TNN online นักวิทย์ฯ ญี่ปุ่น เพาะเลี้ยงปะการังได้สำเร็จ หวังช่วยเหลือระบบนิเวศทางทะเล

TNN ONLINE

Tech

นักวิทย์ฯ ญี่ปุ่น เพาะเลี้ยงปะการังได้สำเร็จ หวังช่วยเหลือระบบนิเวศทางทะเล

นักวิทย์ฯ ญี่ปุ่น เพาะเลี้ยงปะการังได้สำเร็จ หวังช่วยเหลือระบบนิเวศทางทะเล

นักวิทยาศาสตร์สามารถเพาะเลี้ยงปะการังได้สำเร็จ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลที่เสื่อมโทรม

หากพูดถึงสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลอย่างมาก คงหนีไม่พ้นเหล่าปะการังที่ช่วยสร้างแหล่งพักพิงให้กับปลาน้อยใหญ่ ในขณะที่ปัจจุบันแนวปะการังกลับเสื่อมโทรมมากขึ้นทุกวันด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในทะเล รวมถึงกระทบต่อมนุษย์เราด้วย


นักวิทย์ฯ ญี่ปุ่น เพาะเลี้ยงปะการังได้สำเร็จ หวังช่วยเหลือระบบนิเวศทางทะเล ที่มาของภาพ https://scitechdaily.com/new-era-in-coral-biology-research-scientists-have-cultured-the-first-stable-coral-cell-lines/

 



อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังพยายามฟื้นฟูแนวปะการังให้กลับมาเหมือนเดิม ล่าสุดวิทยาการใหม่สามารถเพาะเลี้ยงเหล่าปะการังได้สำเร็จแล้ว


บางคนอาจจะเข้าใจว่าปะการังคือโครงร่างแข็ง ๆ คล้ายต้นไม้ใต้น้ำ แต่แท้จริงแล้วตัวปะการังคือเซลล์สิ่งมีชีวิตใยกลุ่มไนดาเรีย (Cnidaria) พวกมันสร้างโครงร่างแข็งเพื่อปกป้องเซลล์อันบอบบางขึ้นมา ดังนั้นการเพาะเลี้ยงปะการังของนักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่น จึงเป็นการเพาะเลี้ยง "เซลล์" ปะการังนั่นเอง




ในการเพาะเลี้ยงเซลล์ปะการัง นักวิทยาศาสตร์ได้นำเซลล์ภายในปะการังเขากวาง (Acropora tenuis) มาเพาะเลี้ยงในจานเพาะเชื้อที่อุดมไปด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ ปรากฏว่าเซลล์จำนวนมากมีชีวิตรอดและสามารถเจริญเติบโตได้เรื่อย ๆ 


ผ่านไป 10 เดือน เซลล์ปะการังเพาะเลี้ยงยังเจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งยังมีกระบวนการรวบรวมสารจำพวกหินปูน เพื่อก่อร่างสร้างตัวเป็นโครงร่างปะการังด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเซลล์ปะการัง และมีโอกาสที่ปะการังเหล่านี้จะโตไปเป็นปะการังที่แข็งแรงอย่างเต็มตัว


นักวิทยาศาสตร์เผยว่า เหตุที่ทำการทดลองในปะการังเขากวาง เนื่องจากปะการังชนิดนี้อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างมาก พวกมันมักจะฟอกขาว (เป็นปรากฏการณ์ที่ปะการังที่เหลือแต่เพียงโครงร่างแข็ง แต่ไม่มีเซลล์อยู่ภายใน) บ่อยครั้งเพียงแค่อุณหภูมิในน้ำสูงขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น การทดลองนี้จะช่วยเพิ่มจำนวนปะการังเขากวางได้ อีกทั้งยังนำไปใช้ในการศึกษาการดำรงชีวิตของปะการังภายในห้องแลปได้อีกด้วย


ในอนาคตคาดว่าจะนำการทดลองนี้ไปใช้กับปะการังชนิดอื่น เพื่อเพิ่มจำนวนปะการังที่กำลังประสบปัญหาทั่วโลกด้วย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Scitechdaily

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง