยินดีให้ความร่วมมือ  โดยเม็ดเงินที่จะช่วยรัฐบาล คาดว่าจะอยู่ประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท คาดว่าธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันจะได้รับผลกระทบต่อกำไรประมาณ 3-5% เม็ดเงินช่วยเหลือถือว่าไม่เยอะมาก เพราะช่วงโควิด-19 โรงกลั่นน้ำมันก็สะบักสะบอม เพิ่งเริ่มมีกำไรกันจริงก็ไตรมาส 1/2565 



ราคาน้ำมันจะลดลงไปกี่บาท?

ล่าสุด ราคาน้ำมันดีเซล ่ขยับขึ้นไปถึงเพดานที่กำหนดไว้แล้ว 35 บาทต่อลิตร  โดยหากค่าการกลั่นอยู่ที่ 8 บาท แต่ถ้าลดไป 5 บาท ก็ไม่ได้แสดงว่าราคาจะลดลงไป 5 บาท  เนื่องจากมีอีกหลายปัจจัย และยังมีกฎหมายคุ้มครองผู้ประกอบการด้วย  อาจจะต้องรอฟังคำตอบจากกระทรวงพลังงานอีกครั้ง



เชื่อหลายคนก็ยังหวังให้ภาครัฐมีมาตรการอะไรก็ได้เข้ามาดูแล ราคาน้ำมัน ในช่วงนี้ อย่างน้อยก็จะได้บรรเทาและลดภาระต้นทุนได้บ้าง  ซึ่งต้องติดตามว่ารัฐบาลจะใช้กลไกอะไรเข้ามาแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วนนี้ได้



ข้อมูล : คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง , บล.กสิกรไทย 

ภาพจาก : AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง